Daily Focus: FED เริ่มลดดอกเบี้ย 50 bps ตลาดมี Sell on Fact 

2024 SET Target: 1470

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index มีจังหวะปรับขึ้นทะลุแนวต้าน 1,440 จุด ระหว่างวันก่อนที่จะมีแรงขายออกมากดดันให้ดัชนีย้อนลงมาปิดลบเล็กน้อย 0.83 จุด ที่ระดับ 1,435.77 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.7 หมื่นลบ. และยังคงไม่ผ่านแนวต้านดังกล่าว ขณะที่ตลาดรอติดตามผลการประชุม FED เมื่อคืนที่ผ่านมา สถาบันในประเทศขายสุทธิในตลาดหุ้นเร่งขึ้นเป็น 1.9 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติพลิกมาซื้อสุทธิสูงถึง 3.5 พันลบ. (และ Long Index Futures อีก 7.4 พันสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่งตัวทดสอบแนวด้าน 1,440 จุด ต่อเนื่อง โดยหากทะลุผ่านจะทำให้โมเมนตัมเป็นบวกและมีโอกาสปรับตัวเข้าหา SET Target ปีนี้ของเรา ที่ 1,470 จุด โดยผลการประชุม FED เมื่อคืนที่ผ่านมามีการลดดอกเบี้ย 50 bps อย่างไรก็ตาม จากถ้อยแถลงและ Dot Plot ระบุว่าการลดดอกเบี้ยในครั้งถัดๆมีแนวโน้มเบาลงเหลือ 25 bps ในการประชุม 2 ครั้งที่เหลือปีนี้ รวมถึงปี 2025 ที่คาดปรับลงเฉลี่ยไตรมาสละ 25 bps (รวมทั้งปี 100 bps) ขณะที่ประมาณการ GDP โดยรวมใกล้เคียงเดิม ขณะที่ Core PCE ถูกปรับลงเล็กน้อยอย่างไรก็ตามอัตราว่างงานถูกปรับขึ้นพอสมควรเป็น 4.4% จากเดิม 4% สะท้อนตลาดแรงงานที่เริ่มชะลอ ภาพรวมเรามองเป็นกลางและเชื่อว่าตลาดยังคงรอตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงที่เหลือของปี เพิ่มเติมว่าเศรษฐกิจและการจ้างงานสหรัฐฯยังคงแข็งแรงเพียงพอและไม่เกิด Recession หรือไม่ ซึ่งอาจหมายถึงการขยับนโยบายของ FED ที่อาจต่างจากที่ประเมินปัจจุบันโดยรวมทำให้ Dollar Index และ Bond Yield พลิกกลับมาดีดตัวขึ้นได้เล็กน้อย หลังจากปรับลงต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า ส่วนปัจจัยในประเทศติดตามเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท โดยบอร์ดค่าจ้างจะประชุมกันอีกครั้งวันที่ 20 ก.ย. นี้ ระยะสั้นดัชนีที่ปรับขึ้นกว่า 10% ช่วงเดือนทีผ่านมาทำให้ Upside จำกัดและมีโอกาสแกว่งออกข้างสร้างฐาน เม็ดเงินมีโอกาส Rotate เข้าหากลุ่มที่ยัง Laggard รวมถึงหุ้นขนาดกลาง-เล็กมากขึ้น เรายังคงมุมมองเชิงบวกระยะกลางยาวต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยใน 4Q24-2025 ที่เป็นขาขึ้น รวมถึงเม็ดเงินใหม่จากกองทุนวายุภักษ์ 1-1.5 แสนลบ. ที่จะเข้ามาหนุนหรือจำกัด Downside ของ SET Index ใน 4Q24

กลยุทธ์ : เน้นลงทุนหุ้น Domestic Play ที่มีแนวโน้มกำไร 2H24-2025 แข็งแกร่ง // ส่วนที่สะสมในช่วงก่อนหน้ายังถือลงทุนต่อเนื่องระยะกลาง-ยาว

หุ้นเด่นเดือน ก.ย.: BDMS, CPALL, ICHI, MTC, NSL

FSSIA Portfolio: AOT, CHG, CPALL, CPN, GPSC, KCG, KTB, MTC, NSL, SHR, TU

หุ้นเด่น Finansia 19 ก.ย. 24 : CBG

  • แนะนำ “ซื้อ” ปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2025 ที่ 88 บาท
  • แนวโน้มกำไร 3Q24 คาดสูงสุดในรอบ 13 ไตรมาส โดยคาดที่ 762 ลบ. +10% q-q, +44% y-y หนุนจากคาราบาวแดงที่ยังแข็งแกร่ง และมี Market Share เพิ่มขึ้นทำ New High ในเดือน ส.ค. ที่ 24.4% (ปรับขึ้นจาก 24.1% ใน 2Q24)
  • เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2024-25 ขึ้น 7-8.5% เป็น 2.9 พันลบ. +49% y- และ 3.1 พันลบ. +10% y-y ตามลำดับ สะท้อนเครื่องดื่มชูกำลังที่แข็งแกร่งกว่าที่คาด ชดเชยธุรกิจเบียร์ที่ต่ำกว่าคาด โมเมนตัมกำไร 4Q24 คาดโตทั้ง q-q และ y-y และเป็นจุดสูงสุดของปี
  • แนวรับ 72//70.50 บาท แนวต้าน 74//78 บาท

Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนโดยรวมผสมผสาน สุทธิแล้วไหลออกจากภูมิภาค US$260 ล้าน โดยกระจุกตัวที่ไต้หวัน US$485 ล้าน ส่วนเกาหลีใต้ปิดทำการ ขณะที่ฝั่งอาเซียนเม็ดเงินไหลเข้าทุกประเทศ นำโดยไทยและอินโดนีเซีย US$105 ล้านและ US$93 ล้าน ตามลำดับ แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่ายังผสมผสานแต่คาดว่ายังไหลเข้าอาเซียนต่อเนื่อง ตลาดมี Sell on Fact หลังจาก FED เริ่มลดดอกเบี้ย 50 bps แต่ส่งสัญญาณว่าอาจไมได้ปรับลงแรงต่อเนื่องในระยะถัดไป

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) SAV คาดจำนวน flight จะทำ new high หลังพ้นจากช่วง Covid ในช่วง 3Q24 ถึงจะเป็น ช่วง low season โดยมีปัจจัยหนุน จาก AirAsia ที่เริ่มทำการบิน flight international หลังสะสมชั่วโมงบิน domestic ครบแล้วในช่วง 2Q24 ที่ผ่านมา รวมถึงช่วงต้นเดือนก.ย. ที่ผ่านมามีพายุยางที่เวียดนาม ทำให้สายการบินต้องบินอ้อมมาที่กัมพูชา ส่งผลให้ overflight เพิ่มจากปกติประมาณ 20% ทั้งนี้เราคาดรายได้จะทำ new high ในสกุล USD แต่อาจจะได้รับผลกระทบจาก translation impact ที่ THB แข็ง โดยรวมคาด core profit ประมาณ 115-120 ลบ. +10% y-y และอยู่ใน scope ที่กำไรจะทำ new high ได้ Momentum น่าจะดีต่อเนื่องใน 4Q24 ที่เป็นช่วง high season ราคาเป้าหมาย 25 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ”

(+) SFLEX เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2024-26 ขึ้น +9%/+5%/-1% ตามลำดับ จากภาพ outlook ที่ชัดเจน หลังรายงานกำไรปกติ 1H24 เติบโต 40.6% y-y และคิดเป็น 57% ของประมาณการทั้งปีของเรา ประกอบกับแนวโน้ม 2H24 จะดีต่อเนื่องทั้งในไทยและเวียดนาม โดยเราได้ปรับสมมุตฐานอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก 21% เป็น 24% จากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบและเม็ดพลาสติกที่ปรับลง อีกทั้งยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ดอกเบี้ยจ่ายแต่จะถูกชดเชยจากค่าใช้จ่ายภาษีที่ปรับลง ทำให้คาดกำไรปกติปี 2024-26 เติบโตเฉลี่ยปีละ 3.4% CAGR แม้จะไม่สูงนักแต่แข็งแกร่งกว่าอดีต เราปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2025 ที่ 5.10 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ”

(+) หุ้นเป้าหมายกองทุนวายุภักษ์ 1 ระบุให้ผลตอบแทน 3-9% ระยะเวลาลงทุน 10 ปี เราคัดเลือกหุ้นที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายโดยอ้างอิง หุ้นที่มี ESG Rating A ขึ้นไปสำหรับ SET100และ AA ขึ้นไปสำหรับหุ้นนอก SET100 โดยเน้นหุ้นที่มี Dividend Yield ราว 3% หรือสูงกว่า หรือหุ้นเติบโตดี (Dividend Yield อาจไม่ถึง 3%) ได้แก่ ADVANC AP BAM BBL BCH BDMS BJC CPALL CPN HMPRO ICHI INTUCH KBANK KTB MEGA MINT OSP SC SIRI TISCO WHA WHAUP PR9 DIF 3BBIF TFFIF AIMIRT CPNREIT LHHOTEL LHSC WHAIR

(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 103.08 จุด หรือ -0.25% ปิดที่ 41,503.10 จุด โดยดาวโจนส์ชะลอตัวลงหลังจากพุ่งขึ้นแตะระดับสุงสุดเป็นประวัติการณ์ในระหว่างวันภายหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี

(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายก่อนธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศนโยบายการเงิน ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากที่ตลาดยุโรป ปิดทำการไปแล้ว

(+) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดบวก นำโดยตลาดนิกเกอิ บวกอยู่ 2.3% โดยในวันนี้จะมีการประชุมของ BoJ ซึ่งจะมีระยะยาวนาน 2 วัน และจะสิ้นสุดในวันศุกร์

(0) ค่าเงินบาท ทรงตัว อยู่ที่บริเวณ 33.37 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ -0.06%

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 28 เซนต์ หรือ 0.39% ปิดที่ 70.91 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงมากถึง 0.50% ซึ่งทำให้นักลงทุนมองว่าเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจ ในขณะที่เช้านี้ลบอยู่ที่ระดับ 70.37 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ -0.76%

(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 6.20 ดอลลาร์ หรือ 0.24% ปิดที่ 2,598.60ดอลลาร์/ออนซ์ ก่อนที่นักลงทุนจะรู้ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) โดยตลาดทองคำนิวยอร์กปิดทำการซื้อขายก่อนที่คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติการประชุม ในขณะที่เช้านี้ลบอยู่ที่ระดับ 2,578.70 ดอลลาร์/บาร์เรลหรือ -0.77%

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 872.23/ –

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

19 ก.ย.อังกฤษ: ประชุม BoE
20 ก.ย.ญี่ปุ่น: ประชุม BOJ, เงินเฟ้อ (ส.ค.)

จีน: Loan Prime rate 1Y

อังกฤษ: ค้าปลีก (ส.ค.)

23 ก.ย.ไทย: ยอดขายรถยนต์ในประเทศ (ส.ค.)
24 ก.ย.ออสเตรเลีย: ประชุมธนาคารกลาง RBA
25 ก.ย.ไทย: ส่งออก (ส.ค.)
- Advertisement -