Daily Focus: ฟื้นตัวชดเชยช่วงวันหยุด

2025 SET Target: 1180

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ชะลอตัวระยะสั้นตามคาด หลังจากปรับขึ้นแรงวันก่อนหน้า รวมถึงเข้าช่วงหยุดสงกรานต์ ดัชนีปิดลบ 5.29 จุด ที่ระดับ 1,128.66 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่บางลงเหลือ 3.5 หมื่นลบ. สถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติพลิกมาขายสุทธิในตลาดหุ้น 653 ลบ. 1.1 พันลบ. ตามลำดับ (ต่างชาติ Short Index Futures บางๆ 1.2 พันสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่งฟื้นตัวในแดนบวกเข้าหาระดับ 1,135-1,145 จุด ตามตลาดหุ้นต่างประเทศที่ยังปรับตัวขึ้นช่วงวันหยุดสงกรานต์ของไทย อย่างไรก็ตามยังประเมิน Upside ไม่กว้างนัก โดยช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาสหรัฐฯมีการยกเว้นภาษีให้กับสินค้าในกลุ่มสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามล่าสุดสหรัฐฯออกมาระบุว่ามาตรการดังกล่าวจะเป็นเพียงชั่วคราว ทำให้บรรยากาศการลงทุนเช้านี้เริ่มทรงตัวถึงลบอ่อนๆ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามตัวเลข GDP 1Q25 จีนเช้านี้ (ตลาดคาด +5.1% y-y) หากออกมาต่ำกว่าคาดจะเป็นแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงและ Commodity ขณะที่การตอบโต้ทางภาษีการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ปัจจุบันยังไม่มีพัฒนาการเรื่องการเจรจาเพื่อลดความตึงเครียด ด้านปัจจัยในประเทศ สัปดาห์นี้โฟกัสจะอยู่ที่การเริ่มประกาศกำไร 1Q25 ของกลุ่มธนาคาร หากไม่แย่กว่าคาด เรามองว่าจะช่วยลดความกังวลต่อแนวโน้มกำไรของฝั่งฝั่ง Real Sector ได้บ้าง อย่างไรก็ตามประมาณการ EPS ของ SET เริ่มทยอยถูกปรับลงตามคาดตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่โต ต่ำกว่าที่ประเมิน รวมถึงผลกระทบจากภาษีการค้าสหรัฐฯ กลุ่ม Defensive และ Consumer Staple คาดยังปรับตัวได้แข็งแกร่งกว่าตลาด

กลยุทธ์ : ยังเน้น Selective Buy หุ้น Domestic ที่มีแนวโน้มกำไร 1Q25-2025 แข็งแกร่งและกระทบจำกัดต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัว

หุ้นเด่นเดือน เม.ย. : BA, BBL, CPF, HMPRO, OSP

FSSIA Portfolio: BA, BBL, BTG, CPALL, MTC, NSL, PR9, SEAFCO, SHR

หุ้นเด่น Finansia 16 เม.ย. 25 : CPF

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 30 บาท 
  • คาดกำไรสุทธิ 1Q25 ที่ 6.5 พันลบ. +57% q-q, +6% y-y ดีกว่าที่เคยคาดก่อนหน้านี้ แนวโน้มกำไร 2Q25 ยังดูดีต่อ เพราะราคาเนื้อสัตว์ไทยและเวียดนามทรงตัวสูงต่อเนื่อง หักล้างหมูจีนที่อ่อนลงได้หมด 
  • ล่าสุดมีปัจจัยบวกหลังรัฐบาลมีมติไม่นำเข้าเนื้อหมูและเครื่องในจากสหรัฐฯ แต่จะนำเข้าข้าวโพดและกากถั่วเหลือง เป็นบวกต่อต้นทุนการเลี้ยงต่อกลุ่มเนื้อสัตว์ เราคาดกำไรปี 2025 เป็น 2.2 หมื่นลบ. +12% y-y 
  • แนวรับ 24.50//24 บาท แนวต้าน 25.50-26//27 บาท 

Fund Flow : ช่วง 3 วันที่ผ่านมากระแสเงินทุนต่างชาติผสมผสานไหลเข้าศุกร์แต่ไหลออกในวันจันทร์-อังคาร สุทธิแล้วเม็ดเงินไหลออก US$686 ล้าน เม็ดเงินไหลออกจากเกาหลีใต้ US$787 ล้าน แต่ไหลเข้าไต้หวัน US$383 ล้าน ส่วนอาเซียนเม็ดเงินไหลออกสูงสุดที่อินโดนีเซีย US$298 ล้าน และไหลเข้าเวียดนามสูงสุด US$42 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดทรงตัวรอติดตามตัวเลข GDP 1Q25 จีนเช้านี้ และ Comment จากประธาน FED คืนนี้

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) กลุ่มหมู มีข่าวว่าสมาคมผู้เลี้ยงหมูพอใจ หลังรัฐบาลมีมติไม่นำเข้าเนื้อหมู-เครื่องในจาก US หลังจากสมาคมปศุสัตว์-เอกชน ได้ให้ข้อมูลและยื่นหนังสือกับภาครัฐเพื่อประกอบการพิจารณาแนวทางเจรจาทางการค้ากับ US ล่าสุดมีข่าวจากทางฝั่งสมาคนผู้เลี้ยงหมูส่งสัญญาณคลายความกังวล และขอบคุณรัฐบาลที่มีมดิไม่นำชิ้นส่วนเนื้อหมูและเครื่องในไปอยู่ในรายการสินค้าที่ใช้ต่อรองกับ US แต่จะนำเข้าข้าวโพดและกากถั่วเหลือง หากท้ายที่สุดข่าวดังกล่าวนี้เป็นจริง และมีมติเป็นทางการจากภาครัฐอย่างชัดเจนจะเป็นบวกต่อผู้เลี้ยงสัตว์ เพราะต้นทุนวัตถุดิบจะถูกลง ขณะที่คลายความกังวลจากข่าวลบกรณีนำเข้าเนื้อมูลจาก US จะหมดไป

(+) EPG เราคาดจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ 25% ของทรัมป์เมื่อ 3 เม.ย. และ Reciprocal tariff ที่เลื่อนบังคับใช้ออกไป 90 วัน ขณะที่การจัดเก็บภาษีขั้นต่ำ 10% ได้มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งเราคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อ demand ที่จะอ่อนแอในธุรกิจ Aeroklas automotive ที่คิดเป็น 52% ของรายได้รวม ขณะที่ธุรกิจ Aeroflex และธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติกจะไม่ได้รับผลกระทบ เราปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2025-27 ลง 9%/22%/18% ทำให้คาดว่ากำไรปกติปี 2025 -16.2% y-y และปี 2026-3.8% ก่อนที่จะฟื้นตัวในปี 2027 เพื่อสะท้อนคาดการณ์รายได้จาก Aeroklas automotive และอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลง ได้ราคาเป้าหมายใหม่ 4 บาท ด้วยฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ราคาหุ้นปัจจุบันเทรดที่ -2SD และต่ำกว่ามูลค่าบัญชี 47% เราคงคำแนะนำ “ซื้อ”

(-) CBG แนวโน้มกำไร 1Q25 อาจต่ำกว่าที่เคยคาดราว 6% เป็น 785 ลบ. ซึ่งจะกลายเป็นกำไรทรงตัว q-q แต่ยังคาดโต 25% y-y เพราะฐานต่ำปีก่อน สาเหตุหลักคาดมาจากการทำโปรกระตุ้นรายได้ช้ากว่าแผน และคาดอัตราภาษีปรับเพิ่มขึ้น กอปรกับคาดรายได้กัมพูชาจะกลับมาฟื้นใน 2Q25 รวมถึงต้นทุนทั้งน้ำตาลและบรรจุภัณฑ์ที่ลดลง อย่างไรก็ตามหากแนวโน้ม 2Q25 ยังโตได้ต่ำกว่าคาด จะทำให้ประมาณการกำไรปี 2025 ของเราดูมี downside มากขึ้น เราคงประมาณการกำไรปี 2025 ที่ 3.2 พันลบ. +12.5% y-y และราคาเป้าหมาย 88 บาท สถานการณ์โดยรวมของเครื่องดื่มชูกำลังมีความผันผวนมากขึ้น เราแนะนำเป็น “เก็งกำไร” พร้อมจับตาส่วนแบ่งการตลาดเดือน มี.ค. ซึ่งคาดจะประกาศ 18-22 เม.ย.นี้

(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 155.83 จุด หรือ -0.38%, ปิดที่ 40,368.96 จุด ปิดลบในวันอังคาร (15 เม.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ รวมทั้งการร่วงลงของหุ้นกลุ่มสินค้าบริโภคและกลุ่มเฮลธ์แคร์

(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวกในวันอังคาร (15 เม.ย.) หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ของสหรัฐฯ ระบุว่า เขากำลังพิจารณาปรับลดภาษี 25% ที่เรียกเก็บกับการนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์จากเม็กซิโก แคนาดา และประเทศอื่น ๆ ซึ่งส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มรถยนต์และชิ้นส่วนพุ่งขึ้น 2.3% แต่หุ้นแอลวีเอ็มเอช (LVMH) ในกลุ่มสินค้าหรูหราร่วงลงอย่างหนัก หลังเปิดเผยยอดขายไตรมาสแรกต่ำกว่าคาด เนื่องจากความอ่อนแอของยอดขายในสหรัฐฯ และจีน

(-) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดลบ รอการรายงานตัวเลข GDP ของประเทศจีน

(+) ค่าเงินบาท แข็งค่าอยู่ที่บริเวณ 33.58 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หรือ -0.23%

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 20 เซนต์ หรือ 0.33% ปิดที่ 61.33 ดอลลาร์/บาร์เรล ปิดลบในวันอังคาร (15 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของมาตรการภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ขณะเดียวกันนักลงทุนพยายามประเมินผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่จะมีต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน ในขณะที่เช้านี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 61.35 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ 0.03%

(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 14.10 ดอลลาร์ หรือ 0.44% ปิดที่ 3,240.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ปิดบวกในวันอังคาร (15 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ในขณะที่เช้านี้เพิ่ม ขึ้นอยู่ที่ระดับ 3,259.60 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ 0.59%

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 953.15/ 0.36%

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

16 เม.ย.จีน: GDP 1Q25, ยอดค้าปลีก (มี.ค.)

สหรัฐฯ: ยอดค้าปลีก (มี.ค.)

17 เม.ย.ยูโรโซน: ประชุม ECB // ญี่ปุ่น: ส่งออก (มี.ค.)

สหรัฐฯ: Housing Start (มี.ค.)

18 เม.ย.ญี่ปุ่น: เงินเฟ้อ (มี.ค.)
20 เม.ย.จีน: Loan Prime Rate
22 เม.ย.IMF/World Economic Outlook
- Advertisement -