บล.กสิกรไทย:
KS Asset Allocation : ทรัมป์ 2.0 “ศิลปะการเจรจาต่อรอง”
อัปเดตเศรษฐกิจมหภาคทั่วโลก
- IMF คาดว่า GDP ทั่วโลกจะยังทรงตัวเป็นส่วนใหญ่ โดยลดลงจาก 3.3% ในปี 2566 มาอยู่ที่ 3.2% ในปี 2567-2568 คาด GDP ของสหรัฐฯ ในปี 2567 จะเติบโตขึ้นเป็น 2.8% จาการบริโภคและการลงทุนที่แข็งแกร่งขึ้น แต่คาดจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 2.2% ในปี 2568 ดีขึ้นจากคาดการณ์เดิมจากมาตรการทางการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นและตลาดแรงงานที่ลดความร้อนแรงลงซึ่งกระทบกับการบริโภค
- ธนาคารกลางชั้นนำหลายแห่งได้เริ่มรอบการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดย Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวม 100 bps พร้อมส่งสัญญาณผ่าน dot plot ว่าอาจมีการปรับลดอีก 2 ครั้งในปี 2025 จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่แข็งแกร่ง ธนาคารกลางแคนาดาปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวม 175 bps ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลด 100 bps ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ปรับลด 50 bps และธนาคารกลางไทย (BOT) ปรับลด 25 bps ในปี 2024 ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในปี 2025 ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
- ตลาดหุ้นมักเคลื่อนไหวล่วงหน้าก่อนวัฎจักรเศรษฐกิจโดยตอบสนองต่อความคาดหวังในอนาคต กลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะได้รับประโยชน์ในแต่ละช่วงเวลา – ช่วงต่ำสุด, ช่วงตลาดขาขึ้น, ช่วงสูงสุด และช่วงตลาดขาลง เช่น เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยและตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนต.ค.2565 โดยปรับเพิ่มขึ้นราว 70% เนื่องจากเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดแล้ว การเติบโตเช่นนี้มีปัจจัยหนุนจาก S-curve ใหม่ เช่น generative AI, คลาวด์และเซมิคอนดักเตอร์
นโยบายทรัมป์ 2.0
- นโยบายทรัมป์ 2.0 เสนอการเก็บภาษีศุลการกรระดับสูง รวมถึงของจีนที่ 60%, ประเทศอื่น ๆ ที่ 10% และแผนการหลังการเลือกตั้งที่จะเก็บภาษีจากจีนที่ 10%, แคนาดาและเม็กซิโกที่ 25% และอาจถึง 100% สำหรับประเทศในกลุ่ม BRICS หากดำเนินการสร้างสกุลเงินใหม่ ตามกลยุทธ์ ศิลปะการเจรจาต่อรอง ของทรัมป์ ภาษีศุลกาการเหล่านี้อาจทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการเจรจาซึ่งอาจเปลี่ยนจาก “สงครามการค้า” ไปเป็น “ข้อตกลงการค้า” ข้อตกลงการค้าที่ประสบความสำเร็จอาจเป็นตัวเปลี่ยนเกมได้ คล้ายกับข้อตกลงเฟสหนึ่งในปี 2563 ที่ช่วยลดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนหลังจากการขึ้นภาษีในปี 2561 อย่างไรก็ดี การเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูงเกินไปมีความเสี่ยงที่จะทำให้ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นและส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เกิดการขาดแคลนทรัพยากรสำคัญอย่างกัลเลียมและเจอเมเนียมที่จีนห้ามส่งออกและอาจกระตุ้นให้เกิดการตอบโต้ด้วยภาศีศุลกากรซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของสหรัฐฯ
Monthly mutual fund recommendations
- K-APB-A: พันธบัตรเอเชียได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อในเอเชียที่อยู่ระดับต่ำรวมญี่ปุ่น เนื่องจากธนาคารของแต่ละประเทศในภูมิภาค เช่น อินเดีย, จีน, อินโดนีเซียและไทยต่างเปิดโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ขณะเดียวกัน พันธบัตรเอเชียมีอัตราตอบแทนที่สูงกว่าของสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มความต้องการของตลาดในการมองหาอัตราตอบแทน
- K-GSELECT: กองทุนตลาดหุ้นทั่วโลกที่มุ่งเน้นไปยังตลาดประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่ง โดย S&P เติบโตขึ้นราว 12.5% กองทุนหลักใช้กลยุทธ์การเลือกหุ้นที่มีความมั่นใจสูง โดยถือหุ้นอยู่ราว 78 ตัวและเบี่ยงเบนประมาณ 15% จาก MSCI DM Index เพื่อสร้างอัลฟ่าสำหรับพอร์ตโฟลิโอ
- K-JP-A(D): การขึ้นค่าแรงในญี่ปุ่นช่วยต่อสู้กับภาวะเงินฝืดและส่งเสริมการเติบโตซึ่งสนับสนุนการปรับขึ้นของ EPS ของ Topix และเนื่องจาก P/E ของ Topix อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบทศวรรษเมื่อเทียบกับ S&P 500 จึงเป็นการจับคู่ซื้อขายกับสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง กองทุนสามารถทำผลตอบแทนได้ดีกว่าของคู่แข่งโดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มการเงิน, อุตสาหกรรมและสินค้าฟุ่มเฟือยซึ่งได้ประโยชน์จากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นและโอกาสที่ BOJ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- PRINCIPAL VNEQ: เวียดนามตั้งเป้าที่จะยกระดับสถานะเป็นตลาดเกิดใหม่ภายในเดือนก.ย.2568 โดย FTSE Russell กระตุ้นให้มีการปฎิรูปอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายและคาดจะเห็นกระแสเงินไหลเข้าที่ 6 พันล้านดอลลาร์ฯ ดัชนี VN-Index อยู่ที่ค่าเฉลี่ย 200 วัน ซึ่งเปิดโอกาสให้สะสมและกองทุนมีประวัติผลการดำเนินงานที่ดีโดยอยู่ในควอตไทล์ที่สูงสุด
- KKP GINFRAEQ-H: กองทุนโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกได้ประโยชน์จากวัฎจักรลดดอกเบี้ยและการมองหาอัตราตอบแทนของตลาด กองทุนหลักสร้างรายได้ที่เสถียรและให้อัตราตอบแทนที่ราว 4.4%