บล.กสิกรไทย:
Power and Utilities Sector : เตรียมทบทวนค่า Adder และ FiT
- กกพ. เรียกร้องให้ทบทวนค่า Adder และ FiT สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เสนอให้ลดค่าไฟฟ้าลงโดยทบทวนค่าใช้จ่ายด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับระบบ Adder และ Feed-in Tariff (FiT) ในการแถลงข่าวของ กกพ. การปรับครั้งนี้จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าลดลงได้ทันทีที่ 0.17 บาท/kWh ซึ่งทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงมาอยู่ที่ 3.98 บาท/kWh จากระดับปัจจุบันที่ 4.15 บาท/kWh
- สัดส่วนของค่าไฟฟ้าระดับปัจจุบันที่ 4.15 บาท/kWh สำหรับค่าไฟฟ้ารอบปัจจุบัน (เดือนม.ค.-เม.ย.2568) ที่ 4.15 บาท/kWh แบ่งเป็นจากค่าใช้จ่ายของระบบ Adder และ FiT (1.1 หมื่นลบ.) ที่ 0.17 บาท/kWh, จากการชำระคืนภาระคงค้างให้กับไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ 0.20 บาท/kWh และที่เหลืออีก 3.78 บาท/kWh มาจากต้นทุนเชื้อเพลิง, สายส่งไฟฟ้าและระบบจัดจำหน่าย
- คาดประสบความท้าทายในการใช้วิธีนี้ เรามองว่าการทบทวนค่า Adder และ FiT มีความท้าทาย หากจะต้องเริ่มใช้ในเร็วๆนี้ โดยผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีสัญญา PPA ฉบับปัจจุบันภายใต้ระบบ Adder และ FiT ใช้อัตราค่าไฟฟ้าที่เคยถูกกำหนดไว้สำหรับการคำนวณความเป็นไปได้ของโครงการและผลตอบแทน การปรับค่าไฟฟ้าโดยไม่มีค่าชดเชยที่เหมาะสมอาจส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของโครงการเป็นอย่างมากและอาจนำไปสู่ข้อพิพาททางกฎหมายได้ ทางเลือกที่เป็นไปได้ในระยะสั้นคือการเลื่อนการชำระคืนหนี้สินของ กฟผ. ออกไปก่อน (0.20 บาท/kWh สำหรับรอบค่าไฟฟ้าปัจจุบัน) ซึ่งเป็นวิธีเดิมที่เคยนำมาใช้เพื่อลดค่าไฟฟ้า
- ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ผลิตไฟฟ้า หากมีการหักค่า Adder ออกไปทั้งหมด ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ยังได้ประโยขน์จากค่า Adder อาจมี downside ต่อกำไรในปี 2568 โดยคาดผลกระทบจะอยู่ที่ -162% สำหรับ EA, -29% สำหรับ GUNKUL, -2% สำหรับ BCPG และ -2% สำหรับ GULF นอกจากนี้หากมีการปรับค่าไฟฟ้าลดลงโดยไม่ได้ช่วยเหลือด้านราคาต้นทุนก๊าซ อาจกดดันอัตรากำไรของโรงไฟฟ้า SPP ในส่วนของลูกค้าอุตสาหกรรม โดยคาดกำไรในปี 2568 ของ BGRIM, GPSC และ GULF จะมีความเสี่ยงขาลงที่ -21%, -20% และ -2% ตามลำดับ อิงจากการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของเรา
- ลดคำแนะนำเป็นกลาง กลุ่มโรงไฟฟ้าเผชิญปัจจัยเสี่ยงด้านกฎระเบียบและนโยบายจากแรงกดดันในการลดค่าไฟฟ้า หุ้นที่มีสัดส่วนโรงไฟฟ้า SPP และพลังงานหมุนเวียนในไทย ในระดับสูงคาดจะยังเผชิญแรงกดดันในระยะสั้นระหว่างการรอความชัดเจนเรื่องการลดค่าไฟฟ้าไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 3.70 บาท/kWh