พีเพิล ค้าน ACAP บิดเบือนข้อเท็จจริง ยึด “พีเพิล พาร์ค” ระบุไม่อยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด

“พีเพิล”  ร่อนหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์ และชี้แจงสื่อมวลชน คัดค้าน ACAP – โอเค แคช ยึดคอมมูนิตี้มอลล์ โครงการพีเพิล พาร์ค มูลค่า 1,500 ล้านบาท เพื่อชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ ยืนยันสิทธิการเช่าไม่อยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ ACAP ส่อเจตนาไม่สุจริต ผ่องถ่ายทรัพย์สิน ไม่รักษาผลประโยชน์เจ้าหนี้หุ้นกู้ ยืนยันดำเนินคดีถึงที่สุด

บริษัท พีเพิล โซไซตี้ จำกัด เจ้าของสัญญาเช่าในโครงการพีเพิล พาร์ค คอมมูนิตี้ มอลล์ มูลค่า 1,500 ล้านบาท ย่านอ่อนนุช เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ทำหนังสือชี้แจงกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสื่อมวลชนกรณีกลุ่มบริษัท เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACAP และบริษัท โอเค แคช จำกัด นำเจ้าพนักงานบังคับคดี มาดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา หมายเลขคดีดําที่ พ.6156/2563 หมายเลขคดีแดงที่ พ.674/2567 อ้างสิทธิในการเช่า และใช้ประโยชน์ในโครงการพีเพิล พาร์ค อ่อนนุช เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 นั้น บริษัทฯ ขอชี้แจงว่า “หนังสือที่อ้างถึงนั้น ชี้แจงข้อเท็จจริงที่เป็นความเท็จในหลายกรณี” ดังนี้

  1. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมวด 4 การบังคับคดีในกรณีที่ให้ขับไล่ลูกหนี้ตามคำ พิพากษา ต้องออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง มาตรา 351 (1) ประกอบมาตรา 352 ได้กำหนดว่า ถ้าทรัพย์นั้นไม่มีบุคคลใดอยู่แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจส่งมอบทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือบางส่วน ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองได้ทันที หากยังมีลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือตัวแทนของลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นบริวารอยู่ในทรัพย์ดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีอำนาจส่งมอบทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครอง แต่จะต้องดำเนินการ ตามมาตรา 351 (2) ประกอบมาตรา 353 ซึ่งกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ต้องรายงานต่อศาล เพื่อมีคำสั่ง จับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวาร และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปิดประกาศให้บุคคลที่อยู่ อาศัย หรือครอบครองทรัพย์นั้น ซึ่งอ้างว่ามิได้เป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ยื่นคำร้องต่อศาลภายใน กำหนดเวลาสิบห้าวัน นับแต่วันปิดประกาศ แต่ในวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น พีเพิลได้จัดให้มีพนักงานประจำสำนักงานของพีเพิล และมีพนักงานรักษาความปลอดภัย ตลอดจนช่างผู้ชำนาญการ พ่อบ้าน และแม่บ้าน ดูแลพื้นที่ตลอดจนลานจอดรถ คอมมูนิติมอลล์หรือศูนย์การค้าพีเพิล พาร์คของพีเพิล กรณีนี้จึงต้องถือว่าคอมมูนิติมอลล์หรือศูนย์การค้าพีเพิล พาร์ค อันเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดี จะต้องส่งมอบแก่บริษัท โอเคแคช จำกัด เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น ยังมีตัวแทนของพีเพิลลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นบริวารอยู่ในทรัพย์ดังกล่าว
  2. ดังนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีอำนาจ ส่งมอบคอมมูนิติมอลล์ หรือศูนย์การค้าพีเพิล พาร์คทั้งหมดหรือบางส่วน ให้บริษัท โอเคแคช จำกัด เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองตาม มาตรา 351 (1) ประกอบมาตรา ประกอบมาตรา 352 ประกอบกับไม่ปรากฏว่า ACAPกับพีเพิลทำสัญญา เพื่อนำสิทธิใช้ประโยชน์หรือสิทธิการเช่าโครงการดังกล่าว จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานทะเบียนแล้ว สิทธิใช้ประโยชน์หรือสิทธิการเช่าโครงการ จึงมิใช่หลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 นอกจากนี้ เอแคปและพีเพิลไม่ได้คิดราคาค่าสิทธิการเช่า ตามสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ โครงการพัฒนาที่ดินบริเวณถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77 ) และอาคารโครงการ เท่ากับราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบไว้ในสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าว ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสอง จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสาม จึงเท่ากับว่าไม่มีข้อตกลงให้โอนสิทธิการเช่า ตามสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์โครงการพัฒนาที่ดินบริเวณถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77) บริษัท โอเค แคช จำกัด จึงไม่อาจอ้างอิง แสวงสิทธิจากข้อตกลงที่เป็นโมฆะนั้น พีเพิลยังเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ ในโครงการศูนย์การค้าพีเพิล พาร์คอยู่ และถือว่าเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 109 (1)
  3. ดังนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงาน บังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 5 จึงไม่มีอำนาจปิดหมายบังคับคดีพีเพิล ตลอดจนไม่มีอำนาจส่งมอบโครงการ พีเพิล พาร์ค แก่บริษัท โอเค แคช จำกัด การบังคับคดีดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 110 วรรคแรก จึงไม่มีผลผูกพันพีเพิลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าว จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่พีเพิล อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ส่วนบริษัทโอเคแคช จำกัด ตลอดจน ผู้แทนของบริษัท โอเค แคช จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบโครงการพีเพิลนั้น ถือว่าเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานกระทำความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่พีเพิล อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 และเป็นละเมิดต่อพีเพิลอีกด้วย ซึ่งพีเพิลจะดำเนินคดีทั้งในทางแพ่ง และทางอาญาต่อกรมบังคับคดีและต่อบุคคล เหล่านี้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด

อนึ่ง พีเพิลได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ต่อศาลแพ่งแล้ว และได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการขับไล่ บริษัทโอเค แคช จำกัด ออกจากโครงการพีเพิล พาร์ค แล้วด้วย โดยคดีทั้งสองอยู่ในระหว่างนัดไต่ สวนคำร้อง

นอกจากนี้ ในการประชุมเจ้าหนี้ เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของ ACAP เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 ที่ ผ่านมา ปรากฏว่า ACAP โดยนายพัชรพล ชันคุปต์ ยินยอมให้นางสาวณิชารดี สุขเจริญไกรศรี ซึ่งถูก ก.ล.ต.กล่าวโทษในความผิดกรณีทุจริต เข้าร่วม ในการประชุมเจ้าหนี้และออกหน้าชี้แจงแผนฟื้นฟูกิจการของ ACAP ต่อที่ประชุมเจ้าหนี้อันมีลักษณะเป็นการกระทำอย่างกรรมการและผู้บริหารของ ACAP จึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อีกทั้งพีเพิลแจ้งตลาดหลักทรัพย์ แจ้งความดำเนินคดีฟ้องร้อง อดีตผู้บริหาร Acap (นางสาวณิชารดี สุขเจริญไกรศรี) และพวก ในข้อหาลักทรัพย์ และปลอมแปลงเอกสาร กับปอศ. โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินคดีและประกันตัวกับปอศ.ซึ่งพีเพิลขอให้ท่านได้โปรดดำเนินคดี ACAP นายพัชรพล ชันคุปต์ และนางสาวณิชารดี สุขเจริญไกรศรี ตามกฎหมายต่อไปจนกว่าคดีถึงที่สุดด้วย (อ่านเอกสารเพิ่มเติม 2. บุกรุก 18 เมษายน 2567 )

อ่านเอกสาร ก.ล.ต. กล่าวโทษกรรมการและอดีตกรรมการ GSC รวม 7 ราย ทุจริตให้เงินกู้ยืม ACAP ได้ที่ 1.ก.ล.ต. กล่าวโทษกรรมการและอดีตกรรมการ GSC รวม 7 รายทุจริตให้เงินกู้ยืมACAP

 

- Advertisement -