Daily Focus: ยังมอง SET มีโอกาสพักตัวระยะสั้นลดความร้อนแรง
2024 SET Target: 1470
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index แกว่งตัว Sideways โดยระหว่างวันมีจังหวะปรับตัวลงในแดนลบ ก่อนจะรีบาวด์ฟื้นกลับขึ้นมาก่อนปิดบวกเล็กน้อย 3.49 จุด ที่ระดับ 1,431.13 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ยังหนาแน่น 8.7 หมื่นลบ. สถาบันในประเทศขายสุทธิในตลาดหุ้นเร่งขึ้นเป็น 3 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหนาแน่นต่อเนื่องแต่ลดลงจากวันก่อนเหลือ 3.6 พันลบ. (และ Short Index Futures อีกเกือบ 3.8 หมื่นสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะยังคงแกว่งตัว Sideways to Sideways Down ในกรอบ 1,410-1,438 จุด หลังจากเริ่มชะลอความร้อนแรงจากช่วงก่อนหน้า โดยเรามอง Upside ระยะสั้นค่อนข้างจำกัดมาก จากสัญญาณ RSI ที่อยู่ในระดับสูงถึง 81.24 สะท้อนภาพ Overbought ทำให้เรามองว่าดัชนีมีโอกาสย่อตัวระยะสั้นเข้าหากรอบแนวรับ 1,410+- จุด ขณะที่สถานะนักลงทุนต่างชาติทยอยปิดทำกำไรสถานะ Long ในช่วงก่อนไปแล้วกว่า 1 แสนสัญญาในช่วง 8 วันทำการล่าสุด เรามองว่าตลาดจะหันมาเก็งกำไรหุ้นที่ยัง Laggard รวมถึงหุ้นขนาดกลาง-เล็กมากขึ้นหลังจากหุ้นขนาดใหญ่ปรับตัวขึ้นแรงนำตลาดไปแล้ว โฟกัสตลาดยังคงอยู่ที่การประชุม FED สัปดาห์หน้าว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ย 25 หรือ 50 bps โดยจะมีตัวเลขเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯเดือน ส.ค. ประกาศวันพุธ ส่วนคืนนี้ติดตามการดีเบตระหว่างทรัมป์และแฮริส ด้านปัจจัยในประเทศล่าสุดงบประมาณฯปี 68 ผ่านการลงมติในชั้นสว.แล้ว ส่วนครม.ชุดใหม่เตรียมแถลงนโยบายต่อสภาฯวันที่ 12 ก.ย. และคาดเดินหน้าเคาะมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในการประชุมนัดแรกสัปดาห์หน้า เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยใน 4Q24-2025 ขณะที่เม็ดเงินใหม่จากการขายหน่วยลงทุนประเภท ก. ของกองทุนวายุภักษ์ 1-1.5 แสนลบ. จะเข้ามาหนุนหรือจำกัด Downside ของ SET Index ใน 4Q24 เป็นต้น
กลยุทธ์ : เลือกหุ้น Domestic Play ที่มีแนวโน้มกำไร 2H24 แข็งแกร่งต่อเนื่อง // ส่วนที่สะสมในช่วงก่อนหน้ายังถือลงทุนต่อเนื่องระยะกลาง-ยาว
หุ้นเด่นเดือน ก.ย.: BDMS, CPALL, ICHI, MTC, NSL
FSSIA Portfolio: AOT, CHG, CALL, CPN, GPSC, KCG, KTB, MTC, NSL, SHR, TU
หุ้นเด่น Finansia 10 ก.ย. 24 : NSL
- แนะนำ “ซื้อ” ปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2025 ที่ 43 บาท
- โมเมนตัมกำไร 3Q24 คาดว่ายังโดดเด่น เบื้องต้นคาดที่ 136 ลบ. +1% q-q, +86% y-y โดยผู้บริหารให้ข้อมูลว่ารายได้คาดว่าจะยังโตแกร่ง +3% q-q และ +20% y-y แม้เป็น Low Season หนุนจากสินค้าใหม่แซนวิชทาร์ตไข่ซึ่งได้รับผลตอบรับดีมาก
- บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2025 โต Double Digit หนุนจากทั้งการออกสินค้าใหม่และโตตามการขยายสาขาของ 7-Eleven รวมถึงบริษัทลูกที่เติบโตและช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้นอกเหนือจาก 7-Eleven เราคาดกำไรปี 2024-25 +57% y-y และ +13% y-y ตามลำดับ Valuation น่าสนใจ เทรด 2025PER เพียง 15 เท่าและให้ Dividend Yield 3.4-3.8%
- แนวรับ 29//28 บาท แนวต้าน 30.25//31 บาท
Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาคสุทธิหนาแน่น US$1,675 ล้าน นำโดยไต้หวัน US$1,460 ล้าน ตามด้วยเกาหลีใต้ US$338 ล้าน อย่างไรก็ตาม ยังเห็นการไหลเข้าในฝั่งอาเซียน นำโดยไทย US$108 ล้าน มีเพียงเวียดนามที่ไหลออก แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดชะลอการไหลออก โดยสัปดาห์นี้ตลาดรอติดตามเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯเดือน ส.ค. รวมถึงการ Debate ของทรัมป์และแฮริส ขณะที่โฟกัสอยู่ที่สัปดาห์หน้าว่า FED จะเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรก 25 bps หรือ 50 bps
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+) SNNP คาดกำไร 3Q24 จะทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 169 ลบ. +4% q-q, +5.5% y-y จากรายได้ทั้งในประเทศและส่งออกฟื้นตัว และคาดกำไรจะเติบโตต่อเนื่องโดยอาจสูงสุดใน 4Q24 จาก High Season ของธุรกิจ นอกจากนี้ยังคาดว่าการเติบโตของรายได้จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นจากกลุ่ม Potential countries เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 ที่ 666 ลบ. +4.7% y-y และคาดว่ากำไรปี 2025 +14% y-y ทั้งนี้ หากสามารถขยายกลุ่ม Potential countries ได้สำเร็จ จะกลายเป็น upside ต่อประมาณการของเรา เชื่อว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงในช่วงก่อนหน้า ได้สะท้อนอัตราการเติบโตที่ลดลงในปี 2024 ไปแล้ว เราเชื่อว่าทั้งประมาณการกำไรและราคาหุ้นในปัจจุบันมี Downside จำกัด เราปรับใช้ราคาเป้าหมายเป็นปี 2025 ที่ 17.4 บาท คงคำแนะนำ “ซื้อ”
(-) KSL รายงานกำไรปกติ 3Q24 (พ.ค.-ก.ค.) ที่ 194 ลบ. -39% q-q, -63% y-y แม้รายได้รวมโต +16% q-q, +17% Y-y สาเหตุโตq-q มาจากปริมาณขายเพิ่มขึ้น ส่วนรายได้โต y-y มาจากราคาขายเฉลี่ยที่ปรับตัวสูงขึ้น อัตรากำไรขั้นต้นปรับลงต่อ มาอยู่ที่ 10.8% จาก 18.2% ใน 2Q24 แต่ดีขึ้นจาก 3Q23 ซึ่งถ้าดู Operation หลักโดยรวม ถือว่าผลการดำเนินงานไม่สดใสและสอดคล้องกับมุมมองของเรา ว่าได้ผ่านพีคปีนี้ใน 1Q24 ไปแล้ว แนวโน้ม 4Q24 คาดกำไรจะทรง หรือปรับลง q-q ต่อ เพราะเป็น low season ส่วนปี 2025 คาดจะดีขึ้น แม้ราคาขายจะปรับลง y-y ตามราคาน้ำตาลโลก แต่ปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้น เป็นบวกต่อโรงงานน้ำตาล ที่ต้องการวัตถุดิบผลิตน้ำตาล และผลพลอยได้ เพื่อเป็นเชื้อเพลิง ส่งต่อไปยังการผลิตอื่นทั้ง ไฟเอธานอล ปุ๋ย เป็นต้น
(+) หุ้นเป้าหมายกองทุนวายุภักษ์ 1 ระบุให้ผลตอบแทน 3-9% ระยะเวลาลงทุน 10 ปี เราคัดเลือกหุ้นที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายโดยอ้างอิง หุ้นที่มี ESG Rating A ขึ้นไปสำหรับ SET100 และ AA ขึ้นไปสำหรับหุ้นนอก SET100 โดยเน้นหุ้นที่มี Dividend Yield ราว 3% หรือสูงกว่า หรือหุ้นเติบโตดี (Dividend Yield อาจไม่ถึง 3%) ได้แก่ ADVANC AP BAM BBL BCH BDMS BJC CALL CPN HMPRO ICHI INTUCH KBANK KTB MEGA MINT OSP SC SIRI TISCO WHA WHAUP PR9
(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 484.18 จุด หรือ +1.20% ปิดที่ 40,829.59 จุด โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนช้อนซื้อเก็งกำไร หลังจากตลาดดิ่งลงอย่างหนักเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ รวมทั้งการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า
(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวก โดยฟื้นตัวขึ้นจากการร่วงลงอย่างหนักในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่นักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่การประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง
(+) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดบวก ตามทิศทางของตลาดสหรัฐ เมื่อวานนี้ ขณะที่ระหว่างสัปดาห์จะมีรายงาน trade data ของจีนเดือน ส.ค. เป็นประเด็นที่นักลงทุนจับตา
(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 33.87 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ +0.42%
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้น 1.04 ดอลลาร์ หรือ 1.54% ปิดที่ 68.71 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าพายุเฮอร์ริเคนอาจพัดถล่มรัฐลุยเซียนาของสหรัฐฯ ในวันพุธนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตและการกลั่นน้ำมันในเขต กัลฟ์โคสต์ของสหรัฐฯ ในขณะที่เช้านี้บวกอยู่ที่ระดับ 68.97 ดอลลาร์/บาร์เรลหรือ +0.38%
(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 8.10 ดอลลาร์ หรือ 0.32% ปิดที่ 2,532.70 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากเท่าใด ในขณะที่เช้านี้บวกอยู่ที่ระดับ 2,535.50 ดอลลาร์/บาร์เรลหรือ +0.11%
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 862.74/ –
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
10. ก.ย. | จีน: ส่งออก (ส.ค.) อังกฤษ: อัตราการว่างงาน (ส.ค.) |
11 ก.ย. | สหรัฐ: เงินเฟ้อ (ส.ค.) |
12 ก.ย. | ยุโรโซน: ประชุม ECB สหรัฐ: Core PPI (ส.ค.), Initial Jobless Claims |
13 ก.ย. | สหรัฐ: Michigan Consumer Sentiment (ก.ย.) นำเข้า-ส่งออก (ส.ค.) |
14 ก.ย. | จีน: ค้าปลีก (ส.ค.) |