KS Daily View 10.06.2024 >>> ประเด็นการเมืองยังกดดัน คาด SET ผันผวน คาด SET ซื้อขายในกรอบ 1,325-1,340 จุด แนะหุ้น defensive
Theme การลงทุนในสัปดาห์นี้: ประเมินตลาดหุ้นไทยผันผวนในสัปดาห์นี้ โดยมองทั้งความไม่แน่นอนทางการเมืองและทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ยังเป็นปัจจัยกดดัน คาดดัชนีSET index ซื้อขายในกรอบ 1,295-1,340 จุด แนะนำติดตามความคืบหน้าการพิจารณาคดี 40 สว. ยื่นถอดถอนนายกฯ หลังนายกฯยื่นคำชี้แจงให้ศาล ต่อด้วยในช่วงกลางสัปดาห์ติดตามคดียุบพรรคก้าวไกลซึ่งมีกำหนดพิจารณาในวันพุธที่ 12 มิ.ย.นอกจากนี้ในวันเดียวกันแนะนำติดตามผลการประชุม กนง. โดยคาดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยไว้ที่ 2.50% และรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน พ.ค. โดยตลาดคาดทรงตัวที่ 3.4% YoY รวมถึงผลการประชุม FOMC ในช่วงข้ามคืนวันพุธ มอง Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.50% แต่ประเด็นหลักสำคัญน่าจะอยู่ที่ Dot plot projection ซึ่งมีแนวโน้มปรับจากเดิมที่มองมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้ง เหลือเป็น 1-2 ครั้ง โดยตลาดอาจตีความเป็นการส่งสัญญาณเชิง hawkish และส่งผลลบต่อ sentiment ตลาดได้ ดังนั้นสัปดาห์นี้เราแนะนำพอร์ตลงทุนที่มีความผันผวนต่ำ เน้นการตั้งรับ เช่น ADVANC, GULF, BH, KTB, GPFT
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศวันนี้: ประเมินดัชนีวันนี้ผันผวน คาดดัชนี SET index ซื้อขายในกรอบ 1,325-1,340 จุด เชื่อประเด็นการเมืองยังกดดัน การลงทุนแนะนำหุ้น defensive เน้นตั้งรับ ผันผวนต่ำหรือปันผลสูง เช่นกลุ่มโรงพยาบาล กลุ่มสื่อสารและกลุ่มธนาคาร รวมไปถึงกลุ่ม Global play ที่เป็นหุ้นส่งออก เนื่องจากได้ผลกระทบจากประเด็นภายในประเทศน้อยกว่าและได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
- สหรัฐฯรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือน พ.ค. เพิ่ม 2.72 แสนตำแหน่ง ดีกว่าคาดที่ 1.80แสนตำแหน่ง และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.65 แสนตำแหน่ง ขณะที่ด้านอัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.9% เป็น 4.0% ตลาดตีความตลาดแรงงานของสหรัฐฯชะลอตัวแต่ภาวะโดยรวมยังแข็งแกร่งทำให้ bond yield สหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้นและค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงข้ามคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ในมุมมองของเราในระยะสั้นภาวะตลาดแรงงานสหรัฐฯยังแข็งแกร่ง แต่จากข้อมูลในอดีตเราพบว่าหากอัตราการว่างงานกลับมาเป็นทิศทางการปรับตัวเพิ่มขึ้นเหนือ 4.0% แล้วจะมีความเสี่ยงมากขึ้นที่สหรัฐฯจะเผชิญกับ recession ในระยะอีก 12 เดือนข้างหน้า โดย recession เกิดขึ้นถึง 11 ครั้ง จากข้อมูลที่ส่งสัญญาณทั้งหมด 11 ครั้ง นับตั้งแต่ปี1950
- กระทรวงพาณิชย์ไทยรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI) เดือน พ.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.63% MoM และ 1.54% YoY แตะระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือน สูงกว่าที่ตลาดคาด 1.20% YoY และเพิ่มขึ้นจาก 0.19% YoY ในเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งขึ้นคือดัชนีราคาพลังงานหลังราคาน้ำมันและค่าไฟปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงอาหารสดเช่นเนื้อสัตว์ ไข่ไก่ และผักผลไม้ที่ราคาเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของเอลนินโญ่ ขณะที่ coreCPI ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.39% YoY สอดคล้องกับที่ตลาดคาด โดยปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่0.37% YoY เรามองแม้ headline CPI กลับมาเร่งขึ้นกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน 1-3% ส่งผลให้โอกาสการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ในปีนี้มีน้อยลง อย่างไรก็ดี Core CPI ที่สะท้อนแรงกดดันเงินเฟ้อที่แท้จริงยังทรงตัวในระดับต่ำใกล้ศูนย์
- กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ได้ประกาศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์จากไก่และสัตว์ปีกจากประเทศออสเตรเลียหลังจากการระบาดไข้หวัดนกสายพันธุ์อันตรายอย่าง H7N3 และ H7N9 ที่แพร่ระบาดหลายรัฐในออสเตรเลีย โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีกของฟิลิปปินส์จากออสเตรเลียคิดเป็น 4% ของการนำเข้าทั้งหมด แม้ไม่ได้ให้ผลบวกทางตรงแต่เชื่อบวกทางอ้อมในเชิง sentiment กับ GFPT
- ครม. มีมติให้มีการตรึงราคาดีเซลที่ 33 บาทต่อลิตร ต่อจนไปถึงสิ้นเดือน ก.ค. ส่งผลให้กบน.ยังคงอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลประมาณลิตรละ 1 บาท แต่ก็ชดเชยกับการเก็บเงินจากกลุ่มเบนซินทำให้สถานะกองทุนปัจจุบันคงที่ อย่างไรก็ดีกองทุนยังมีภาระดอกเบี้ยจากเงินกู้ 1.05 แสนลบ. ที่ส่งผลให้มีการขาดดุล โดยการพิจารณาราคาดีเซลอีกครั้งจะมีขึ้นในปลายเดือน ก.ค. หลังสิ้นสุดการตรึงราคา
Daily pick
KTB: ราคาพื้นฐานที่ 18.9 บาท
เก็งกำไรประชุม กนง. สัปดาห์นี้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อที่2.50% ซึ่งประเมินเป็นบวกกับกลุ่มธนาคารโดยเฉพาะ KTB ที่เรามองเป็นกลุ่มธนาคารใหญ่ที่จะได้ประโยชน์ ด้านผลประกอบการQ1/67 ที่ออกมาก็แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และ Q2/67ก็มีแนวโน้มเติบโตต่อทั้ง QoQ และYoY ขณะที่ด้านคุณภาพสินทรัพย์ก็มีสัญญาณฟื้นตัวได้ดีโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่ม
ADVANC: ราคาพื้นฐาน 248.93 บาท
มอง ADVANC เป็นหุ้นผันผวนต่ำ ขณะที่ให้อัตราปันผลที่สูงและมึความสม่ำเสมอ ส่งผลให้ความเสี่ยงเชิง downside risk ที่จะมีจากผลกระทบจากปัจจัยภาพใหญ่ของตลาดหรือ systemic risk ต่อ ADVANC จะน้อยกว่า ขณะที่ด้านปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ผลประกอบการ Q1/67 เติบโตดีกว่าคาด แรงทั้ง QoQ และ YoYขณะที่ผู้บริหารคงเป้ารายได้เติบโตปีนี้ 13-15% สะท้อนทิศทางการดำเนินการแข็งแกร่งตามแผนและส่วนผลของการขาดทุนจากTTTBB ก็มีแนวโน้มลดลง
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
วันจันทร์ ติดตาม รายงานการเติบโต GDP ของญี่ปุ่น ใน 1Q24โดยเป็นการประกาศทบทวนครั้งสุดท้าย ตลาดคาดการณ์ที่ -0.5% QoQ ทรงตัวจากการประกาศในครั้งก่อนหน้า ขณะที่ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงปิดทำการ
วันอังคาร ติดตามอัตราการว่างงานของสหราชอาณาจักรเดือน พ.ค. โดยรายงานตัวเลขเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 4.3%
วันพุธ ติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อจีน (China CPI) เดือน พ.ค. ตลาดคาดการณ์ที่ +0.4% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ +0.3% YoY ต่อด้วยการประชุม กนง. ของไทย โดยตลาดคาดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% และติดตามตัวเลขเงินสหรัฐฯ (US CPI) เดือน พ.ค. ตลาดคาดการณ์ที่ +3.4% YoY ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่ Core CPI ตลาดคาดที่ +3.5% YoY ลดลงจาก +3.6% YoY ในเดือนก่อนหน้า และสุดท้ายช่วงข้ามคืนติดตามผลการประชุม FOMC โดยตลาดคาดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.50%
วันพฤหัสฯ ติดตามดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI index) ของสหรัฐฯ สำหรับเดือน พ.ค. ตลาดคาดที่ +2.50% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ +2.20% YoY และการรายงานจำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งตลาดคาดที่ 2.20 แสนตำแหน่ง เทียบกับตัวเลขรายงานในสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.29 แสนตำแหน่ง
วันศุกร์ ติดตามการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) คาดคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.00-0.10% และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. คาดว่าจะลดลงที่ 0.1% MoM เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 4.4% MoM ต่อด้วยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ เบื้องต้น (UoM) เดือน มิ.ย. โดยตลาดคาดที่ 73 จุด เพิ่มขึ้นจาก 69.1 จุดในเดือนก่อนหน้า