นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL

GUNKUL เดินหน้าพัฒนาโครงการ 832 MW ทยอยจ่ายไฟปี69 มั่นใจ Adder ทยอยหมดอายุปี70 ไม่กระทบกำไรบริษัท ชูจุดแข็ง Solar-Solar+BESS-Wind หนุนรายได้โต Double-Digit

บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) เผยสัญญา ADDER  ทยอยหมดอายุปี 2570 ไม่กระทบ หลังถูกชดเชยด้วยโครงการ Solar, Solar+BESS และ Wind จะเริ่มทยอย COD ฟาก“โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์”ระบุทั้ง 3 โครงการช่วยหนุนรายได้เติบโต Double-Digit  พร้อมเดินหน้าพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน 832 MW ต่อเนื่อง เริ่มเปิดดำเนินการขายไฟในเชิงพาณิชย์  (COD) ในปี 2569

นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยว่า ตามที่สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าที่มีส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) จะเริ่มทยอยหมดอายุลงตั้งแต่ช่วงปีต้นปี 2570 จะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทฯ  เนื่องจากจะมีโครงการโรงไฟฟ้าโครงการใหม่เข้ามาชดเชย ซึ่งจะเริ่มเปิดดำเนินการขายไฟในเชิงพาณิชย์  (COD)ในปลายปี 2569

ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังมีโครงการ Solar,โครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar+BESS) และโครงการพลังงานลม (Wind)  ที่จะทยอยCOD ในปี 2569, ปี 2571, ปี 2572 และปี  2573 ตามลำดับ  ซึ่งนอกจากจะสามารถชดเชยรายได้จากผลกระทบของ Adder โครงการพลังงานลมแล้ว ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทฯ ให้สามารถเติบโตเฉลี่ยแบบ Double-Digit ได้อีกด้วย

สำหรับโครงการพลังงานหมุนเวียนแบบ FiT ที่ประมูลได้ทั้ง 17 โครงการรวม 832.4 เมกะวัตต์  คาดว่าจะช่วยหนุนรายได้ปี 2573 ของบริษัทฯ ให้เติบโตเพิ่มขึ้นอีก 5,000 ล้านบาท และ EBITDA เติบโตเพิ่มขึ้นอีก 4,200 ล้านบาท

“จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมา GUNKUL ได้มีการขยายการลงทุน และเข้าร่วมประมูลโครงการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อมาช่วยสร้างรายได้ให้เพิ่มมากขึ้น”นางสาวโศภชากล่าว

ด้าน บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด แนะนำ ซื้อ GUNKUL และให้ราคาเป้าหมาย 5.00 บาท อิง SOTP โดยยังมีมุมมองเป็นกลาง หลังธุรกิจมีพัฒนาการตามแผนและยังไม่มีประเด็นใหม่ สรุปดังนี้ 1) โครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในไทยรอบล่าสุดที่บริษัทได้มาจะเริ่ม COD ในปี 2569E (3 โครงการ 177 MW) ซึ่งโครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อรอก่อสร้างต่อไป 2) ธุรกิจ EPC ปัจจุบันมี Backlog ราว 6พันล้านบาท ตั้งเป้าปี 2567E ประมูลงานเพิ่มราว 4 พันล้านบาท โดยมีงานโครงการใหญ่จากภาครัฐมูลค่ารวมกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท เป็น potential projects 3) ธุรกิจ Trading มี outlook ที่ดีจากการลงทุนเพิ่มเติมของหน่วยงานรัฐฯ และจากโครงการพลังงานทดแทนในไทยที่จะเริ่มทยอย COD ในปี2567E-73E (เฟสแรก 5.2GW และ 3.6GW เฟสสอง ซึ่งคาดว่าจะเห็นความชัดเจนในต้นปี 2568E)

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยคาดราคาหุ้นมีโอกาสกลับไป outperform SET ได้จากโอกาสในการได้งาน EPC โรงไฟฟ้าเพิ่มเติม หลังโครงการพลังงานทดแทน 5.2GW จะเริ่มทยอย COD ในปี2567E เป็นต้นไป รวมถึงโอกาสในการได้โครงการเพิ่มในเฟสถัดไป 3.6GW เป็นอีก catalyst และมองว่าผลประกอบการกลับเข้าสู่ภาวะขาขึ้นจากการทยอยรับรู้รายได้ โครงการพลังงานทดแทนใหม่ซึ่งจะทยอย COD ในปี 2569E ถึง 2573E หนุนกำลังการผลิตจากปี 2566 ที่ 0.6GW สู่ระดับ 1.5GW (ราคาเป้าหมายของเรารวมกำลังการผลิตไว้1.3GW เหลือโรงไฟฟ้าพลังงานลม 180MW เป็น upside หลังรอลงนาม PPA)

- Advertisement -