สัปดาห์นี้รอติดตามเงินเฟ้อสหรัฐฯ

Market Update

ตลาดหุ้น Dow Jones คืนวันศุกร์ปิดทรงตัว (+0.04%) อย่างไรก็ตามดัชนี S&P500 , Nasdag ปิดลบเพราะรับแรงกดดันจากหุ้น NVIDIA โดยราคาหุ้น NVIDIA ในวันศุกร์ปิดลบ 3.2% ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ปิดลบ 0.5% จากความกังวลว่าการแข็งค่าของ US Dollar จะกดดันอุปสงค์

Market Outlook

วันศุกร์ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าส่งออกประจำเดือน พ.ค. ขยายตัว 7.2%YoY ดีกว่า Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 2%YoY ส่งผลให้ในช่วง YTD (5 เดือนแรกส่งออกไทยขยายตัวได้ 2.6%YoY) ถือว่าดีกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่าทั้งปีจะขยายตัว 1.8%YoY อย่างไรก็ตามแนะรอติดตามช่วงที่เหลือของปีว่าส่งออกไทยจะขยายตัวได้เท่าใดหากมากกว่าที่คาดการณ์จะเป็นแรงหนุนให้กับตลาดหุ้นไทยและเศรษฐกิจไทย สำหรับการ ส่งออกเดือนล่าสุดพบว่าสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา (+47%YoY) อาหารสัตว์เลี้ยง (+40%YoY) ไก่แปรรูป (+10%YoY) สิ่งปรุงรสอาหาร (+6%YoY) สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (+44%YoY) เครื่องจักรและส่วนประกอบ (+12%YoY) มองเป็นบวกกับหุ้นอย่าง (HANA ITC STA TU) สำหรับสหรัฐฯในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมารายงานดัชนี PMI ภาคผลิตเบื้องต้นทั้งภาคผลิตและภาคบริการพบว่าอยู่ที่ 51.7 , 55.1 ตามลำดับ ดีกว่า Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 51, 53.4 ตามลำดับ พร้อมกับรายงานยอดขายบ้านมือสองที่ 4.1 ล้านหลังคาเรือน ดีกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 4.08 ล้านหลังคาเรือน กดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2,10 ปี พร้อมกับ Dollar Index แข็งค่า ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่ (EM) โดยสัปดาห์นี้รอติดตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ จากสถาบัน CB ในวันอังคาร Bloomberg Consensus ประเมินไว้ที่ 100.2 และยอดขายบ้านมือหนึ่งของสหรัฐฯ ในวันพุธ Bloomberg Consensus ประเมินไว้ที่ 6.5 แสนหลังคาเรือน และวันศุกร์รายงานเงินเฟ้อ (PCE) Bloomberg Consensus ประเมินไว้ที่ 2.6% YoY และทรงตัวเทียบกับเดือนก่อน ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน Bloomberg Consensus ประเมินไว้ที่ 2.6%YoY , 0.1%MoM หากรายงานแล้วแย่กว่าคาดจะเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้น ส่วนปัจจัยในประเทศรอติดตามดุลบัญชีเดินสะพัดและภาวะเศรษฐกิจไทยจากธนาคารแห่งประเทศไทยในวันศุกร์ช่วงบ่าย Bloomberg Consensus ประเมินดุลบัญชีเดินสะพัดไว้ที่ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมกับรอติดตามการแถลงนโยบายช่วยตลาดทุนจากกระทรวงการคลังในวันจันทร์ ข้อมูลเบื้องต้นจากประชาชาติระบุไว้ว่าเตรียมนำ Thai ESG มาปรับเงื่อนไขลดการถือครองลงเหลือ 7 ปี จากเดิม 8 ปี แต่เพิ่มวงเงินในการลดหย่อนเป็น 3 แสนบาทจากเดิม 1 แสนบาท เงื่อนไขข้างต้นก็มองว่าเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาดหุ้นจากปริมาณเงินที่สูงขึ้น

สัปดาห์นี้ประเมิน SET INDEX เคลื่อนไหวในกรอบ 1280 – 1340 เชิงกลยุทธ์การลงทุนคงคำแนะนำสะสมเช่นเดิม เพราะคาดหวังถึงการฟื้นตัวช่วงถัดไปจากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย และการเมืองน่าจะค่อยๆคลี่คลาย แนะนำกลุ่มค้าปลีก (CPALL DOHOME GLOBAL HMPRO) ท่องเที่ยว (AOT CENTEL MINT) ศูนย์การค้า (CPN) ธนาคารพาณิชย์ (BBL KBANK KTB SCB) การเงิน (MTC SAWAD TIDLOR) ส่งออก (ITC TU) เครื่องดื่ม (CBG ICHI TACC)

หุ้นแนะนำซื้อวันนี้

ITC (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 26.20 บาท)

แนวโน้มช่วง 2Q24 ทาง ITC มีคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้วประมาณ 94% ของเป้าที่คาดไว้ (จากการเติบโตระดับ 15%YoY) ซึ่งเพิ่มจาก 60% ณ วันที่เราออกรายงานฉบับก่อนไป ซึ่งคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากคำสั่งซื้อที่เลื่อนมาจาก 1Q24 และสินค้าใหม่ที่ ITC มีการร่วมคิดกับลูกค้าที่จะทยอยส่งมอบในช่วง 2Q24 เป็นต้นไป ซึ่งในช่วง 2H24 ยังคงมีสินค้าใหม่ที่มีกำหนดเปิดตัวและส่งมอบให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราคาดว่าจะเห็นการเติบโตของรายได้เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าได้ตลอดทั้งปี

CPN (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 89.00 บาท)

กำไรขั้นต้นรวมที่ 55% ดีขึ้นจาก 52% ใน 1Q23 เพราะกำไรขั้นต้นธุรกิจค่าเช่าเพิ่มขึ้นหลังค่าไฟลดลงและมีการรับรู้รายได้จากการปรับค่าส่วนกลางเต็มไตรมาส (1Q23 รับรู้ช่วงเดือน ก.พ.) แต่ลดลงจาก 56% ใน 4Q23 เพราะมีค่าเสื่อมราคาจากการต่อสัญญาเช่าที่ดินเซ็นทรัลปิ่นเกล้าและค่าไฟที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามค่า Ft ค่าใช้จ่ายในการขายที่ 1,998 ลบ. (+14%YoY,-20%QoQ) เทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นเพราะมีค่าใช้จ่ายในการเปิดศูนย์ใหม่เพิ่ม ส่วนการลดลงจาก 4Q23 มาจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่ลดลง

- Advertisement -