บล.พาย:
KKP: Kiatnakin Phatra PCL
งบดุลที่อ่อนแอกดดันการฟื้นตัว
เราปรับคำแนะนำเป็น “ขาย” และปรับลดมูลค่าพื้นฐานเหลือ 38 บาท KKP รายงานกำไรสุทธิใน 2Q24 อ่อนแอที่ 769 ล้านบาท (-45.4% YoY, -49% QoQ) และงบดุลอ่อนลง โดย NPL ratio ปรับขึ้นเป็น 4.1% และ Coverage ratio ลดลงที่ 136.5% ด้วยปัจจัยที่ท้าทายทางเศรษฐกิจ ตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ภาวะการลงทุนผันผวน และการปรับลดเป้าหมายการเงินในปี 2024 เราปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิลดลง 31.6%/37.5% ในปี 2024-25 โดยคาดว่ากำไรสุทธิของ KKP จะปรับลดลง 30.8% YoY ในปี 2024 และลดลง 0.3% ในปี 2025 ก่อนจะฟื้นกลับมาเติบโต 5.9% ในปี 2026
ประชุมนักวิเคราะห์
- แม้คุณภาพของสินเชื่อใหม่มีแนวโน้มดีขึน และคัดกรองลูกค้ามากขึ้นใน 2H24 แต่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเปาะบาง KKP ปรับเป้าหมายการเงินปี 2024 (1) สินเชื่อปรับลดลง 3% (เดิม +3%) (2) Loan spread เหลือ 4.8% (เดิม 5%) (3) NPL ratio เพิ่มเป็น 3.9-4.1% (เดิม 3.5-3.7%) (4) Credit cost ตามเดิมที่ 2.5-2.7% ของสินเชื่อรวม (รวมผลขาดทุนจากการขายรถยึด และ (5) ROAE (Comprehendive income) เหลือ 8-9% (เดิม 10-11%)
- KKP ปฏิเสธไม่มีการปล่อยสินเชื่อให้ บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ (EA) และไม่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ ทั้งหุ้นและตราสารหนี้ของ EA ดังนั้น จะไม่ได้รับผลกระทบในอนาคต
- การบริหารสต๊อกรถยึดทรงตัว และรถในสต๊อกลดลงเหลือราว 3.8 พันคัน ผลขาดทุนการขายรถยึดต่อคันลดลง ซึ่งเห็นได้จากการรับรู้ผลขาดทุนรถยึดใน 2Q24 ลดลง QoQ จากใน 1Q อย่างไรก็ดีสถานการณ์ยังไม่นิ่งทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจ และการแข่งขันจากรถยนต์ไฟฟ้ายังกดดันราคาขายรถยนต์ใช้แล้ว
คาดการเติบโตของกำไรจะชะลอตัวในปี 2024-25
- KKP รายงานกำไรสุทธิเพียง 2.3 พันล้านบาท (-34.9% YoY) ใน 1H24 และเรามองว่าแนวโน้มธุรกิจยังไม่กลับมาฟื้นตัวอย่างชัดเจนใน 2H24 แม้มองว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวดีขึ้นก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่มีแรงกดดันจากกำลังซื้อผู้บริโภคชะลอตัว คุณภาพสินเชื่อเปาะบาง และการแข่งขันจากรถยนต์ไฟฟ้ากดดันราคารถยนต์มือสอง
- เราปรับลดประมาณการกำไรสุทธิลดลง 31.6%/37.5% ในปี 2024-25 จาก (1) ปรับลดรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลง 9.2-13.1% และ (2) ปรับลดรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลง 26.8-26.5% ดังนั้น เราคาดการณ์กำไร สุทธิจะปรับลดลง 30.8% ปี 2024 และ 0.3% ปี 2025
- สำหรับใน 2H24 เราคาดว่ากำไรสุทธิจะยังอ่อนแอ โดยคาดว่ากำไรจะปรับลดลงทั้ง YoY และ HoH ที่ราว 1.5 พันล้านบาท
ปรับคำแนะนำเป็น “ขาย” ด้วยมูลค่าพื้นฐานใหม่ที่ 38 บาท
เราปรับคำแนะนำเป็น “ขาย” จาก “ถือ” เนื่องจากมองว่า KKP ยังต้องเผชิญความท้าทายจากตลาดสินเชื่อเช่าซื้อที่ชะลอตัว และคุณภาพสินเชื่ออ่อนแอ ขณะที่ภาวะตลาดทุนที่ไม่แน่นอนจะกดดันรายได้จากธุรกิจตลาดทุน โดยได้ปรับลดมูลค่าพื้นฐานเหลือ 38 บาท (เดิม 49 บาท) ด้วยวิธี GGM (ROE 6%, Terminal growth 2%) อิง 0.5x PBV’24E หรือ -2.0SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี (2014-2023)
สรุปผลการดำเนินงานใน 2Q24
- กำไรสุทธิออกมาต่ำกว่าคาดที่ 769 ล้านบาท (-45.4% YoY, -49% QoQ) ต่ำกว่าคาด 37% เนื่องจากสำรองหนี้ฯ สูงกว่าคาดมาก ปัจจัยหลักที่กดดันกำไรปรับลดลง YoY และ QoQ เนื่องจาก (1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง (2) สำรองหนี้ฯ และการขาดทุนสินทรัพย์รอการขายระดับสูง และ (3) รายได้ค่าธรรมเนียมอ่อนแอจากรายได้ค่านายหน้าประกันปรับลดลงตามการชะลอตัวของ สินเชื่อปล่อยใหม่ และรายได้จากธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงจากความผันผวนตามภาวะการลงทุน
- กำไรสุทธิใน 1H24 อยู่ที่ 2.3 พันล้านบาท (-34.9% YoY) กดดันจาก (1) กำไรจากการดำเนินงานลดลง (2) สำรองหนี้ฯ และการขาดทุนสินทรัพย์รอการขายระดับสูง และ (3) ค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงขึ้น
- NIM ปรับลดลงทั้ง YoY และ QoQ ที่ 4.1% (-50 bps YoY, -15 bps QoQ) เนื่องจากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อลดลง และต้นทุนการเงินเร่งตัวขึ้น ด้าน Cost to income ratio (CIR) ลดลง QoQ ที่ 49.9% เพราะค่าใช้จ่ายการดำเนินงานลดลงแต่เพิ่มขึ้นจาก 43.7% ใน 2Q23
- สินเชื่อลดลงต่อเนื่อง 0.8% QoQ จากการปรับลดลงในสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เป็นหลัก ทำให้สินเชื่อใน 1H24 ลดลง 1.5% YTD
- คุณภาพสินเชื่ออ่อนแอลง หนี้เสียสูงขึ้นจากสินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อ SME ทำให้ NPL ratio ปรับขึ้นที่ 4.1% (1Q24: 3.9%) และ Coverage ratio ลดลงที่ 136.5%