บล.กสิกรไทย:
กลุ่มแบงก์ การเพิ่มงบด้าน Cybersecurity กำลังกลายเป็นแนวโน้มทั่วโลก และความเป็นท้าทายใหม่ของธนาคารไทยปี 68
- การเพิ่มงบประมาณด้าน cybersecurity กำลังกลายเป็นแนวโน้มทั่วโลก เราเชื่อว่างบประมาณด้าน cybersecurity ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มธนาคารกำลังกลายเป็นแนวโน้มทั่วโลก กรอบความรับผิดชอบร่วม (SRF) ของประเทศสิงคโปร์มีเป้าหมายเพื่อจัดการกับการหลอกลวงทางฟีชชิ่ง โดยเรียกร้องให้สถาบันการเงินและกลุ่มโทรคมนาคมต้องร่วมรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ กรอบความรับผิดชอบร่วมกำหนดมาตรการต่าง ๆ เช่น cooling-off periods เป็นเวลา 12 ชั่วโมง, การแจ้งเตือนการทุจริตแบบเรียลไทม์และการกรองข้อความ SMS อย่างเข้มงวด มีการประเมินความรับผิดชอบตามลำดับขั้น เริ่มต้นจากสถาบันการเงิน ตามมาด้วยกลุ่มโทรคมนาคมและผู้บริโภค หากทั้ง 2 ฝ่ายปฎิบัติตามหน้าที่ นอกจากนี้ กลุ่มธนาคารในสหรัฐฯ ยังให้ความสำคัญกับเรื่อง cybersecurity เป็นอันดับต้น ๆ ในปี 2568 โดยตั้งเป้ารับมือกับภัยคุกคามที่มากขึ้น โดย 43% ระบุว่าเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญสูงสุด
- คาดกลุ่มธนาคารไทยจะดำเนินตามแนวโน้มดังกล่าว เราคาดว่ากลุ่มธนาคารไทยจะต้องเพิ่มการลงทุนด้าน cybersecurity ในปี 2568 หนุนจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ การโจมตีด้านไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น, การเปลี่ยนแปลงของกฎระเบีบบภายใต้ SRF และค่าใช้จ่ายด้าน IT ที่สูงขึ้น การโจมตีด้านไซเบอร์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 61 เหตุการณ์ ในปี 2564 มาอยู่ที่ 2,135 เหตุการณ์ ในปี 2567 SRF ที่ได้รับต้นแบบจากสิงคโปร์จึงกำหนดให้กลุ่มธนาคารและโทรคมนาคมต้องร่วมรับผิดชอบต่อการหลอกลวงออนไลน์ซึ่งทำให้ธนาคารไทยต้องอัปเกรดระบบตรวจจับการทุจริตโดยร่วมมือกับบริษัทโทรคมนาคมและเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัย ปัจจุบัน ธุรกิจในประเทศไทยใช้จ่ายเงินแค่ 0.2% ของรายได้ ในด้านความปลอดภัยด้าน IT น้อยกว่าของประเทศพัฒนาแล้วที่อยู่ที่ 0.7% แม้ความถี่ของการโจมตีมากกว่าก็ตาม
- ความท้าทายมากขึ้นในการลดสัดส่วนต้นทุนต่อรายได้ เราคาดว่าการใช้จ่ายเงินด้าน IT ในกลุ่มธนาคารของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2568 จากการลงทุนด้าน cybersecurity และข้อกำหนดด้านกฎระเบียบซึ่งจะเพิ่มความท้าทายในการลดสัดส่วนต้นทุนต่อรายได้ เราคาดว่าสัดส่วนต้นทุนต่อรายได้จะเพิ่มขึ้นจาก 45% ในปี 2567 มาอยู่ที่ 46% ในปี 2568-69 และคาดกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก เช่น TISCO, KKP และ TTB จะประสบกับความท้าทายมากกว่าจากการประหยัดต่อขนาดที่มีน้อยกว่า ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นคาดจะมาจากการอัปเกรดเทคโนโลยี (ระบบตรวจจับการหลอกลวง, การแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์), ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และการติดตามเรื่องการปฎิบัติตามกฎระเบียบ ค่าใช้จ่ายด้าน IT เพิ่มขึ้นจาก 6.7 พันลบ. ในไตรมาส 1/2563 มาอยู่ที่ 1.51 หมื่นลบ. ในไตรมาส 3/2567 และคิดเป็นสัดส่วนที่ 15% ของ Opex และ 5% ของรายได้รวม
- เราคงมุมมองลบต่อกลุ่มธนาคารจากรายได้ดอกเบี้ยที่คาดเติบโตขึ้นเล็กน้อยในปี 2568 จากสินเชื่อที่เติบโตช้าลง NIM ที่ลดลงจากการลดดอกเบี้ยนโยบาย และปัจจัยเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่ยังคงอยู่แม้ออกมาตรการบรรเทาหนี้ใหม่ การใช้จ่ายเงินด้าน IT ที่สูงขึ้นสำหรับเรื่อง cybersecurity อาจกดดันกำไรแม้คาดผลกระทบจะจำกัดก็ตาม
- หุ้นเด่น KTB ซื้อ : TP 23.00 บาท