บล.พาย:

KTC: Krungthai Card PCL

เศรษฐกิจฟื้นตัวเปราะบางกดดันการเติบโต

เราคงคำแนะนำ “ถือ” ด้วยมูลค่าพื้นฐานใหม่ 42 บาท ภายใต้แรงกดดันจากเศรษฐกิจฟื้นตัวเปาะบาง และหนี้ครัวเรือนสูง ทำให้ KTC เน้นการดูแลคุณภาพสินเชื่อเป็นหลัก การตัดจำหน่ายหนี้สูญเพิ่มขึ้นเป็นภาระสำรองหนี้ฯ สูงขึ้นตามมา ขณะที่การเติบโตในธุรกิจใหม่อย่างพี่เบิ้ม รถแลกเงินยังไม่สามารถเป็น S-Curve ใหม่สร้างการเติบโตสูงได้ ทั้งนี้การคงระดับการจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตที่ 8% ในปี 2025 ช่วยลดความเสี่ยงคุณภาพสินเชื่ออ่อนแอลงได้ แต่ปัจจัยสำคัญอยู่ที่สถานะการเงินของลูกหนี้ ซึ่งต้ออาศัยเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งในอนาคต เราปรับลดคาดการณ์กำไรลง 2-5% ในปี 2024-26 จากการปรับลดการเติบโตสินเชื่อลงเหลือ 2.7-3% ในปี 2024-26 ทำให้คาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโตเพียง 3% CAGR (2024-26) ด้านกำไรสุทธิออกมาที่ 1.8 พันล้านบาท (+1.1% YoY, +1.3% QoQ) ขณะที่ NPL ratio ทรงตัวที่ 2% และ coverage ratio สูงขึ้นเป็น 363.3%

กำไรสุทธิใน 2Q24 ทรงตัว เน้นควบคุมคุณภาพสินเชื่อ

  • กำไรสุทธิงวด 2Q24 ออกมาที่ 1.8 พันล้านบาท (+1.1% YoY, +1.3%QoQ) แม้สำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้น กำไรสุทธิเติบโตเล็กน้อย YoY และ QoQ จาก (1) ส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ขยายตัวที่ 19.3% (+22 bps YoY, +48 bps QoQ) และ (2) รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยสูงขึ้นจากหนี้สูญได้รับคืน และรายได้อื่นๆ
  • สินเชื่อรวมเติบโตเพียง 0.4% QoQ เพราะการตัดจำหน่ายหนี้สูญเร็วขึ้น และสินเชื่อตามสัญญาเช่าลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้สินเชื่อรวมใน 1H24 ลดลง 5.8% YTD ผลจากที่สินเชื่อหดตัวใน 1Q24
  • คุณภาพสินเชื่อทรงตัว NPL ratio ทรงตัวที่ 2% เพราะหนี้เสีย สินเชื่อตามสัญญาเช่าลดลง แม้หนี้เสียจากบัตรเครดิตและสินเชื่อ บุคคลเพิ่มขึ้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มทำให้ Coverage ratio
    เพิ่มขึ้น QoQ ที่ 363.3%

คาดกำไรสุทธิโตเพียง 3% CAGR (2024-26)

  • หากสินเชื่อธุรกิจใหม่อย่างสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงินยังไม่สามารถเป็น S-Curve ใหม่สร้างการเติบโตสูงได้ การอาศัยเพียงธุรกิจดั้งเดิม (สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล) ที่มีอัตราการเติบโตจำกัด กอปรกับเศรษฐกิจฟื้นตัวเปาะบาง จะไม่สามารถผลักดันให้ KTC กลับไปเติบโตสูงเหมือนเช่นในอดีตได้
  • เราปรับลดการเติบโตสินเชื่อลงเหลือ 2.7-3% ในปี 2024-26 จาก (เดิม 5-6%) โดยเราปรับลดคาดการณ์กำไรลง 2-5% ในปี 2024-26 ทำให้คาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโต 1.4-4% ในปี 2024-26 ทำให้มองว่า ROE จะยังปรับลดลงต่อเนื่องจาก 21.6% ในปี 2023 เหลือ 19.5%/18.3%/17.2% ในปี 2024-26

คงคำแนะนำ “ถือ” และปรับลดมูลค่าพื้นฐานเหลือ 42 บาท

เราปรับลดมูลค่าพื้นฐานลงเหลือ 42 บาท จาก 44.00 บาท หลังจากปรับลดความสามารการทำกำไรลง คำนวณด้วยวิธี Gordon growth model (ROE 18%, Long term growth 3%) อิง 2.7x PBV’24E และ 14.6× PE’24E

สรุปผลการดำเนินงานใน 2Q24

  • กำไรสุทธิงวด 2024 ออกมาที่ 1.8 พันล้านบาท (+1.1% YoY, +1.3% QoQ) กำไรสุทธิเติบโต YoY และ QoQ หนุนจาก (1) ส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ขยายตัวที่ 19.3% (+22 bps YoY, +48 bps QoQ) จากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนสินเชื่อ และควบคุมต้นทุนการเงินที่ดี (2) รายได้ที่มีใช่ดอกเบี้ยสูง โดยเฉพาะจากหนี้สูญได้รับคืน และรายได้อื่นๆ
  • กำไรสุทธิใน 1H24 อยู่ที่ 3.6 พันล้านบาท ลดลง 1.3% YoY เนื่องจากสำรองหนี้ฯ ปรับสูงขึ้น และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานสูงขึ้น
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงาน (CIR) ลดลง QoQ ที่ 37.2% จากรายได้การดำเนินงานสูงขึ้น กอปรกับค่าใช้จ่ายดำเนินงานลดลง
  • สินเชื่อรวมเติบโตเพียง 0.4% QoQ (+0.2% YoY) เพราะการตัดจำหน่ายหนี้สูญเร็วขึ้น และสินเชื่อตามสัญญาเช่ายังลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้สินเชื่อรวมใน 1H24 ลดลง 5.8% YTD ผลจากที่สินเชื่อหดตัวใน 1Q
  • คุณภาพสินเชื่อรวมทรงตัว NPL ratio ทรงตัว QoQ ที่ 2% เพราะหนี้เสียสินเชื่อตามสัญญาเช่าลดลง แม้พบว่าหนี้เสียของบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคลเพิ่มขึ้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มทำให้ Coverage ratio เพิ่มขึ้น QoQ ที่ 363.3%
- Advertisement -