บล.กสิกรไทย:
กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง : โครงการใหม่ๆ เข้าสู่กลุ่มบริการก่อสร้าง
มีอะไรเกิดขึ้นใหม่? เหตุการณ์สำคัญในกลุ่มบริการก่อสร้างในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้แก่
1) คณะกรรมการค่าจ้าง กระทรวงแรงงาน อนุมัติปรับค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้น 7-55 บาท หรือเฉลี่ย 2.9%
2) คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการมอเตอร์เวย์ M5 (รังสิต-บางปะอิน) และเตรียมเปิดประมูลในปี 2568 ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในรูปแบบ PPP Gross Cost มูลค่าโครงการรวม 7.8 หมื่นลบ. แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 3.1 หมื่นลบ. และมูลค่าปัจจุบันสุทธิของสัญญาเดินรถและบำรุงรักษา 30 ปี จำนวน 4.8 หมื่นลบ.
3) อัตราค่าผ่านทางยกระดับดอนเมืองถูกปรับขึ้น 5-10 บาท สูงสุดเที่ยวละ 170 บาท ตามสัญญาสัมปทานที่อนุญาตให้ปรับอัตราค่าผ่านทางได้ทุกๆ 5 ปี
การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เรามีมุมมองเชิงลบเล็กน้อยต่อแนวโน้มระยะสั้นที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับหุ้นกลุ่มบริการก่อสร้าง แม้เราจะคาดว่าจะเกิดผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อกำไรก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงสูงกว่าอัตราขั้นต่ำอยู่แล้ว และได้รวมการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่อาจเกิดขึ้นไว้ในการเสนอราคาโครงการแล้ว เราสังเกตว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกับอัตรากำไรขั้นต้นของผู้รับเหมา ในแง่ของราคาหุ้น หลังจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นมีแนวโน้มลดลงโดยเฉลี่ย 1.7% ภายใน 5 วันทำการ แต่ราคาหุ้นมักจะฟื้นตัวขึ้น 2.3% ภายใน 25 วันทำการ และ 0.8% ภายใน 75 วันทำการหลังจากการปรับค่าแรง
อนุมัติโครงการมอเตอร์เวย์ M5 เรามีมุมมองเชิงบวกต่อผู้รับเหมาก่อสร้าง เนื่องจากมีความคืบหน้าของโครงการเมกะโปรเจ็กต์ในปี 2568 นอกจากนี้ เราคาดว่าผู้ประกอบการขนส่งทางบก เช่น BTS (“ถือ” และราคาเป้าหมาย 4.67 บาท) BEM (“ซื้อ” และราคาเป้าหมาย 11.17 บาท) DMT (จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเราไม่ได้วิเคราะห์) จะร่วมมือกับผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อประมูลโครงการ M5 สำหรับสัญญา O&M ส่วนโครงการ M6 และ M81 ล่าสุด มี 3 กลุ่มเข้าร่วมประมูล ได้แก่
1) BGST (BTS-GULF-STECON-RATCH)
2) CCCC-UN (CCCC-UNIQ)
3) BEM นอกจากนี้ จากข้อมูลงาน SET Opportunity Day ของ DMT ทีมผู้บริหารยังมีแผนเข้าร่วมประมูลโครงการนี้อีกด้วย
แนวโน้ม โครงการภาครัฐภายใต้งบประมาณปี 2568 คาดว่าจะเปิดประมูลมูลค่ารวม 4.7 แสนลบ. สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นต่อกลุ่มบริการก่อสร้างที่ฟื้นตัวจากโครงการเมกะโปรเจกต์ที่เปิดให้ประมูลน้อยตั้งแต่เกิดโควิด-19 เป็นต้นมา ในแง่ของกำไร เราคาดว่ากำไรปี 2568 ของ CK และ SEAFCO จะเติบโต YoY หนุนโดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และรายได้เร่งตัวขึ้นจากโครงการเมกะโปรเจกต์อื่นๆ นอกจากนี้ กำไรปี 2568 ของ STECON คาดว่าจะฟื้นตัวจากปี 2567 ที่อ่อนแอตาม backlog ไตรมาส 4/2567 มูลค่า 4.1 หมื่นลบ. และคาดว่า BTS จะมีผลขาดทุนน้อยลงจากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นของรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพูและสีเหลือง
หุ้นเด่น
- CK “ซื้อ” ราคาเป้าหมายที่ 27.30 บาท
- SEAFCO “ซื้อ” ราคาเป้าหมายที่ 2.85 บาท