บล.พาย:

Sector Update

COMMERCE: Upcycle กลุ่มค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง (OVERWEIGHT)

TOP PICK: HMPRO, DOHOME

เราแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนหุ้นในกลุ่มค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากเราคาดว่าตลาดค้าปลีกวัสดุก่อสร้างจะกลับเข้าสู่ ขาขึ้นรอบใหญ่หลังชะลอตัวตั้งแต่เกิดโควิด 19 หนุนจาก 2 ปัจจัย คือ 1. ผลผลิตทางการเกษตรที่ขยายตัว YoY และ 2. งบลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเราได้ทำการศึกษาพบว่า การเติบโตของตลาดวัสดุก่อสร้าง กับผลผลิตทางการเกษตรและการลงทุนภาครัฐ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน โดยเราเลือก HMPRO และ DOHOME เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มค้าปลีก

การเติบโตของตลาดวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้านมีความสอดคล้องกับ 2 ปัจจัย

ตลาดวัสดุก่อสร้างรับ 2 แรงหนุนในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า

  • เราทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตของตลาดวัสดุก่อสร้างกับผลผลิตทางการเกษตรและการลงทุนภาครัฐ พบว่าการขยายตัวของผลผลิตทางการเกษตรกับการเติบโตของตลาดวัสดุก่อสร้างมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันตามรูปทางด้านซ้ายมือขณะที่การลงทุนภาครัฐกับการเติบโตของตลาดวัสดุก่อสร้างมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันตามรูปทางด้านขวามือ
  • เราจึงสรุปได้ว่าการชะลอตัวของยอดขายวัสดุก่อสร้าง 4%YoY ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปี 2020 และยังคงมีแนวโน้มซบเชาต่อเนื่องในปี 2024 ตามงบประมาณรายจ่ายภาครัฐที่เบิกจ่ายล่าช้า (ตามข้อมูลหน้าที่ 2) เดือน ส.ค. 2024 เบิกจ่ายได้เพียง 41% ของงบประมาณ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2019-2023 ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ของบริษัทในกลุ่มค้าปลีกวัสดุก่อสร้างที่ติดลบราว 4%-11% ในช่วง ม.ค. 2024 – ส.ค. 2024
  • ดังนั้นเราคาดว่าตลาดวัสดุก่อสร้างจะกลับมาขยายตัวโดดเด่น 4% CAGR ในช่วงปี2025-2027 รับปัจจัยบวกจากผลผลิตทางการเกษตรที่กลับมาขยายตัวตามปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูกหลังเกิดปรากฏการณ์ลานีญา (ตามข้อมูลหน้าที่ 3) และงบลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากโครงการ Mega Projects ที่จะทยอยออกมา (ตามข้อมูลหน้าที่ 4)

คาดกลุ่มค้าปลีกวัสดุก่อสร้างหนุนกำไรกลุ่มค้าปลีกรวมโต 14% YoY ในปี 2025

เราคาดกำไรสุทธิกลุ่มค้าปลีกเติบโต 14% CAGR (2024-25) โดยในปี 2024 จะได้แรงหนุนจากกลุ่มค้าปลีกอาหารเป็นหลักโดยเฉพาะ CPALL และ CPAXT ขณะที่ปี 2025 เราคาดว่าตลาดวัสดุก่อสร้างจะกลับมาเติบโต 4%YoY และ SSSG ของบริษัทในกลุ่มค้าปลีกวัสดุก่อสร้างจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้ (HMPRO +5%, GLOBAL +6%, DOHOME +8%) ตามลำดับ ทำให้เราคาดว่า EPS growth ของหุ้นในกลุ่มค้าปลีกวัสดุก่อสร้างจะขยายตัว 18%-57%YoY สูงกว่าบริษัทอื่นๆ ในกลุ่มค้าปลีก ขณะที่ Valuation ยังอยู่ในจุดที่น่าสนใจ ซื้อขายเพียง 19-30 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และถูกมากเทียบกับการเติบโตของกำไรและแนวโน้มผลประกอบการที่กลับเข้าสู่โหมดการเติบโตอีกครั้ง (ตามข้อมูลหน้าที่ 5)

กำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง และงบประมาณภาครัฐที่เบิกจ่ายล่าช้ากดดันการเติบโตของตลาดวัสดุก่อสร้าง

ตลาดวัสดุก่อสร้างตามรูปทางด้านซ้ายมือเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 4% ต่อปีในปี 2005-2019 และชะลอตัวลง 4%YoY ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปี 2020 และยังคงมีแนวโน้มซบเชาต่อเนื่องในปี 2024 ตามงบประมาณรายจ่ายภาครัฐที่เบิกจ่ายล่าช้าตามกราฟด้านขวามือ เดือน ส.ค. 2024 เบิกจ่ายได้เพียง 50% ของงบประมาณ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2016-2019 ที่ 52% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในในปี 2020-2023 ที่ 56% และต่ำกว่าปี 2023 ที่ 64% ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ของบริษัทในกลุ่มค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง ที่ติดลบราว 4%-11% ในช่วง ม.ค. 2024 – ส.ค. 2024

ข้าสู่สภาวะลานีญาตั้งแต่เดือน ก.ย. 2024

สภาพอากาศมีแนวโน้มจะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือน ก.ย. ถึง พ.ย. 2024 และจะต่อเนื่องไปจนถึง ม.ค. 2025 ตามข้อมูลจากหน่วยงานด้านการพยากรณ์อากาศของสหรัฐฯ ในรูปขวามือ ที่แสดงโอกาสในการเกิดสภาวะลานีญาสูงกว่า 60% ในเดือน ก.ย. 2024-ม.ค.2025 ขณะที่รูปทางด้านซ้ายมือแสดงสภาวะลานีญาในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาเคยเกิดขึ้นในปี 2017-2018 และ 2021-2022 ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของตลาดค้าปลีกวัสดุก่อสร้างที่ขยายตัว YoY ในช่วงเวลาเดียวกัน

กรมอุตุนิยมวิทยาให้ข้อมูลว่าจากการศึกษาข้อมูลปริมาณฝนและอุณหภูมิรายเดือน ในช่วงเวลา 50 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง 2543 พบว่า ในปีที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญา ปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น ดังนั้นเราเชื่อว่าปี2024-2025 จะมีปริมาณน้ำฝนที่สูงขึ้นกว่าปีปกติ

ผลผลิตเกษตรเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำที่ใช้ได้จริงในเขื่อนก่อนฤดูกาลเพาะปลูก

เราทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตทางการเกษตร ปริมาณน้ำฝน และปริมาณน้ำที่ใช้ได้จริงในเขื่อนก่อนฤดูกาลเพาะปลูก พบว่าปีที่เกิดภาวะลานีญาและมีปริมาณน้ำฝนสูงกว่าปีปกติ จะมีผลผลิตที่เติบโต YoY ในทิศทางเดียวกันตามกราฟช้ายมือ และปริมาณน้ำที่ใช้ได้จริงในเขื่อนก่อนฤดูกาลเพาะปลูกที่สูงจะทำให้ผลผลิตในปีนั้นๆ เติบโตสูงในทิศทางเดียวกัน ผลผลิตที่สูงก็จะนำมาซึ่งรายได้ภาคเกษตรที่ดีขึ้นและเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง

Mega Projects หนุนการขยายตัวของตลาดวัสดุก่อสร้าง

เราเชื่อว่าการลงทุนภาครัฐจะหนุนให้ตลาดวัสดุก่อสร้างกลับมาคึกคัก ข้อมูลจากข่าว Thai PBS รายงานว่ากระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอโครงการให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาเห็นชอบ ซึ่งเราเชื่อว่าหากโครงการมูลค่ากว่า 7.27 แสนล้านบาทผ่านการเห็นชอบจะทำให้ตลาดวัสดุก่อสร้างขยายตัวโดดเด่นต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มบางขุนนท์-มีนบุรี ที่เพิ่งอนุมัติไป มูลค่ากว่า 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับการลงทุนภาครัฐที่ผ่านมาราว 3 แสนกว่าล้านบาท โดยสัดส่วน 40% เป็นงบลงทุนของกระทรวงคมนาคมละกระทรวงมหาดไทย

บริษัทที่มีโอกาสได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเพิ่มขึ้นของงบลงทุนภาครัฐคือ บริษัทที่มีสัดส่วนรายได้จากผู้รับเหมามากสุด ได้แก่ ไทวัสดุ (ภายใต้ CRC) 50%, Mega Home (ภายใต้ HMPRO) 50%, GLOBAL 35%, และ DOHOME 20%

- Advertisement -