- บล.ฟิลลิป:
กระทรวงพาณิชย์เผยเงินเฟ้อไทยเดือนต.ค.67
- Core CPI ขยายตัว 0.77% y-y ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 0.80% y-y และเท่ากับ 0.77% y-y ในเดือนก.ย.67
- Headline CPI ขยายตัว 0.83% y-y ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 0.94% y-y หากแต่เร่งตัวขึ้นจาก 0.61% y-y ในเดือนส.ค.67
- ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะผักสดและผลไม้ ประกอบกับการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล และค่ากระแสไฟฟ้าจากฐานราคาที่ต่ำของปีที่ผ่านมา ในขณะที่ราคาแก๊สโซฮอล์ปรับตัวลดลงตามสถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลก
- แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ย.67 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนต.ค.67 โดยปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ได้แก่
1) ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศ ที่กำหนดเพดานไม่เกิน 33 บาท/ลิตร ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
2) ค่ากระแสไฟฟ้าภาคครัวเรือปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐในปีนี้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา
3) สินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่งอกับภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
- ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อชะลอลง ได้แก่
1) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อนหน้า
2) ราคาผักสดกลับเข้าสู่ระดับปกติ เนื่องจากผลกระทบจากอุทกภัยและน้ำท่วมในบางพื้นที่สิ้นสุดลง
3) ผู้ประกอบการค้าส่ง/ค้าปลีกรายใหญ่ คาดว่าจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง
ที่มา : Bloomberg, TPSO (6 พ.ย. 67)
Strategist Comment: แม้เงินเฟ้อไทยในเดือนต.ค.67 จะขยายตัวต่ำกว่าตลาดคาด หากแต่ทางฝ่ายมีมุมมองเชิงลบต่อตัวเลขข้างต้น สอดรับกับเงินเฟ้อทั่วไปที่เร่งตัวขึ้น y-y ในเดือนดังกล่าวและเข้าใกล้ขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% อีกทั้ง ในเดือนพ.ย.67 ยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น สอดรับกับมุมมองของกนง.ที่มองว่าเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยเข้าสู่กรอบในช่วงปลายปี 67 ทั้งนี้ ภาพข้างต้นจะเป็นปัจจัยหนุนให้กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรักษาจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลาง และเป็น Sentiment ทางลบต่อ SET Index