บล.กรุงศรีฯ:

KSS Strategist Comment : SET Update : มุมมองตลาดหุ้นไทย 5 ก.ย.2024 ณ. เวลา 14.00 น. SET ก้าวข้าม EMA 200วัน ที่ระดับ 1373 จุดแล้ว KSS เชื่อมั่นโอกาสเดินหน้าสู่เป้าหมายสิ้นปี 2024 ประเมินที่ 1480-1540 จุด (PER2024 17.3X) หนุนจากการเมืองภายในชัดและ  เม็ดเงินกองทุน ThaiESG เกณฑ์ใหม่  และกองทุนวายุภักษ์เน้น 1.)หุ้นที่คลังผู้ถือหุ้น, อยู่ในวายุภักษ์ 1 เติบโตดี AOT, PTT, KTB   2.) อยู่ในกองทุนวายุภักษ์ 1 และ Valuation ถูก CPALL, SCC, MINT, CRC,  HMPRO, SCGP 3.) มีน้ำหนักใน SETESG สูง, โตดี, Theme Data Center  ADVANC, GULF

Facts : 

  • SET Index ปี 2003 คือ ปีที่กองทุนวายุภักษ์ 1 เริ่มขึ้น : 1 ก.ค. 2003 เป็นจุดเริ่มต้นของ Domestic Long Term Fund  ที่ค่อยๆแข็งแรงขึ้นหลังพ้นวิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997 และหลังจากนั้นราวปี 2004 กองทุน LTF ก็ถือกำเนิดขึ้น  
  • ผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยในปี 2003 จากต้นปีที่ 351.52 จุด +31.38% ไปที่ 461.82  จุด ก่อนวันแรกของกองทุนวายุภักษ์และปรับขึ้นอีก 69.64 ไปสูงสุด 783.44 จุด ในวันที่ 9 มค 2004 หรือขึ้นจากต้นปี 2003 ถึง 123%

เปรียบเทียบเศรษฐกิจและปัจจัยภายในปี 2003-2004  VS. ปี 2024-2025

1)  เศรษฐกิจภายในประเทศกำลังค่อยๆ ฟื้นตัว คล้ายๆ กัน แรงขับเคลื่อนมาจากนโยบายภาครัฐและความเชื่อมั่นว่า GDP Growth ปี 2024 จะขยายตัว 2.4%y-y และปี 2025 ขยาย 2.8-3.2% คิดเป็น % Chg ที่เพิ่มราว 50% จากฐานปี 2022-2023 ที่ 2.5-1.9%  เช่นเดียวกับปี 2003-2004 ที่ GDP ฟื้นตัว 7.2-6.3% จากฐานปี 2000-2002 ที่  4.5-6.1%y-y

2)  ต่างชาติขายหุ้นไปมาก  :  

    • ก่อนปี 2003 นักลงทุนต่างชาติเป็นภาพซื้อสลับขายในตลาดหุ้นไทย แต่ในช่วงปี 10 พค 1999 – 21 มค 2002 ต่างชาติขายหุ้นไทย -5.12หมื่นล้านบาท ราว -3.3%ของมูลค่าตลาด และหลังการออกกองทุนวายุภักษ์ 1 และมีกอง LTF ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิต่อเนื่อง 4 ปี ติด รวมกว่า 2.62 แสนล้านบาท
    • ขณะที่ภาพปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิมาตลอดตั้งแต่ปี 2017 รวมกว่า -7.88 แสนล้านบาท (ซื้อปีเดียว ปี 2022 ราว 2.2 แสนล้านบาท) ราว -4.7%ของมูลค่าตลาด
    • ทำให้นักลงทุนต่างชาติที่ขายออกมากเกินไป เป็นโอกาสของนักลงทุนภายในประเทศระยายาว และมีโอกาสเห็น ต่างชาติกลับสถานะตามรอบใหญ่ได้อีกครั้ง โดยเฉพาะการที่ MSCI Thailand มีน้ำหนักใน MSCI EM เหลือเพียง 1.44% จากต้นปี 2018 ราว 2.4%+ 

3)  Domestic Long term Fund : เริ่มต้นครั้งแรกจาก Vayupak 2003 ราว 1 แสนล้านบาท และในปี 2004 LTF เกิดขึ้นกลางปี 2004 ยอดรวมซื้อสุทธิปีแรกเพียง 5.4 พันล้านบาท หลังจากนั้นเร่งขึ้นต่อเนื่อง จนปี 2007 มียอดซื้อสุทธิที่ราว 2.3 หมื่นล้านบาท และปี 2017-19 ซื้อสุทธิเฉลี่ย 6.8 หมื่นล้านบาท การเติบโตที่เร่งขึ้นดังกล่าวเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อตลาดหุ้นไทยเรื่อยมา ขณะที่การกลับมาของกองทุน TESG ซึ่งถือเป็น LTF รูปแบบใหม่ (หุ้นที่อยู่ใน Universe การลงทุนคล้ายๆ กัน เพียงแค่อิง ESG มากขึ้น และให้การลดหย่อนสูงสุดได้มากกว่า LTF สำหรับบางฐานภาษี) เชื่อว่าจะทำให้เม็ดเงินจากฝั่งกองทุนเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยเร่งขึ้นต่อเนื่องได้ช่วงถัดไป เป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นไทยวงจรใหม่  

    • เศรษฐกิจโลกและทิศทางอัตราดอกเบี้ยปี 2003-2004  VS. ปี 2024-2025 มีจุดต่างคือ ความไม่แน่นอนของวงจรเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ

1.) World GDP Growth ปี 2024-2025  อิง IMF คาด 3.1%y-yเท่ากัน ซึ่งภาพเศรษฐกิจโลก คือ ตัวแปรหลักที่มีความต่างจากปัจุบัน เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจโลกปีหน้าทรงตัว หรืออาจชะลอลง เทียบกับในปี 2003 ที่ World GDP  โต 3.2%  และเร่งขึ้นอีกในปี2004 โต 4.5%  จากเศรษฐกิจโลกขาขึ้นช่วงนั้นอย่างพร้อมเพียงกัน  

2.) ทิศทางอัตราดอกเบี้ยปี 2024 -2025 เริ่มกลับมาเป็นขาลง อิง สหรัฐคาดปีนี้จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย  ส่วนไทยมีโอกาสลดดอกเบี้ย 1 ครั้งในสิ้นปี เข้าสู่ Cycle ขาลง เทียบกับปี 2003  ซึ่งสหรัฐเป็น Cycle ของดอกเบี้ยขาลงแต่เป็นช่วงปลาย คือ เริ่มลดอัตราดอกเบี้ยฯตั้งแต่ปลายปี 2000 – จนถึงช่วงกลางปี 2003 และเริ่มหยุดการลดอัตราดอกเบี้ยและช่วงปี 2004 คงอัตราดอกเบี้ยจนถึงกลางปี ส่วนไทยดอกเบี้ยนโยบายเริ่มเป็นขาลงคล้ายปัจจุบัน  คือต้นปี 2003 ดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.75% และเริ่มปรับลงรวม 50 bps ในปีนั้นมาอยู่ที่ 1.25%

- Advertisement -