สมาคมนักวิเคราะห์ คาดดอกเบี้ยลด EPS 68 โต 12% หนุน Set Index สิ้นปี 1556
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการ สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน เปิดเผยผลการสำรวจความเห็นสมาชิกนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนรวม 26 สำนัก เกี่ยวกับมุมมองการลงทุนไตรมาส 1 ปี 2568 ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้
สมมติฐานหลักที่นักวิเคราะห์ใช้
- ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยของปีนี้ 14 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
- สมมติฐาน GDP ปี 68 รายที่ต่ำสุดที่ 4% สูงสุดที่ 3.3% โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.93%
- Risk Free Rate ที่ใช้ในการประเมินมูลค่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 60%
- Risk Premium ของตลาดหุ้น เฉลี่ยอยู่ที่ 82%
สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อทิศทางการลงทุนจนถึงสิ้นปี 2568 แบ่งเป็น
- ปัจจัยบวก นำโดยทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ผู้ตอบแบบสำรวจ 92% เทคะแนนให้อย่างชัดเจน
ปัจจัยรองลงมา 73.08% คือ ผลประกอบการบจ.ปี68 ตามมาด้วยเศรษฐกิจภายในประเทศ ผู้ตอบ 69.23% และ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอเมริกา 57.69% ตามลำดับ
- ส่วนปัจจัยลบ คือ ปัจจัยด้าน Fund Flows จากต่างประเทศออกจากตลาดหุ้นไทย มีผู้ตอบ 07% ของ
ผู้ตอบทั้งหมด รองลงมาปัจจัยด้านการเมืองในประเทศ มีผู้ตอบ 69.23% ตามมาด้วยปัจจัยด้านการเมืองในต่างประเทศ มีผู้ตอบ 61.54% และการลดหรือยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของประเทศสำคัญทั่วโลก มีผู้โหวต 55.56% ตามลำดับ
- ปัจจัยที่น่าจับตามองเป็นพิเศษในไตรมาส 1 คือการเข้ารับตำแหน่งและนโยบายของ Trump ตามมาด้วย
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยและการลงทุนของภาครัฐ
- ส่วนคาดการณ์การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ในสิ้นปี 2568 นั้นมีความเห็นต่างกันพอสมควร
โดยผู้ตอบร้อยละ 54 คาดว่าจะอยู่ที่ 2% รองลงมาผู้ตอบร้อยละ 22 มองว่าปรับลดลงมาที่ 1.75% ถัดมาผู้ตอบร้อยละ 17 มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงที่ที่ 2.25% และร้อยละ 4 ที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจปรับลดไปอยู่ที่ 1.50%
- ด้านคาดการณ์กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ปี 2567 ของตลาดเฉลี่ยได้ที่ 61 บาท ปรับลดจากผลสำรวจครั้ง
ก่อน ซึ่งอยู่ที่ 89.91 บาท ต่อหุ้น และคาดว่า EPS Growth ของปี 2568 เฉลี่ยอยู่ที่ 12.22% ทั้งยังคาดการณ์กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ปี 2568 ของตลาดเฉลี่ยไว้ที่ 94.95 บาท
- ทางด้านคาดการณ์ทิศทางหุ้นไทย คาดว่ามีแนวโน้มไปในทิศทางบวก โดยจะปิดสิ้นไตรมาสแรกที่ 1449 จุด
และเมื่อมองตลอดปี จะแกว่งตัวในกรอบ 1322 ถึง 1581 จุด โดยไปปิดสิ้นปี 2568 ที่ 1556 จุด
นักวิเคราะห์แนะนำให้มีการกระจายพอร์ตการลงทุน แบ่งเป็น
o เงินสดและเงินฝากระยะสั้น 10.72%
o กองทุนตราสารหนี้ 22.00%
o หุ้นหรือกองทุนหุ้นต่างประเทศ 29.56%
o หุ้นไทยหรือกองทุนหุ้นไทย 22.52%
o กองทุนอสังหาฯหรือ REIT 6.90%
o ทองคำหรือกองทุนทองคำ 8.10%
o สินทรัพย์อื่นๆ เช่น Bitcoin 0.20%
โดยความเห็นการลงทุนต่างประเทศ แนะนำกองทุนหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะ AI-Technology และ Selective Asia เช่น จีนเกาหลี และเวียดนาม
สำหรับในการลงทุนหุ้นไทยนั้น แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุน ในหมวดธุรกิจค้าปลีก รับเหมาก่อสร้าง ภาคบริการ การท่องเที่ยว เทคโนโลยีและการสื่อสาร ในขณะที่ให้ลดน้ำหนักการลงทุนใน หมวดธุรกิจยานยนต์ พลังงานและปิโตรเคมี
รายชื่อหุ้นที่นักวิเคราะห์แนะนำตรงกันตั้งแต่ 4 สำนักขึ้นไป มีดังนี้ (เรียงชื่อตามอักษรย่อ)
- AOT มองว่าได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวฟื้น โดยเติบโตไปตามการท่องเที่ยวของประเทศ ซึ่งในปี 2567 ททท.คาดนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่ 36 ล้าน และปี 2568 ที่ 40 ล้านคน
- ADVANC มองว่าธุรกิจฟื้นตัว ต้นทุนต่ำลง มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ ปลอดภัยจากนโยบายของทรัมป์ และได้ประโยชน์จากกระแส Data center
- BDMS ได้อานิสงส์จากสังคมสูงวัยที่จะใหญ่ขึ้น คาดกลุ่มผู้ป่วยต่างชาติยังคงเติบโต
- CPALL ได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
สำหรับหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ หุ้นกลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี
ท้ายที่สุด นักวิเคราะห์ยังได้เพิ่มเติมการแนะนำไปยังรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายที่จะมีผลบวกต่อภาวะเศรษฐกิจ มีความคุ้มค่ากับงบประมาณ ได้แก่ เร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่หนุนศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ สนับสนุนอุตสาหกรรม New S-Curve ให้เกิดขึ้นในไทย นโยบายกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศ ในอุตสาหกรรมใหม่ๆ สนับสนุนการวิจัยและผลิตสินค้าเทคโนโลยี ส่งเสริมการท่องเที่ยว Entertainment complex รวมถึงลดภาษีนิติบุคคล และตามมาด้านการช่วยเหลือภาคประชาชน ได้แก่ ลดภาษีบุคคลธรรมดา สนับสนุนมาตรการแก้ปัญหาหนี้ และให้ความสำคัญด้านการศึกษา