บล.พาย:
CBG: Carabao PCL
ดีทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ออกมาในโทนบวกจาก 1) ส่วนแบ่งการตลาดเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศที่เพิ่มขึ้นจะสะท้อนผ่านยอดขายในประเทศ ชัดเจนขึ้นในช่วง 2Q24 หลังบริหารสต๊อกของคู่ค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) ตลาดหลักใน CLMV มีแนวโน้มฟื้นตัวดีต่อเนื่องใน 2Q24 จากตลาดในกัมพูชา (สัดส่วน 60% ของยอดขายต่างประเทศ) มีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง ตลาดเวียดนามก็มีแนวโน้มเติบโตดี QoQ อย่างต่อเนื่อง 3) รายได้จัดจำหน่ายเหล้าข้าวหอมยังเติบโตดีต่อเนื่อง ส่วนยอดขายเบียร์ก็มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว ทำให้เราคาดว่ากำไร 2Q23 จะเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 91.00 บาท (เดิม 80.00 บาท) หลังปรับประมาณการกำไรปี 2024-25 ขึ้น 5%-8% เพื่อสะท้อนค่าใช้จ่ายที่ควบคุมได้ดีกว่าคาด
ตลาดหลัก CLMV ส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน
- ในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมาคาราบาวมีส่วนแบ่งการตลาดเครื่องดื่มซูกำลังในประเทศในเชิงปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 2 4.1% ในเดือน เม.ย.2024 จาก 21.5% ในเดือน เม.ย. 2023 และ 19.9% ในเดือน มี.ค. 2022 (ซึ่งเป็นเดือนแรกที่ M150 ขายปลีก 12 บาท/ขวด) แต่ในทางตรงข้ามยอดขายเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศกลับเติบโตในอัตราที่ต่ำกว่าส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น ผลจากความพยายามในการลดสต๊อกของ ตัวแทนจำหน่ายในช่วง 2-3 ไตรมาสที่ผ่านมา โดยล่าสุดบริษัทได้ตัดสินใจให้ตัวแทนจำหน่ายลดการเก็บสต็อกลงเหลือ 14 วัน จากเดิมที่เก็บ 3 เดือน ซึ่งจะทำให้ยอดขายในช่วง 2Q24 สะท้อนตามส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น
- ยอดขายเครื่องดื่มชูกำลังในตลาด CLMV ที่ฟื้นตัว 14%YoY ในช่วง 1Q24 และมีแนวโน้มฟื้นตัวดีต่อเนื่องช่วงที่เหลือของปี หลังตลาดหลักอย่างกัมพูชา (สัดส่วน 60% ของยอดขายในตลาดต่างประเทศ) มีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง ซึ่งก็สอดคล้องกับมุมมองของเรา ที่มองว่าเศรษฐกิจในประเทศกลุ่ม CLMV จะทยอยฟื้นตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน เห็นได้จากปริมาณการค้าระหว่างประเทศจีนกับประเทศในกลุ่ม CLMV ที่เพิ่มขึ้น YoY ใน 1Q24 ทำให้เราเชื่อว่าคำสั่งซื้อที่เข้ามาจากกลุ่มประเทศใน CLMV ของคาราบาวจะเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
- ในแง่ของต้นทุน ช่วง 2Q24 ยังคล้าย 1Q24 แต่จะเริ่มสูงขึ้นใน 2H24 จากต้นทุนที่สูงขึ้นในช่วงปลาย 2Q24 ตามราคาอลูมิเนียมปรับตัวสูง +12%YTD’2024 บวกกับต้นทุนน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นราว 10% จาก 1H24 แต่จะถูกบรรเทาด้วยอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น บวกกับการให้ส่วนลดกับคู่ค้าที่ลดลง ซึ่งสะท้อนผ่านอัตรากำไรขันต้นของสินค้าภายใต้แบรนด์บริษัทที่เพิ่มขึ้นเป็น 38.9% สูงสุดในรอบ 8 ไตรมาส ซึ่งเรารวมไว้ในประมาณการแล้ว โดยเราคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นของ สินค้าภายใต้แบรนด์บริษัทช่วง 2H24 จะลดลง 1% เมื่อเทียบกับ 1H24
- รายได้การจัดจำหน่ายและผลิตบรรจุภัณฑ์เบียร์ยังมีความท้าทายโดย ปัจจุบันบริษัทดำเนินกลยุทธ์เจาะตลาดเบียร์ในร้านอาหารและโรงแรม ซึ่งบริษัทคาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวราว 10%QoQ ในทุกไตรมาสหลังจากนี้ ในมุมเราเชื่อว่ายังเติบโตได้จากตลาดเฉพาะกลุ่ม กล่าวคือมีตลาดสำหรับเบียร์รสชาติอื่นๆที่ไม่ใช่เบียร์ LAGER เช่น เบียร์ IPA หรือ เบียร์กลิ่นผลไม้อย่าง WEIZEN และ ROSE
คงคำแนะนำ “ซื้อ” ยอดขาย CLMV กลับมาฟื้นตัวชัดเจน
มูลค่าพื้นฐาน 91.00 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดกระแสเงินสด (DCF) ด้วย WACC 8.2% และ TG 3% เทียบเท่า 34xPE’24E ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยกลุ่มเครื่องดื่มชูกำลัง