Daily Focus: Selective and Earnings Play
2024 SET Target : 1470
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งกว่าที่คาดว่าจะซึมตัว โดยดัชนีปิดบวกได้ 4.97 จุด ที่ระดับ 1,324.76 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นขึ้นเป็น 4.3 หมื่นลบ. หนุนโดยหุ้นขนาดใหญ่ที่ปรับตัวขึ้นค่อนข้างกระจายตัวในทุกกลุ่ม ยกเว้น อิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวลงแรง ตามแรงขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลก สถาบันในประเทศขายสุทธิในตลาดหุ้นต่อเนื่องอีก 561 ลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิเร่งขึ้นเป็น 1.3 พันลบ. (และ Long Index Futures อีก 1.5 หมื่นสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่งพักตัว Sideways to Sideways Down ในกรอบ 1,315-1,330 จุด ยังคงถูกถ่วงจากบรรยากาศการลงทุนที่ค่อนไปในเชิงลบจากฝั่งสหรัฐฯ หลังนักลงทุนไม่มั่นใจและกังวลต่อสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่แน่นอนของสหรัฐฯ รวมถึงนโยบายการค้าและต่างประเทศของทรัมป์หากชนะเลือกตั้ง ขณะที่ภาพรวมยังขาดปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุน หลังจากตอบรับความคาดหวังเชิงบวกกับโอกาสการลดดอกเบี้ยของ FED ที่ 2-3 ครั้งปีนี้ไปแล้วพอสมควร ซึ่งต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้าว่าจะชะลอตัวลงต่อเนื่องอย่างที่คาดหวังหรือไม่ ส่วนปัจจัยในประเทศรมว.พลังงานยืนยันว่านโยบายค่าไฟงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. จะยังคงตรึงที่ 4.18 บาท/หน่วย ทำให้อาจเห็นแรงกดดันต่อกลุ่มโรงไฟฟ้าวันนี้ รวมถึงค่าเงินบาทที่พลิกมาอ่อนค่า ปัจจัยที่รอจับตาในสัปดาห์หน้าคือการแถลงนโยบาย Digital Wallet และศาลฯ พิจารณาคดีตำแหน่งนายกฯ เศรษฐกิจในวันที่ 24 ก.ค. ระยะสั้นดัชนีพักตัวลงหลังตอบรับปัจจัยบวกทั้งการ Cover Short และโอกาสลดดอกเบี้ยของ FED ไปแล้วพอสมควร ทำให้ Upside ระยะสั้นจำกัดจนกว่าคดีนายกฯจะมีคำวินิจฉัย โดยหากผลออกมาในเชิงบวกจะทำให้ Upside ระยะกลาง-ยาวเปิดกว้างขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Domestic Play ส่วนระยะ สั้นเราคาดหุ้นที่มีแนวโน้มกำไร 2Q24 ออกมาแข็งแกร่งจะมีแรงเก็งกำไรเข้ามาหนุนและเคลื่อนไหวได้ดีกว่าตลาด
กลยุทธ์ : เลือกหุ้นเป็นรายตัวที่มีแนวโน้มกำไร 2Q24 โดดเด่นและมี ESG Rating สูง // ส่วนที่สะสมในช่วงก่อนหน้ายังถือลงทุนต่อเนื่องระยะกลาง-ยาว
หุ้นเด่นเดือน ก.ค.: CPF, DOHOME, PHG, SAPPE, TTA
FSSIA Portfolio: AOT, CHG, CALL, CPN, GPSC, KCG, SHR, SJWD, TIDLOR, TU
หุ้นเด่น Finansia 19 ก.ค. 24 : ITC
- แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 27 บาท
- เราคาดกำไรปกติ 2Q24 ที่ 969 ลบ. +10% q-q, +124% y-y สูงสุดในรอบ 7 ไตรมาส หนุนจากรายได้ที่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง รวมถึง Margin คาดว่ายังยืนในระดับสูง
- แนวโน้มกำไร 3Q24 คาดยังมีลุ้นทรงตัวถึงปรับขึ้นต่อและมีโอกาสทำจุดสูงสุดของปีใน 4Q24 ประเด็นที่บวกมากขึ้นคือ ราคาขายอาจไม่ลดลงใน 2H24 ทำให้โมเมนตัมของกำไรยังใน 2H24 ยังดูดีต่อเนื่อง คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 ที่ 3.2 พันลบ. +39% y-y
- แนวรับ 23.20-23 บาท แนวต้าน 24//24.50 บาท
Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนยังคงไหลออกจากภูมิภาคหนาแน่น และเร่งตัวขึ้นเป็น US$1,831 ล้าน โดยยังคงกระจุกตัวที่ไต้หวัน US$1,788 ล้าน จากแรงขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี รองลงมาคือเกาหลีใต้ US$193 ล้าน ส่วนฝั่งอาเซียนไหลเข้าทุกประเทศ นำโดยอินโดนีเซีย US$72 ล้าน ส่วนไทยและเวียดนามไหลเข้าประเทศละ US$36 ล้าน โดยคาดได้อานิสงส์จากเม็ดเงินที่ Rotate เข้าหา Value Play อย่างไรก็ตาม แนวโน้มกระแสเงินทุนคาดว่ายังอยู่ในทิศทางไหลออกจาก Dollar Index และ Bond Yield ที่พลิกมาฟื้นตัวเล็กน้อย และตลาดกังวลและจับตานโยบายการค้าและต่างประเทศหากทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ประเด็นสำคัญวันนี้
(0) BBL กำไรสุทธิ 2Q24 เท่ากับ 1.18 หมื่นลบ. สูงกว่าเราคาด 13% เติบโตถึง 12% q-q และ 5% y-y โดยหลักๆดีกว่าคาดจาก Non-NII จากการบันทึก FVTPL 2.42 พันลบ. และ Effective Tax Rate ที่ต่ำกว่าปกติ ส่วนสินเชื่อหดตัวเล็กน้อยตามคาด จากการชำระคืนหนี้ของสินเชื่อรายใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ NIM ลดลงเล็กน้อยตามคาดราว 3bp มาที่ 2.94% จากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น ขณะที่ yield ค่อนข้างทรงตัว อย่างไรก็ตามคุณภาพสินทรัพย์ยังเสื่อมลง NPL ratio เร่งตัวขึ้นมากกว่าคาดมาที่ 3.64% จากการตกชั้นของสินเชื่อที่ปรับโครงสร้างไปแล้ว (Relapse) ในกลุ่ม Manufacturing และ Commercial ส่วนสินเชื่อ stage 2 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ Credit costs สูงกว่าคาดเช่นกันมาที่ 153 bp ยังเกิน guidance ปี 2024 ที่ +100bp ส่วน Coverage ratio ลดลงมาที่ 283% ซึ่งยังคงสูงสุดในอุตสาหกรรมอยู่ดี เรายังคงประมาณการปี 2024-26 โดยคาดเติบโตเฉลี่ย 3.7% CAGR แต่ลดคำแนะนำจาก “ซื้อ” เป็น “ถือ” เพื่อสะท้อนความกังวลคุณภาพสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น แต่ยังคงให้ Dividend Yield ที่ยังน่าสนใจราว 5-6% ต่อปี ยังคงราคาเป้าหมายที่ 157 บาท
(0) ERW เราคาดกำไรปกติ 2Q24 ที่ 120 ลบ. -58% q-q, -10% y-y แต่หากไม่รวมส่วนแบ่งกำไร จะ +7% y-y หนุนจาก RevPar ของโรงแรมในไทย ฟิลิปปินส์ที่ปรับตัวดีขึ้น 4-5% y-y ส่วนญี่ปุ่นคาด Breakeven ในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ตาม Concern หลักของ ERW ณ ปัจจุบันคือการต่อสัญญาเช่าที่ดิน Grand Hyatt ซึ่งหมดสัญญาตั้งแต่ ก.ค. 20 โดยปัจจุบันจ่ายค่าเช่าสูงกว่าเดิมราว 6 เท่าตัว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาโดยเราคาดว่าจะอยู่ในช่วง 100-150 ลบ.ต่อ ปี แต่กรณีแย่สุดอาจสูงถึง 200-250 ลบ.ต่อปี ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ประมาณการกำไรมี Downside โดยปัจจุบันเราปี 2024 ที่ 846 ลบ. +18% y-y ราคาเป้าหมาย 6.50 บาท แนะนำ “ซื้อ”
(0) ILINK คาดกำไรปกติ 2Q24 ที่ 61 ลบ. -12% q-q, -6% y-y จากมาร์จิ้นของ Installation ที่ลด ปัจจุบันมี Backlog 2.5 พันล้านบาท ราว 56% รับรู้ในปีนี้ และยังเข้าประมูลงานต่อเนื่อง เราคาดรายได้ปี 2024 ที่ 3.4 พันล้านบาท +25% y-y และกำไรปกติที่ 319 ลบ. +16% y-y ด้าน Valuations ถูก เทรด PER เพียง 11.5 เท่า ยังแนะนำ “ซื้อ”
(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 533.06 จุด หรือ -1.29% ปิดที่ 40,665.02 จุด ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดในแดนลบติดต่อกันเป็นวันที่สอง เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นออกมาเป็นวงกว้าง ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอนของสหรัฐ
(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ เป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขาย หุ้นกลุ่มชิปออกมา ซึ่งบดบังการเปิดเผยรายงานผลประกอบการเชิงบวกของบริษัทจดทะเบียน ขณะที่นักลงทุนประเมินการตัดสินใจล่าสุดของ ECB ในการตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
(-) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดลบ สอดคล้องกับแนวโน้มของตลาดสหรัฐฯ เมื่อวานนี้
(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 36.13 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ +0.50%
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 3 เซนต์ หรือ 0.04% ปิดที่ 82.82 ดอลลาร์/บาร์เรล ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน โดยนักลงทุนชั่งน้ำหนักระหว่างข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งอาจทำให้อุปสงค์น้ำมันอ่อนแอลง และแนวโน้มที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่เช้านี้ลบอยู่ที่ระดับ 82.16ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ -0.80%
(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 3.50 ดอลลาร์ หรือ 0.14% ปิดที่ 2,456.40 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด ในขณะที่เช้านี้ลบอยู่ที่ระดับ 2,435.70 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ -0.84%
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 840.01/ -0.24%