บล.พาย

BANKING: สินเชื่อ และ NIM ลดลง กดดันกำไรใน 2Q24 (NEUTRAL)

ТОР PICK KBANK, TTB

คาดผลกำไรสุทธิรวมของธนาคาร 8 แห่งใน 2Q24 ที่ 56 พันล้านบาท (+3.8% YoY, -1.3% QoQ) และกำไรสุทธธิรวมใน 1H24 ที่ 112.7 พันล้านบาท (+6.7% YoY) ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวเปาะบางเป็นปัจจัยกดดันการขยายตัวสินเชื่อ และ NIM ปรับลดลงต่อเนื่องจากต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ขณะที่คุณภาพสินเชื่อทรงตัว และธนาคารกันสำรองหนี้ฯ รองรับสินเชื่อกลุ่มอ่อนแอ ล่วงหน้าไปบางส่วนในปี 2023 กอปรกับเงินกองทุนแข็งแกร่งรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต ทำให้ธนาคารสามารถผ่อนคลายสำรองหนี้ฯ ลงเป็นปัจจัยช่วยลดทอนผลกระทบจากสินเชื่อ และ NIM ได้ใน 2Q24 สำหรับในปี 2024 กำไรสุทธิรวมมีแนวโน้มเติบโตชะลอตัวที่ 7.6% YoY (2023: +18.4%) แต่ ROE ยังคงสูงขึ้นได้ต่อเนื่องที่ 9.1% ในปี 2024 (2023: 8.8%) แม้อัตราการเติบโตจะไม่โดดเด่น แต่อัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงที่ 7% ในปี 2024 และ Valuation ไม่แพง กลุ่มธนาคารซื้อขายที่ 0.5x PBV’24E หรือ -1.0SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี เราคงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” เลือก KBANK และ TTB เป็นหุ้นเด่น

แนวโน้มกำไรสุทธิรวมใน 2Q24 เติบโตไม่เด่น แต่ยังควบคุมคุณภาพสินเชื่อได้ดี

  • คาดธนาคาร 8 แห่ง (รวม TCAP) จะรายงานกำไรสุทธิรวมใน 2024 ที่ 56 พันล้านบาท (+3.8% YoY, -1.3% QoQ) โดยกำไรเติบโต YoY หนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น และสำรองหนี้ฯ ลดลง แต่กำไรจะลดลง QoQ เนื่องจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจากสินเชื่อหดตัว และ NIM ลดลง รวมทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมอ่อนแอผลจากเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า และภาวะการลงทุนผันผวน
  • เราคาดว่าจะไม่มีธนาคารที่รายงานกำไรเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ ใน 2Q24 โดย (1) KBANK KTB TTB เป็นกลุ่มที่กำไรสุทธิเติบโต YoY แต่ลดลง QoQ (2) BBL SCB TISCO เป็นกลุ่มที่กำไรโต QoQ แต่ลดลง YoY และ (3) KKP TCAP เป็นกลุ่มที่กำไรสุทธิลดลง YoY และ QoQ

สินเชื่อรวมใน 2Q24 หดตัว QoQ แต่ยังปรับเพิ่มเล็กน้อย 0.2% YTD ใน 1H24

  • ผลกระทบจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเปาะบางและไม่ทั่วถึงทำให้ความต้องการสินเชื่อชะลอตัว ธนาคารคุมเข้มในการปล่อยสินเชื่อใหม่ เราคาดว่าสินเชื่อรวมใน 2Q24 จะลดลง 0.5% QoQ (+0.1% YoY) แต่จะเพิ่มขึ้น 0.2% YTD ใน 1H24
  • แม้ธนาคารเน้นกลยุทธ์ตั้งรับทำให้สินเชื่อไม่โต แต่ทำให้ควบคุมคุณภาพสินเชื่อได้ดี เราคาดว่า NPL ratio เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารจะทรงตัว QoQ ที่ 3.6% เป็นผลให้ธนาคารสามารถผ่อนคลายการตั้งสำรองหนี้ฯ ลงได้ และคาดว่า Coverage ratio ของกลุ่มธนาคารยังทรงตัวสูงที่ 183.6% ใน 2Q24 รองรับความไม่แน่นอนในอนาคตกำไรสุทธิรวมในปี 2024 เติบโตชะลอตัว หลังวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นสิ้นสุดในปี 2023
  • ท่ามกลางเศรษฐไทยฟื้นตัวช้าใน 1H24 เรายังมีมุมมองบวกต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยใน 2H24 ที่จะได้แรงหนุนหลักจากเม็ดเงินจากการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2024-25 มาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมทั้งการฟื้นตัวแข็งแกร่งในภาคการ ท่องเที่ยว เรามองว่าผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคารอาจกลับมาเติบโตดีขึ้นได้ใน 3Q24 และปรับลดลงเป็นระดับต่ำสุดของปีไตรมาสสุดท้าย เราคาดว่ากำไรสุทธิรวมจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในปี 2024-25 แต่ในอัตราชะลอตัวที่ 7.6%/7.3% ในปี 2024-25 (2023: +18.4%) โดยคาดว่า TTB จะมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิโดดเด่น 14% ในปี 2024 และ BBL (+9.7%) KBANK (+9.1%)โดยจะมีเพียง TISCO ที่คาดว่ากำไรสุทธิในปี 2024 จะลดลง 3.3%
  • แม้กำไรของกลุ่มธนาคารจะเติบโตชะลอตัว แต่คาดว่า ROE จะปรับสูงขึ้นต่อเนื่องเป็น 9.1%/9.3% ในปี 2024-25 (2023: 8.8%) ขณะที่ราคาหุ้นที่ปรับลดลงส่วนหนึ่งจากความกังวลด้านเศรษฐกิจ และเสถีรภาพทางการเมืองในประเทศ ทำให้ Valuation ของกลุ่มธนาคารซื้อขายที่เพียง 0.5x PBV’24E
  • เงินกองทุนของธนาคารแข็งแกร่งและสภาพคล่องเพียงพอ เราคาดว่าธนาคารจะจ่ายเงินปันผลสูงขึ้นได้ในปี 2024-25 ล้อกับความสามารถทำกำไรที่ดีขึ้น โดยเราคาดอัตราผลตอบแทนเงินปันผลเฉลี่ยที่ 7%/7.4% ในปี 2024-25

คงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” KBANK และ TTB เป็นหุ้นเด่น

เราคงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” เพราะแม้เรามองว่าอัตราการเติบโตของกำไรจะไม่โดดเด่น แต่พื้นฐานของธนาคารยังแข็งแกร่ง อัตราผลตอบแทนเงินปั่นผลสูง และ Valuation ไม่แพง กลุ่มธนาคารซื้อขายที่ 0.5x PBV’24E หรือ -1.0SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี และธนาคารส่วนใหญ่ยังคงซื้อขายที่ระดับ P/BV ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี

คาดกำไรสุทธิรวมเติบโต 3.8% YoY แต่ลดลง 1.3% QoQ

  • เราคาดว่ากลุ่มธนาคารจะมีกำไรสุทธิรวมที่ 56 พันล้านบาท (+3.8% YoY, -1.3% QoQ) โดยกำไรเติบโต YoY หนุนจาก (1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิขยายตัว และ (2) สำรองหนี้ฯ ปรับลดลง แม้ว่ารายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจะลดลง โดยเฉพาะจากกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน (FVTPL) ลดลง อย่างไรก็ดี คาดว่ากำไรสุทธิจะลดลง QoQ เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงจากการลดลงของสินเชื่อ และ NIM อ่อนตัวต่อเนื่อง และรายได้ค่าธรรมเนียมลดลง
  • สำหรับใน 1H24 คาดว่ากำไรสุทธิรวมจะปรับเพิ่มขึ้น 6.7% YoY ที่ 112.7 พันล้านบาท หนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิขยายตัว และสำรองหนี้ฯ ปรับลดลง หลังจากที่ธนาคารควบคุมคุณภาพสินเชื่อได้ดี และตั้งสำรองหนี้ฯ ล่วงหน้าเผื่อความไม่แน่นอนบางส่วนในปี 2023
  • ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้า และธนาคารระวังในการปล่อยสินเชื่อใหม่ ทำให้มองว่าผลการดำเนินงานของธนาคารไม่ได้เติบโตจากการขยายสินเชื่อ แต่กลับมาจากความสามารถในการผ่อนคลายสำรองหนี้ฯ และผลประโยชน์ด้านภาษี เราคาดว่าธนาคารขนาดใหญ่จะมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าธนาคารขนาดเล็ก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม (1) กลุ่มที่กำไรสุทธิเติบโต YoY แต่ลดลง QoQ คือ KBANK KTB TTB (2) กลุ่มที่กำไรโต QoQ แต่ลดลง YoY คือ BBL SCB TISCO และ (3) กลุ่มที่กำไรสุทธิลดลง YoY และ QoQ คือ KKP TCAP สินเชื่อรวมใน 2024 ลดลง 0.5% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 0.2% YTD ใน 1H24
  • สินเชื่อสุทธิของธนาคารในเดือน เม.ย. – พ.ค. ลดลง 0.7% QTD เทียบกับเดือน มี.ค. สะท้อนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อใหม่ เราคาดว่าสินเชื่อรวมใน 2Q24 จะลดลง 0.5% QoQ (+0.1% YoY) แต่จะยังเพิ่มขึ้น 0.2% YTD ใน 1H24 อยู่ที่ 12.2 ล้านล้านบาท
  • เราคาดว่า KBANK KTB SCB TISCO จะรายงานสินเชื่อโตเล็กน้อย QoQ ใน 2Q24 โดยกลุ่มที่สินเชื่อยังเติบโต YoY คือ BBL KBANK SCB และ TISCO

NIM ปรับลดลงต่อเนื่อง QoQ ใน 2Q24 แต่ยังสูงขึ้นเล็กน้อยเทียบกับใน 2Q23

• ส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของกลุ่มธนาคารได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วใน 4Q23 ที่ราว 3.6% และได้เริมปรับลดลงใน 1Q และต่อเนื่องมาใน 2024 ที่ 3.4% (-7 bps QoQ, +3 bps YoY) เนื่องจากต้นทุนดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มต่อเนื่องจากการระดมสภาพคล่องในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศจะทรงตัวมาตั้งแต่ใน 4Q23 ก็ตาม ทั้งนี้ เรามองว่าการปรับลดลงของ NIM ใน 2Q24 จะชะลอลงเทียบกับใน 1Q (-12 bps QoQ) นอกจากนี้ เราคาดว่า NIM จะมีเสถีรภาพมากขึ้นใน 2H24 แต่ก็จะขึ้นอยู่กับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในตลาดเงินและตลาดทุนมากน้อยเพียงใด รวมทั้งแนวโน้ม อัตราดอกเบี้ยทั้งในประเทศ และต่างประเทศในช่วง 2H24 ด้วยเช่นกัน โดยเราคาดว่าธนาคารทุกแห่งภายใต้การดูแลจะมี NIM ปรับลดลงใน 2Q24 เหมือนเช่นที่เกิดขึ้นใน 1Q24

คุณภาพสินเชื่อ

งบดุลของธนาคารยังแข็งแกร่งรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

  • เศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตในปี 2021-23 หลังจากที่ปรับลดลงถึง 6.1% ในปี 2020 แต่การฟื้นตัวของไทยเปาะบาง และฟื้นตัวแบบ K-Shape ทำให้ฐานะการเงินของลูกค้าบางกลุ่มยังไม่กลับเป็นระดับปกติ เพราะรายได้ไม่เพียงพอต่อการชำระคืนหนี้กับสถาบันการเงิน ทำให้คุณภาพสินเชื่อของลูกค้าบางกลุ่มยังอ่อนแอ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าบุคคล และธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SME) ธนาคารแห่งประเทศไทยมื่นโยบายให้สถาบันการเงินมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่อ่อนแอ โดยธนาคารต้องช่วยเหลือด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ก่อนที่สินเชื่อปกติจะกลายเป็นหนี้เสีย 1 ครั้ง และปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มอีก 1 ครั้งหลัง จากกลายเป็นหนี้เสียแล้ว
  • แม้มาตรการที่เพิ่มเติมนี้อาจช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียได้ แต่หากภาวะเศรษฐกิจยังไม่กลับมาขยายตัวแข็งแกร่ง ลูกหนี้อาจยังไม่มีรายได้ที่มากพอจะชำระหนี้ได้เป็นปกติ ทำให้ความกังวลต่อคุณภาพสินเชื่อยังคงมีต่อไป และกดดันต่อการลงทุนในกลุ่มธนาคารในอนาคต แม้ว่าธนาคารไทยจะมีการกันสำรองหนี้ฯ เพียงพอ และระดับเงินกองทุนแข็งแกร่งก็ตาม
  • ด้วยการที่ธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อใหม่ และมีแนวทางในการบริหารคุณภาพสินเชื่อ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ การขายหนี้ที่มีปัญหาออกไป และตัดจำหน่ายหนี้สูญ เราคาดว่า NPL ratio เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารจะทรงตัว QoQ ที่ราว 3.6% ที่ 4.45 แสนล้านบาท โดยมี Coverage ratio เฉลี่ยข้องกลุ่มธนาคารสูงที่ 183.6% ใน 2Q24 (1Q24: 181.7%)
  • แม้พบว่าธนาคารบางแห่งมีหนี้เสียปรับเพิ่มขึ้นใน 1Q24 แต่เป็นเพราะการปรับลดชั้นสินเชื่อลงจากความอ่อนแอเชิงคุณภาพ และธนาคารที่เกี่ยวข้องมีการตั้งสำรองหนี้ฯ ล่วงหน้าไปเรียบร้อยแล้ว เรามองว่าธนาคารทุกแห่งยังสามารถควบคุม NPL ratio ได้ตามเป้าหมายในปี 2024 แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการชะลอการปล่อยสินเชื่อใหม่ การที่สินเชื่อชะลอตัว กอปรกับคุณภาพสินเชื่อที่ทรงตัว เราคาดว่า Credit costs เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารใน 2024 จะปรับลดลงที่ 135 bps (-22 bps YoY, -11 bps QoQ) โดยการปรับลดลงส่วนใหญ่มาจาก BBL และ SCB

แนวโน้มการเติบโตปี 2024-25

คาดอัตราการเติบโตกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารชะลอตัวในปี 2024-25

  • เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะขยายตัวราว 2.5% ในปี 2024 สูงขึ้นจากที่โตเพียง 1.9% ในปี 2023 จากการเติบโตในทุกภาคส่วนสำคัญ (1) ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง (2) การส่งออกกลับมาขยายตัว (3) การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2024 และ 2025 (4)การลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัว และ (5) การบริโภคขยายตัว แม้ในอัตราชะลอลงก็ตาม เราคาดว่าสินเชื่อรวมปี 2024 จะขยายตัว 2.9% จากที่สินเชื่อขยายตัวเพียง 0.1% ในปี 2023
  • แม้เศรษฐกิจไทยถูกคาดการณ์ดีขึ้นในปี 2024 แต่การฟื้นตัวยังเป็นแบบ K-Shape ทำให้ฐานะการเงินของลูกค้าบางกลุ่มยังไม่กลับเป็นระดับปกติ เห็นได้จากสินเชื่อมีการปรับโครงสร้างหนี้ และจำนวนอีกไม่น้อยถูกปรับลดชั้น เป็น Underperforming loans (Stage 2) และสินเชื่อเหล่านี้อาจกลายเป็นหนี้เสียได้ในอนาคตหากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง และไม่ได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากสถาบันการเงินและภาครัฐ ทำให้คุณภาพสินเชื่อยังเป็นปัจจัยท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารในปี 2024
  • อัตราดอกเบี้ยโลกมีแนวโน้มเป็นขาลงหลังจากที่ธนาคารกลางจากหลายประเทศทยอยปรับลดดอกเบี้ยลง เช่น สวีเดน แคนนาดาและสวิสแลนด์ รวมทั้งธนาคารกลางยุโรป (ECB) อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางของสหรัฐมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเหลือเพียง 1-2 ครั้งในปี 2024 จากก่อนหน้าที่คาดว่าจะปรับลดลง 3 ครั้ง
  • ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน มีแนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอาจปรับลดน้อยกว่าที่เราเคยประเมินไว้ โดยเรามองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0-1 ครั้ง อยู่ที่ 2.25-2.50% ณ สิ้นปี 2024 จากเดิมที่ว่าจะอยู่ที่ 2.00-2.25% จากระดับปัจจุบันที่ 2.50% แม้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่น้อยกว่าเดิมจะมี Upside เชิงบวกต่อ NIM ของธนาคาร แต่ด้วยความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ เราคงคาดการณ์ NIM เฉลี่ยในปี 2024 จะลดลง 8 bps YOY ที่ 3.34%
  • ด้วยการควบคุมคุณภาพสินเชื่อที่ดี เราคาดว่า Credit cost เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารมีแนวโน้มปรับลดลง หลังจากธนาคารหลายแห่งตั้งสำรองหนี้ฯ พิเศษรองรับความไม่แน่นอนไปในปี 2023 ส่วนหนึ่งสะท้อนผ่าน Coverage ratio ของธนาคารที่แข็งแกร่งขึ้นและเป้าหมายการเงินปี 2024 ที่หลายธนาคารคาดว่าสำรองหนี้ฯ จะปรับลดลงได้ในปี 2024 ทั้งนี้ เราคาดว่า Credit cost เฉลี่ยจะลดลงที่ 140/128 bps ในปี 2024-25 จาก 161 bps ในปี 2023
  • เราคาดว่ากำไรสุทธิรวมของกลุ่มธนาคารจะปรับเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัว ลงที่ 7.6%/7.3% ในปี 2024-25 (2023: +18.4%) โดยคาดว่า TTB จะมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิโดดเด่น 14% ในปี 2024 และ BBL (+9.7%) KBANK (+9.1%) โดยจะมีเพียง TISCO ที่คาดว่ากำไรสุทธิจะลดลง 3.3% ขณะที่แม้กำไรจะเติบโตชะลอตัว แต่คาดว่า ROE ของกลุ่มธนาคารจะปรับสูงขึ้นต่อเนื่องเป็น 9.1%/9.3% ในปี 2024-25 (2023: 8.8%)
  • ธนาคารไทยมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่งรองรับความไม่แน่นอน และสามารถจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นได้ ตามผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในอนาคต กลุ่มธนาคารไทยมีเงินกองทุนขั้นที่ 1 แข็งแกร่งที่ 16. 2% ใน 1Q24 สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 8.5%-9.5% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะที่คาดว่าอัตราผลตอบแทนเงินปันผลเฉลี่ยของกลุ่มฯ สูงขึ้นเป็น 7%/7.4% ในปี 2024-25

 

- Advertisement -