Weekly Strategy: ผันผวนจากปัจจัยการเมืองภายในประเทศ

TOP PICK: CPALL, CPN, KBANK

ปัจจัยต่างประเทศ สัปดาห์นี้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่ำกว่า Bloomberg Consensus คาด นักลงทุนให้น้ำหนักการลงดอกเบี้ยครั้งแรกของ FED ในเดือนกันยายน ผ่าน CME Fed Watch ที่ 67% กดดัน Dollar Index และ Bond Yield สัปดาห์หน้าติดตามตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ส่วนปัจจัยภายในประเทศหลังจากประกาศใช้งาน Up-tick พบว่า การซื้อขายสัดส่วน Short Sell ต่อมูลค่าซื้อขายรวม ลดลงจาก 12.9% ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเหลือ 4.5% (นับตั้งแต่วันที่ 1 – 4 กรกฎาคม) ช่วยจำกัด Downside ของ SET Index โดยสัปดาห์ถัดไป ติดตามปัจจัยทางการเมืองหากความชัดเจนมากขึ้น คาดเป็นปัจจัยหนุน SET Index แนะนำลงทุนหุ้นกลุ่ม Domestic สอดคล้องกับความชัดเจนทางการเมืองและหุ้นที่กองทุน TESG ลงทุนในสัดส่วนที่มากกว่าดัชนี อาทิ ค้าปลีก (CPALL HMPRO) ธนาคารพาณิชย์ (BBL KBANK KTB SCB TTB) ศูนย์การค้า (CPN)

ตัวเลขเศรษฐกิจสัปดาห์ที่ 1-5 ก.ค.

สหรัฐฯ : วันจันทร์ที่ผ่านมาสหรัฐฯ รายงานดัชนี PMI จากสถาบัน ISM ฝั่งผลิตพบว่าแย่กว่าที่ Bloomberg Consensus คาดการณ์ไว้พร้อมกับรายงานการใช้จ่ายฝั่งก่อสร้างพบว่าต่ำกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดการณ์เช่นกัน ส่วนวันอังคารรายงานตำแหน่งเปิดรับสมัครงานที่ 8.14 ล้านตำแหน่ง ดีกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 7.96 ล้านตำแหน่ง ในขณะเดียวกันมีประธาน FED ก็ได้ออกมาแถลง โดยใจความคือมีความคืบหน้าเป็นอย่างมากในการทำให้เงินเฟ้อกลับเข้าสู่เป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดบ่งชี้ว่าได้กลับเข้าสู่เส้นทางในการทำให้เงินเฟ้อลดลงแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังต้องการความมั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้อกำลังปรับลงสู่ระดับ 2% แต่การตอบรับของสินทรัพย์ต่างๆ ถัดมา วันพุธรายงานการจ้างงานภาคเอกชนจากสถาบัน ADP พบว่าใน เดือน มิ.ย. มีการจ้างงาน 1.5 แสนตำแหน่งแย่กว่าที่ Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 1.63 แสนตำแหน่ง หลักๆ เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันได้รายงานดัชนี้ผู้จัดการฝ่ายจัดซื่อภาคบริการ (Service PMI) ออกมาที่ 48.8 แย่กว่าที่ Bloomberg Consensus ประเมินไว้ที่ 52.6

ยุโรป: วันอังคารที่ผ่านมา Eurostat รายงานตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของยุโรปที่ 2.5%YoY ใกล้เคียงกับ Bloomberg Consensus คาด ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานของยุโรปที่ 2.9%YoY มากกว่า Bloomberg Consensus คาดที่ 2.8%YoY รายละเอียดภายในพบว่า เงินเฟ้อจากอาหารยังคงปรับตัวขึ้น 2.5%YoY และจากภาคบริการ ปรับตัวขึ้น 4.1%YoY หากมองในรายประเทศพบว่าเงินเฟ้อของประเทศเบลเยียม อยู่ในระดับ 5.5%YoY ส่วนประเทศสเปนและฝรั่งเศส เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับ 2-4%YoY

ไทย: รัฐบาลได้ประกาศเดินหน้าโครงการ Digital Wallet โดยวันศุกร์นี้จะเรียนเชิญกระทรวงพาณิชย์มาหารือเกี่ยวกับความพร้อมของร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ และรายการสินค้าแต่สินค้านั้นจะเน้นที่สินค้าผลิตและใช้วัตถุดิบในประเทศ ซึ่งไม่เน้นสินค้านำเข้าพร้อมเสริมเพิ่มเติมว่าจะเตรียมให้ลงทะเบียนภายในเดือน ก.ค. ทั้งผู้ประกอบการและประชาชน (ระยะเวลาลงทะเบียนทั้งหมด 2 เดือน) โดย Application ชื่อว่า “ทางรัฐ” มองเป็นบวกกับหุ้นในกลุ่มค้าปลีก โดยเฉพาะที่เน้นสินค้าภายในประเทศ ส่วนวันศุกร์นี้ประเทศไทยรายงานตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานและทั่วไปที่ 0.62%YoY และ 0.36%YoY ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่า Bloomberg Consensus คาดที่ 1.1%YoY และ 0.42%YoY ตามลำดับ

มุมมองสัปดาห์ 8-12 ก.ค. : คาด SET Sideway Up จากปัจจัยการเมืองที่ชัดเจนและการกลับมาของกองทุน ESG ปัจจัยต่างประเทศที่นักลงทุนควรให้ความสนใจคือ ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ วันพุธ หากตัวเลขเงินเฟ้อมากกว่าคาด เป็นปัจจัยหนุน FED ให้คงนโยบายเข้มงวดต่อเนื่อง กดดันตลาดหุ้นทั่วโลก ส่วนปัจจัยในประเทศ เราคาดว่า SET Index มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นเนื่องจาก 1) การซื้อหุ้นของกองทุน TESG 2) การเมืองในประเทศที่คาดว่ามีความชัดเจนมากขึ้น แนะนำลงทุนในหุ้นกลุ่ม Domestic สอดคล้องกับกลุ่มที่กองทุน TESG และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะกลับมาหลังจากการเมืองชัดเจนขึ้น ลงทุนในสัดส่วนที่มากกว่าดัชนี อาทิ ค้าปลีก (CPALL DOHOME GLOBAL HMPRO) ธนาคารพาณิชย์ (BBL KBANK KTB SCB TTB) ศูนย์การค้า (CPN)

- Advertisement -