Daily Focus: ผลประชุม FED ทุบทุกสินทรัพย์ทั่วโลก ยกเว้นดอลลาร์
2025 SET Target: 1600
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวลงทดสอบแนวรับ 1,390 จุด ตามคาด ก่อนจะฟื้นตัวได้ระยะสั้น แต่ Upside ยังไม่กว้าง ดัชนีปิดบวกเล็กน้อย 3.38 จุด ที่ระดับ 1,398.95 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 4.7 หมื่นลบ. โดยเริ่มมีแรงซื้อกลับหุ้นขนาดใหญ่ที่ปรับลงแรงช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ยังคงถูกกดดันจากหุ้นบางตัว เช่น TRUE GULF CCET CPN เป็นต้น สถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่อง แต่บางลงเหลือ 302 ลบ.และ 388 ลบ. ตามลำดับ (แต่ต่างชาติพลิกมา Long Index Futures 1.6 หมื่นสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะพลิกมาปรับตัวลงอีกครั้งลงหากรอบ 1,380-1,390 จุด ถ่วงจากปัจจัยต่างประเทศ หลังมีแรงเทขายในทุกสินทรัพย์อย่างหนัก ภายหลังทราบผลการประชุม FED จากถ้อยแถลงที่ระบุว่าจะมีความระมัดระวังมากขึ้นในการปรับลดดอกเบี้ยในระยะถัดไป ส่วน Dot Plot ล่าสุด FED มองลดดอกเบี้ยในปี 2025-27 ที่ 2-2-1 ครั้ง เทียบกับรอบเดือน ก.ย. ที่มอง 4-2-0 ครั้ง ซึ่งตึงตัวขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตามตลาดปรับลดคาดการณ์การลดดอกเบี้ยในปี 2025 ลงอีกครั้ง จากระดับ 2-3 ครั้งเหลือ 1-2 ครั้ง ส่งผลให้ Bond Yield และ Dollar Index พุ่งขึ้นแรง กดดันสกุลเอเชียและคาดทำให้กระแสเงินทุนยังไหลออกจาก Emerging Markets ต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยในประเทศวานนี้กนง.คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.25% ตามคาด และให้น้ำหนักกับการรักษา Policy Space ไว้ใช้ยามจำเป็นจากความไม่แน่นอนในปีหน้าที่สูงขึ้น ภาพรวมเราจึงยังมอง SET Index ยังอยู่ในช่วงพักตัวและหาฐานซึ่งอ่อนแอกว่าที่เคยประเมินก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม หากอ้างอิง EY Gap และระดับ PER ช่วงที่ SET ทำ Low กลางปี เราประเมิน Downside ของดัชนีที่ราว 1,370+- จุด ซึ่งสะท้อน Downside ที่เหลือไม่มาก และคาดหวังดัชนีจะทยอยฟื้นตัวได้ในระยะถัดไปจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยและกำไรบจ.ที่ทยอยฟื้นตัว
กลยุทธ์ : เน้น Domestic Play ที่มีแนวโน้มกำไร 4Q24-2025 แข็งแกร่ง // ส่วนที่สะสมในช่วงก่อนหน้ายังถือลงทุนระยะกลาง-ยาว
หุ้นเด่นเดือน ธ.ค. : AAV, BDMS, CPALL, MAGURO, RBF
FSSIA Portfolio: BA, CHG, CALL, KTB, MTC, NSL, RBF, SEAFCO, SHR, WHA
หุ้นเด่น Finansia 19 ธ.ค. 24 : KTB
- แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 23.50 บาท
- เราคาดว่า KTB จะได้รับประโยชน์จากรอบการลงทุนใหม่ในปีหน้าจากทั้งภาครัฐและเอกชนขณะเดียวกัน คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารมีความน่ากังวลน้อยกว่าธนาคารขนาดใหญ่อื่น ๆ โดยคาดว่าอัตราส่วน NPL จะลดลงอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับต้นทุนด้านสินเชื่อที่ปรับลดลง
- เราคงประมาณการสำหรับปี 2024-26 +3.2% CAGR ขณะที่ Valuation ยังค่อนข้างถูก เทรด P/BV อยู่ที่ 0.7 เท่า นอกจากนี้การคงดอกเบี้ยของกนง.และโมเมนตัมจาก FED ที่ลดดอกเบี้ยช้าลง คาดช่วยจำกัด Downside ของกลุ่มธนาคาร
- แนวรับ 20.80//20.50 บาท แนวต้าน 21.50//22 บาท
ประเด็นสำคัญวันนี้
(-) FED ปรับลงดอกเบี้ยตามคาด แต่ส่งสัญญาการปรับดอกเบี้ยปีหน้าลงเหลือ 2 ครั้ง ที่ประชุมเฟดมีมติปรับลดดอกเบี้ยอีก 25 bps สู่ระดับ 4.25-4.50% และตัวเลข Dot pot ส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยนโยบายปี 2025 เหลือเพียง 2 ครั้งหรือ 0.5% จาก 4 ครั้งหรือ 1% ขณะที่ตลาดคาดเดิมจะปรับลด 2-3 ครั้ง และล่าสุดปรับลดเหลือ 1-2 ครั้ง สำหรับปี 2025 กดดันสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐ รวมถึงตลาดหุ้นภูมิภาครวมถึงไทยที่คาดเห็นการปรับลงตาม ส่วนประชุมกนง.วานนี้คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% ตามคาด โดยต้องการเก็บ Policy Space ไว้สำหรับความไม่แน่นอนในปีหน้า
(+) กลุ่มค้าปลีก SSSG +0.9% ในช่วง 4QTD เพิ่มขึ้นจาก -1.5% ใน 3Q24 แสดงถึงการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 3Q24 โดยมีการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งกว่าในพื้นที่ต่างจังหวัดเมื่อเทียบกับกทม. เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อโอกาสการเติบโตของกำไรหลักในธุรกิจค้าปลีกในปี 2024 +16% y-y และปี 2025 +14% y-y จากการบริโภคภายในที่ได้ผลบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และท่องเที่ยวที่เติบโตต่อเนื่อง เรายังคงคำแนะนำ Overweight และหุ้นเด่นที่เราแนะนำคือ CPALL ราคาเป้าหมาย 83 บาท และ CRC ราคาเป้าหมาย 42 บาท
(-) CPAXT เรายังคงกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ‘Happitat’ เราปรับลดประมาณการกำไรหลักในปี 2025-26 ลง 2-4% ตามลำดับ เพื่อสะท้อนถึงค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และการขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดจากโครงการดังกลาว และปรับลดราคาเป้าหมายเป็น 34 บาท เพื่อสะท้อนการปรับตามปัจจัย ESG อย่างไรก็ตามเราคาดกำไรสุทธิปี 2024 และ 2025 เติบโต 19% y-y และ 21.6% y-y ตามลำดับ ประกอบกับราคา หุ้นได้ปรับลงกว่า 23% หลังประกาศดีลนี้ ทำให้มี upside เปิดกว้าง จึงยังแนะนำ “ซื้อ”
(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 1,123.03 จุด หรือ -2.58%, ปิดที่ 42,326.87 จุด หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ตามคาด แต่ส่งสัญญาณชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า โดยดาวโจนส์ปิดในแดนลบติดต่อกัน 10 วันทำการ ซึ่งเป็นสถิติการปิดลบที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2517
(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวก โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และหุ้นเรโนลต์ (Renault) บริษัทรถยนต์ของฝรั่งเศส แม้การปรับตัวขึ้นของตลาดเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากการซื้อขายเป็นไปอย่างระมัดระวังก่อนรู้ผลประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งประกาศหลังตลาด ยุโรปปิดทำการ
(-) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดลบตามทิศทางของตลาดสหรัฐฯ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ตามคาด แต่ส่งสัญญาณชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า
(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 34.55 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ 0.96%
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้น 50 เซนต์ หรือ 0.71% ปิดที่ 70.58ดอลลาร์/บาร์เรล หลังสหรัฐฯ เปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ราคาน้ำมันลดช่วงบวกหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า ในขณะที่เช้านี้ลดลงอยู่ที่ระดับ 70.11 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ -0.67%
(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 8.70 ดอลลาร์ หรือ 0.33% ปิดที่ 2,653.30 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันวันที่ 5 ขณะที่นักลงทุนรอผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) โดยตลาดทองคำนิวยอร์กปิดทำการซื้อขายก่อนที่คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติการประชุม ในขณะที่เช้านี้ลดลงอยู่ที่ระดับ 2,607.40 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ -1.73%
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 863.90/ -0.03%
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
19 ธ.ค. | อังกฤษ: ประชุม BoE ญี่ปุ่น: ประชุม BOJ สหรัฐ: 3Q24 GDP growth (final) |
20 ธ.ค. | สหรัฐ: Core PCE (พ.ย.) ญี่ปุ่น: เงินเฟ้อ (พ.ย.) อังกฤษ: ค้าปลีก (พ.ย.) |
23 ธ.ค. | สหรัฐ: New home sale (พ.ย.), ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน (พ.ย.) |
24 ธ.ค. | จีน: PBoC 1-year MLF Announcement |
26 ธ.ค. | ไทย: ส่งออก (พ.ย.) สหรัฐ: Initial Jobless claims (ธ.ค./21) |