ปัจจัยต่างประเทศ: ดัชนี Fear and Greed Index ที่แสดงถึงความกล้าความกลัวของนักลงทุนล่าสุดขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 70 จุด ซึ่งเป็นโซนที่นักลงทุนกลับมากล้าลงทุนมากขึ้น หลังจากดัชนีนี้อยู่ที่ระดับ 33 จุด ซึ่งบ่งบอกถึงนักลงทุนกลัวต่อการลงทุนในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ปัจจัยหนุน sentiment บวกสำคัญมาจากการรายงานผลประกอบการที่โดยรวมยังคงดีกว่าคาดต่อเนื่อง โดยกลุ่มหุ้น FAAMG รายงานออกมาแล้ว 3 ตัวทั้ง Facebook, Microsoft และ Alphabet ต่างรายงานกำไรออกมาดีกว่าคาด ขณะที่หลังจากบริษัท Hertz ผู้ให้บริการเช่ารถยนต์ยักษ์ใหญ่ประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่าได้สั่งซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla จำนวน 100,000 คัน ซึ่งถือเป็นคำสั่งซื้อรถยนต์ไฟฟ้าครั้งใหญ่ที่สุด ส่งผลให้ Tesla มีมูลค่าตลาดแตะ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรกและมีมูลค่าตลาดเป็นอันดับ 5 ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ เป็นรองเพียง Apple (2.46T), Microsoft (2.31T), Alphabet (1.84T) และ Amazon (1.68T) ทั้งนี้ ผลกำไรของ Tesla แข็งแกร่งขึ้นและมียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดโรงงานแห่งใหม่ในประเทศจีนเมื่อปลายปี 2019 และกำลังจะมียอดขายทะลุ 1 ล้านคันในปีนี้

ปัจจัยภายในประเทศ: รายงานตัวเลขนำเข้า-ส่งออกของไทยเดือน ก.ย.64 แข็งแกร่ง จากการส่งออก (+17% YoY) เหนือกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ ส่วนนำเข้า (+30%) ใกล้กับประมาณการ การค้ายังคงเกินดุล เราเห็น upside risk ต่อคาดการณ์การส่งออกของเราในปี 64 ประมาณการเติบโตของนำเข้าอยู่ที่ +12.4% YoY และ 23% ขณะที่มุมมองค่าเงิน ดอลล่าร์ฯ/บาท ปีนี้คาดที่ 32.75 บาท (สิ้นปี) ทั้งนี้เรามองบริษัทส่งออกเป็นหุ้นที่ป้องกันความเสี่ยงจากโควิด-19 ระลอกใหม่ได้ดี หากเกิดขึ้นจริง หลังพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า พลัส ในประเทศ โดยมีมุมมองเชิงบวกต่อ KCE จากการได้รับผลกระทบจากสถาณการณ์โควิดในประเทศจำกัด รวมถึงเป็นหุ้นที่คาดจะสามารถรายงานงบแข็งแกร่งต่อเนื่องในปีนี้และปีหน้า

มุมมองตลาดหุ้น วันนี้คาด SET 1630-1640 หุ้นแนะนำ BLA, TTB

1) BLA (ราคาพื้นฐาน 39.00 บาท) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯและไทยที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจะช่วยหนุน sentiment การลงทุนและ investment yield ให้แก่ BLA

2)  TTB (ราคาพื้นฐาน 1.28 บาท) เริ่มมีมุมมองเชิงบวกมากขึ้น และอาจเริ่มเห็นการ synergy มากขึ้นหลังจากที่มีการควบรวมกิจการรวมทั้งคาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นในไตรมาสสี่หลังเปิดเมือง ทั้งนี้ถือเป็นหุ้นที่ laggard ในกลุ่มธนาคาร

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

วันพุธ ติดตาม ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยเดือน ก.ย. ตัวเลข Durable goods orders ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด -1% MoM ตัวเลข Wholesale inventories ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด +0.5% MoM และปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ รายสัปดาห์

วันพฤหัสฯ ติดตาม การประชุม BOJ คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และติดตามว่า BOJ จะต่ออายุมาตรการ Covid funding measures ที่จะหมดอายุในเดือน มี.ค. 2565 หรือไม่ การประชุม ECB ซึ่งคาดว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.5% ตัวเลข GDP 3Q21 ของสหรัฐฯ คาด +2.8% QoQ ตัวเลข Pending home sales ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด +0.5% MoM และตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯรายสัปดาห์คาด +3 แสนคน

วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข GDP 3Q21 ของยุโรปคาด +3.5% YOY ตัวเลข Inflation Flash เดือน ต.ค. ของยุโรป คาด 3.7% YoY ตัวเลข Personal income ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด -0.1% MoM ตัวเลข Personal spending ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด +0.5% MoM ดัชนี PCE price index ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด +4.4% YoY และตัวเลข Michigan consumer sentiment เดือน ต.ค. คาด -1.6% MoM เป็น 71.6 จุด

- Advertisement -