บล.กรุงศรีฯ:

KSS Strategist Comment: ทีมกลยุทธ์ออกรายงาน “Fed “Proactive” ต่อนโยบายการเงินเพื่อประคองเศรษฐกิจ ดีต่อสินทรัพย์เสี่ยง” โดยสรุปเรามองบวกต่อท่าที Fed ในการประชุมรอบล่าสุด และเชื่อว่าความพร้อมในการปรับนโยบายการเงินในรูปแบบ Proactive และ ยืดหยุ่น จะช่วยประคองเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นภาพ Soft Landing ได้ ซึ่งจะบวกต่อการลงทุน Global Bonds และสินทรัพย์เสี่ยงโลกในกลุ่มยัง Laggard อาเซียน รวมถึงไทย

Fact:

  คณะกรรมการนโยบายการเงิน Fed 11 จาก 12 ท่านมีความเห็นให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund Rate) ลง -50bps สู่ระดับ 4.75% – 5.0% โดยมีเพียงคุณ Michelle Bowman ที่เห็นว่าควรปรับลดเพียง -25bps 

  ประธาน Fed  หลังการประชุมให้ความเห็นว่าการปรับเร่งลดดอกเบี้ยระดับ -50bps ครั้งนี้ เพื่อยืนยันจุดยืนอย่างมั่นคงว่า Fed มิได้ “Behind The Curve” โดยการปรับมาก/น้อยลำดับถัดไป  ขึ้นกับสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งล่าสุดคาด GDP ปี 2024-26 ที่ระดับเดิมจากรอบก่อนราว  2% เท่าๆกัน(ระดับใกล้ศักยภาพ) 

  หากไม่เห็นภาพเศรษฐกิจที่แตกต่างไปจากที่ Fed ประเมินแบบมีนัยฯ FED จะลดดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป 

  นอกจากนี้ จุดสำคัญ คือ การให้ความเห็นประกอบว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายปลายทางจะไม่อยู่ที่ระดับต่ำเกินไปดังเช่นที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 และ Fed  โดยดอกเบี้ยปลายทางที่คาดการณ์ สิ้นสุด ปี 2026 ของ Dot Plot ล่าสุด อยู่ที่ 2.75-3.0%

Key Ideas :

  ท่าที Proactive ของ Fed บ่งชี้ มีเครื่องมือทางการเงินเพียงพอที่จะประคองเศรษฐกิจ และเริ่มให้น้ำหนักกับตลาดแรงงานที่เริ่มชะลอลง มากกว่าเสถียรภาพด้านราคาที่เชื่อมั่นว่าควบคุมได้แล้ว 

  แม้จะมีการปรับเพิ่มระดับอัตราว่างงานปี 2024-26 ขึ้นสู่ 4.4%, 4.4% และ 4.3% (vs เดิม 4.0%, 4.2% และ 4.1%) ยังถือว่าห่างจากระดับอัตราว่างงานเฉลี่ย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ Recession ในอดีตที่ 6% 

  ภาวะดังกล่าวหนุนเกิดกระบวนการ Search for Yield โดย Global Bonds และสินทรัพย์เสี่ยงโลกที่ยัง Laggard/Value เด่น 

กลยุทธ์ : ประเมินจุดเปลี่ยนของอัตราดอกเบี้ยที่กลับเป็นขาลงแล้ว นำโดยสหรัฐผสาน ประเทศแถบอาเซียน(ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย) ที่ทยอยปรับลดดอกเบี้ยลงเช่นกัน 

หนุนธีมการลงทุน 

• หุ้นกลุ่มดอกเบี้ยขาลงหนุน 

   o โรงไฟฟ้า GULF, GPSC 

   o ชิ้นส่วนฯ DELTA 

   o เช่าซื้อ MTC, JMT, KTC 

   o หนี้สูง  MINT, TRUE 

   o High Yield ADVANC, HMPRO 

   o ค้าปลีก CPALL, BJC

   o ท่องเที่ยว AOT, BA, AAV, ERW

• นอกจากนี้ กลุ่มธนาคารที่ถูกขายลดความเสี่ยงการปรับลดดอกเบี้ยออกมาก่อน มีโอกาสเห็น Buy on Facts แม้ว่าวงจรดอกเบี้ยเข้าสู่ขาลงจะกระทบ NIM แต่จะถูกชดเชยด้วยการเติบโตของสินเชื่อและค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น การบริหารเงินทุน และความเสี่ยงด้านเครดิตที่ต่ำลง ผสาน ROE สูงเฉลี่ย 9% และ Valuation Discount หนุนคาดเห็นแรงซื้อกลับ เน้น KBANK, KTB, BBL

- Advertisement -