KS Daily View 19.07.2024 >>> รมว. พลังงานเผยรัฐบาลจะตรึงค่าไฟฟ้า FT ด้าน ตลาดหุ้นสหรัฐปิดลบ ECB คงอัตราดอกเบี้ยตามคาด US dollar index แข็งค่าขึ้น Bond Yield เด้ง คาดดัชนีวันนี้ซื้อขายในกรอบ 1,310 – 1,330 จุด แนะนำ BEM, BAREIT
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:
ประเมินดัชนี SET Index วันนี้แกว่งตัวในกรอบ 1,310 – 1,330 ปัจจัยต่างประเทศ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง ECB คงอัตราดอกเบี้ยตามคาด มองเงินเฟ้อปีนี้ยังอยู่สูงกว่ากรอบเป้าหมายจนถึงปีหน้า ขณะที่ตลาดคาดลดดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ในเดือน ก.ย. และ ธ.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 20,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ดัชนีค่าเงินสหรัฐฯ (US dollar index) ปรับเพิ่มขึ้นที่ 104.178 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 2 ปีเพิ่มขึ้นที่ 4.471 คาด BOJ เข้าแทรกแซงค่าเงินอีกครั้งหลังค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นที่ระดับ 157.2 เยนต่อดอลล่าร์ ปัจจัยภายในประเทศ รมว. รมว. พลังงาน เผยรัฐบาลจะตรึงค่าไฟฟ้า FT เท่าเดิมที่ 4.18 บาทต่อหน่วย งวดเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2567 มองเป็นลบต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า ด้าน BEM มั่นใจเติบโตโดดเด่นหลังได้สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วยส่งต่อผู้โดยสารสายสีน้ำเงินให้เริ่มคุ้มทุนและมีกำไร กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ ให้เล่นหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวอย่าง BEM ที่คาดว่ากำไรไตรมาส 2 จะเพิ่มขึ้นทั้ง QoQ, YoY และหุ้น BAREIT ที่เป็น Bond proxy ในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงและตลาดหุ้นกู้ผันผวน คาดปี 2567-69 จะจ่ายปันผลได้ราว 7.7% – 7.8% ต่อปี
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลจะตรึงค่าไฟฟ้า งวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2567 ไว้เท่าเดิม คือ อัตรา 4.18 บาท/หน่วย เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพ และไม่ให้เป็นภาระกับประชาชน โดยในวันนี้ จะพูดคุยกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ถึงรายละเอียดต่าง ๆ
- นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจของ BEM มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่น หลังจากที่บริษัทฯ เข้ารับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งได้เซ็นสัญญาเมื่อวันนี้ โดยคาดว่า จำนวน 80% ผู้โดยสารของรถไฟฟ้าสายสีส้มที่คาดว่าจะมีกว่า 1 แสนเที่ยว/วัน จะส่งต่อผู้โดยสารให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งจะทำให้จำนวนผู้โดยสารสายสีน้ำเงินแตะ 6 แสนเที่ยว/วัน และถึงจุดคุ้มทุน (Breakeven) และเริ่มมีกำไร
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาดการณ์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ระดับ 3.75% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 4.50% ส่วนอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์อยู่ที่ระดับ 4.25% แถลงการณ์ระบุว่า “แรงกดดันด้านราคาภายในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเงินเฟ้อในภาคบริการได้ปรับตัวสูง ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มที่จะอยู่สูงกว่าเป้าหมายไปจนถึงปีหน้า“ นักลงทุนให้น้ำหนัก 80% ว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนก.ย. และปรับลด 0.25% อีกครั้งในเดือนธ.ค.
- กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 20,000 ราย สู่ระดับ 243,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สูงกว่าที่คาดไว้ที่ 229,000 ราย ส่วนตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องอยู่ที่ 1.867 ล้านราย มากกว่าคาดที่ 1.86 ล้านราย
- ซิตี้กรุ๊ปออกรายงานวิจัยระบุว่า ราคาทองจะพุ่งแตะ 2,700-3,000 ดอลลาร์ในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า ไม่ว่าใครจะชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในเดือนพ.ย.นี้ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ โดยจะเกิดขึ้นในเดือนก.ย., พ.ย. และธ.ค. จากเดิมที่คาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้ง
หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:
- BEM: ราคาพื้นฐานที่ 10.33 บาท
BEM มีกำหนดรายงานงบการเงินไตรมาส 2/2567 ในวันที่ 13 ส.ค. เราคาดว่า BEM จะรายงานกำไรปกติที่ 986.3 ลบ. เพิ่มขึ้น 9.5% YoY และ 16.4% QoQ การเพิ่มขึ้น YoY ได้แรงหนุนจากการเติบโตที่แข็งแกร่งของจำนวนผู้โดยสาร MRT ในขณะที่การเพิ่มขึ้น QoQ มาจากรายได้เงินปันผลจาก CKP และ TTW เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยปัจจัยหนุน 1) การเติบโตของปริมาณการสัญจรที่ดีกว่าที่คาด 2) ความเป็นไปได้ในการต่ออายุสัมปทานทางด่วน 3) การพัฒนาตามแนวเส้นทางด่วนและรถไฟฟ้า MRT
- BAREIT: ราคาพื้นฐาน 11.30 บาท
มองเป็นตัวแทนหุ้นกู้ (Bond proxy) ในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง และตลาดหุ้นกู้ผันผวน เราคาดว่า BAREIT จะรายงานงบการเงินไตรมาส 2/2567 ในวันที่ 25 ก.ค. ด้วยกำไรปกติที่ 205 ลบ. ลดลง 1.5% YoY แต่เพิ่มขึ้น 1% QoQ กำไรที่ลดลงเชิงYoY น่าจะเกิดจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น เราคาดว่าว่า BAREIT จะประกาศเงินปันผลต่อหน่วย (DPU) รายไตรมาสที่ 0.181 บาท ซึ่งคิดเป็นอัตราตอบแทนเงินปันผลต่อปีที่ 7.7% และคาดว่าอัตราจ่ายเงินปันผลช่วงปี 2567-69 จะอยู่ที่ระดับ 7.7% – 7.8%
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันศุกร์ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่น (Japan Inflation) เดือน มิ.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 2.80% YoY ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าและ เงินเฟ้อที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน (Japan Core CPI) ตลาดคาดการณ์ที่ 2.20% YoY เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 2.1% YoY