ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บมจ.เพียร์ ฟอร์ ยู (PEER) ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567
โดยปรากฏผลขาดทุน 164 ล้านบาท จากการบันทึกด้อยค่าค่าความนิยม 280 ล้านบาทในธุรกิจที่ลงทุนในปี 2567 (39% ของมูลค่าลงทุน) นอกจากนี้ผู้สอบบัญชียังมีข้อสังเกตกรณีบริษัทยังไม่ได้รับเงินมัดจำคืนจากการยกเลิกการลงทุน 30 ล้านบาท และบันทึกด้อยค่าลูกหนี้จากการขายเงินลงทุน 120 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2566 ปัจจุบันยังไม่สามารถติดตามหนี้ได้ กรณีข้างต้นอาจกระทบต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการประกอบธุรกิจของบริษัท
โดยขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 16 เมษายน 2568 ในส่วนความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 22 เมษายน 2568 นอกจากนี้ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินและติดตามคำชี้แจงของบริษัท
โครงสร้างการถือหุ้นและการทำรายการของกลุ่มบริษัท
สรุปเหตุการณ์และข้อมูลสำคัญในงบการเงินประจำปี 2567
- ปี 2567 บริษัทมีการซื้อเงินลงทุนใน บจก. เพียร์ ฟอร์ ออล (PFA) บจก. แฮปปี้ โปรดักส์ แอนด์ เซอร์วิส (HPS) และบจก. พรอสเพอร์พลัส จำกัด (PPP)1 มูลค่า 725 ล้านบาท ต่อมามีการบันทึกด้อยค่าความนิยมรวม 280 ล้านบาท ของ PFA และ HPS สำหรับ PPP ไม่สามารถประกอบธุรกิจภายใต้ใบอนุญาตที่มีอยู่เดิมได้
รายละเอียดของแต่ละบริษัทดังนี้
- บริษัทได้โอนส่วนงาน Call Center บางส่วนให้แก่บจก.วันทูวัน โปรเฟสชั่นแนล (OTP) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการปรับโครงสร้างธุรกิจเป็น Holding Company ต่อมาเดือนสิงหาคม 2567 PEER ขายเงินลงทุนใน OTP และเปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทร่วม (30%) ทั้งนี้ ภายหลังจำหน่ายหุ้น OTP แล้ว PEER ยังมีสถานะเป็น Operating Company เนื่องจากยังบริหารจัดการสัญญากับลูกค้าซึ่งจะทยอยหมดอายุภายในปี 2569
- นอกจากนี้ บริษัทยังมีธุรกรรมอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้ รวม 190 ล้านบาท สรุปดังนี้
(1) เงินมัดจำการเข้าศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่เวียดนามของ EP (15% ของราคาซื้อ) 30 ลบ.3
(2) การบันทึกด้อยค่าลูกหนี้จากการขายเงินลงทุนทั้งหมดใน บจก.ฟิจิตอล สเปซ ดีเวลลอปเม้นท์ (PSD) ตั้งแต่ปี 2566 120 ลบ.
(3) เงินให้กู้ยืมแก่ XBIO (ตั้งด้อยค่าแล้วในปี 2566) 40 ลบ.4
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ PEER ชี้แจงข้อมูลดังนี้
1. ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อบ่งชี้การด้อยค่าค่าความนิยมของ PFA และ HPS ในระยะเวลาอันสั้น ปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณาลงทุนและความแตกต่างของผลประกอบการภายหลังเข้าลงทุนพร้อมเหตุผล รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจด้อยค่า เงินลงทุนและค่าความนิยมเพิ่มเติมในอนาคต
2. สาเหตุที่ PPP ไม่สามารถประกอบธุรกิจภายใต้ใบอนุญาตที่มีอยู่เดิมได้ กรณีดังกล่าวฝ่ายจัดการได้ทราบและเป็นหนึ่งในข้อมูลความเสี่ยงที่คณะกรรมการบริษัทได้ใช้เพื่อพิจารณาเข้าลงทุนหรือไม่ อย่างไร เงื่อนไข/ข้อตกลงสำคัญในการเข้าลงทุน รวมทั้งการชดเชยค่าเสียหายจากการไม่สามารถประกอบธุรกิจได้และความคืบหน้าเรื่องดังกล่าว ปัจจุบัน PPP มีการประกอบธุรกิจหรือไม่ อย่างไร
3. สรุปการดำเนินการที่ผ่านมาและความคืบหน้าการติดตามหนี้ (190 ล้านบาท) แนวทางดำเนินการเพื่อให้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดคืน รวมทั้งบริษัทตั้งด้อยค่าเงินมัดจำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่เวียดนามแล้วหรือไม่ มาตรการกำกับดูแลความเสี่ยงหรือบังคับขายหลักประกันกรณีอาจจะไม่ได้รับชำระหนี้ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ขอให้บริษัทเปิดเผยความคืบหน้าการได้รับชำระหนี้พร้อมกับการนำส่งงบการเงินทุกไตรมาสหรือ เมื่อมีความคืบหน้าในการดำเนินการใดๆ ที่สำคัญจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
4. นโยบายการประกอบธุรกิจในอนาคตของบริษัทภายหลังจากการจำหน่ายธุรกิจให้บริการศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าสัมพันธ์ ความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างเป็น Holding Company บริษัทได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องแล้วหรือไม่ อย่างไร ปัจจุบันบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักคือบริษัทใด ทั้งนี้ หากอยู่ระหว่างดำเนินการ ขอให้รายงานความคืบหน้าพร้อมกับการนำส่งงบการเงินทุกไตรมาสหรือเมื่อมีความคืบหน้าในการดำเนินการใดๆ ที่สำคัญจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ
5. ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับ
(1) ความเหมาะสมและเพียงพอของการตั้งด้อยค่าต่างๆ รวมทั้งความเหมาะสมของแนวทางการติดตามลูกหนี้
(2) มาตรการกำกับดูแลความเสี่ยงจากการให้เงินกู้ยืม การลงทุนในธุรกิจต่างๆ การลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานแต่ละปี ทำให้มีขาดทุนสุทธิอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงหากมีการลงทุนหรือทำธุรกรรมใดๆ ในอนาคตด้วย
———————————————————————-
1 เดิมชื่อบริษัท หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฐานเศรษฐกิจ แคปพิตอล จำกัด (TCAP)
2 ผู้ขาย 3 ราย ได้แก่ LAZ Investments Ltd. 50% น.ส.ดวงกมล เกียรติสุขเกษม 40% และน.ส.อภิรวี พิชญเดชะ 10%
3 ปี 2566 PEER วางเงินมัดจำ 100 ล้านบาท ต่อมาผู้ขายทยอยคืนเงินมัดจำ โดย ณ 31 ธ.ค. 67 มียอดคงเหลือ 30 ล้านบาท
4 ปี 2566 PEER ให้เงินกู้ยืมแก่บมจ.เอ็กซ์ ไบโอไซเอนซ์ (XBIO) 100 ล้านบาท โดย ณ 31 ธ.ค. 67 มียอดคงเหลือ 40 ล้านบาท