บล.พาย:

KBANK: Kasikornbank PCL

การจัดการงบดุลแล้วเสร็จตามแผนในปี 2024

เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยมูลค่าพื้นฐานที่ 152 บาท ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ การควบคุมคุณภาพสินเชื่อเป็นปัจจัยสำคัญเหนือการเติบโตสูง แผนการทำ Balance sheet clean-up ที่จะแล้วเสร็จในปี 2024 ทำให้ภาระสำรองหนี้ฯ ลดลงหนุนการกำไรเติบโตต่อเนื่อง โดยเราคาดว่ากำไรสุทธิเติบโต 8.6% CAGR (2024-26) และ ROE ปรับเป็นขาขึ้นที่ 8.6%/8.8%/9% ในปี 2024-26 ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมาย ROE ที่ 2 หลักในปี 2026 ของ KBANK ด้านกำไรสุทธิใน 2Q24 ออกมาตามคาดที่ 12.7 พันล้านบาท (+15.1% YoY, -6.2% QoQ) โดยมี NPL ratio ทรงตัวที่ 3.2% และ Coverage ratio ปรับขึ้นที่ 151.9% ด้าน Valuation ของ KBANK ไม่แพงในมุมของเรา หุ้นซื่อขายที่ 0.55x PBV’24E หรือ -1.2SD ต่อค่าเฉลี่ย 10 ปี

การประชุมนักวิเคราะห์

  • KBANK คงเป้าหมายทางการเงินในปี 2024 แต่มองว่าการเติบโดสินเชื่อใน 2H24 เน้นการควบคุมคุณภาพสินเชื่อ และขยายสินเชื่อที่เหลักประกัน โดยคาดสินเชื่อปี 2024 เติบโตราว 3% เทียบเป้าหมายเติบโต 3-5% นอกจากนี้ ย้ำกว่า credit cost ในปี 2025 จะลดลงเหลือ 140-160 bps จากราว 175-195 bps ในปี 2024 โดยมีระดับสำรองหนีส่วนเกิน (Management overlay) ราว 15-18% ของสำรองหนี้ฯ รวม
  • มีแผนจะขายหนี้และตัดจำหน่ายหนี้เสียรวมราว 65 พันลบ. หรือราว 70% ของยอดรวมที่ 92.5 พันลบ. ในปี 2023 ทั้งนี้ หลังจากเกิดปัญหาคุณภาพสินเชื่ออ่อนแอลง ธนาคารปรับปรุงกระบวนการปล่อยสินเชื่อ และติดตามหนี้ ซึ่งพบว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นต่อเนื่อง
  • กรณีของ EA ทาง KBANK ได้ปล่อยสินเชื่อจำนวนไม่มาก (ไม่ได้แจ้งจำนวน) และได้กันสำรองหนี้ครบ 100% ไปแล้ว จึงจะไม่มีผลต่อเป้าหมายการเงินในปี 2024 นอกจากนี้ ลูกหนี้ยังชำระหนี้เป็นปกติ ส่วนแนวทางการดูแลกลุ่มสินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่ ธนาคารดูแลเป็น case by case และติดตามอย่างระมัดระวัง
  • การช่วยเหลือทางการเงินให้กลุ่มพนักงานราว 3 หมื่นคน คนละ 10,000 บาท รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายรวมของธนาคารแล้ว
  • KBANK พิจารณาอัตราการจ่ายเงินปันผลสูงขึ้น เรามองว่าจะทำใหการบริหารเงินกองทุนมีประสิทธิภาพดีขึ้น และทำให้ KBANK อาจสำเร็จในการเพิ่ม ROE เป็น 2 หลักตามเป้าหมายได้ในปี 2026

คาดการเติบโตของกำไรจะชะลอตัวในปี 2024-25

  • การฟื้นตัวเป็นไปตามการคาดการณ์ของเรา ส่วนแผนการทำ Balance sheet clean-up ที่จะแล้วเสร็จในปี 2024 จะช่วยผ่อนคลายการสำรองหนี้ฯ ลดลง และหนุนความสามารถการทำกำไรปรับตัวดีขึ้น
  • เราคาดว่ากำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้น 10.3%/7%/8.4% ในปี 2024-26 หนุเจากสำรองหนี้ฯ ลดลง และกำไรจากการดำเนินงานปรับสูงขึ้น และ ROE เป็นทิศทางขาขึ้นที่ 8.6%/8.8%/9% ในปี 2024-26

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 152 บาท

มูลค่าพื้นฐานที่ 152 บาท คำนวณด้วยวิธี GGM (ROE 8.5%, TG 2%) อิงจาก 0.65x PBV’24E หรือ -1.0SD ต่อค่าเฉลี่ย 10 ปี

สรุปผลการดำเนินงานใน 2Q24

  • กำไรสุทธิงวด 2Q24 ออกมาตามคาดที่ 12.7 พันล้านบาท (+15.1% YoY, -6.2% QoQ) โดยกำไรเติบโต YoY เนื่องจาก (1) รายได้ดอกเบียสุทธิเติบโต (2) รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้น และ (3) สำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดจะเกิดขึ้น (ECL) ลดลง ขณะที่กำไรลดลง Q0Q จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงตาม NIM ที่ลดลง และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานสูงขึ้น
  • กำไรสุทธิใน 1H24 อยู่ที่ 26.1 พันล้านบาท (+20.3% YoY) หนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้น และ ECL ลดลง
  • NIM ปรับลดลง 9 bps QoQ ที่ 3.7% เกิดจาก (1) การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลูกค้ากลุ่มเปาะบาง (2) เน้นโตสินเชื่อที่มีคุณภาพทำให้อัตราผลตอบแทนไม่สูง และ (3) ต้นทุนการเงินสูงขึ้น ด้าน Cost to income ratio (CIR) เพิ่มขึ้น QoQ ที่ 43.4% แต่ทรงตัว YoY
  • สินเชื่อกลับมาขยายตัว 1% QoQ (+1.6% YoY) แต่ยังแค่ทรงตัว YTD ใน 1H24 เนื่องจากแม้สินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่ขยายตัว แต่ถูกลดทอนด้วยการลดลงของสินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อ SME
  • คุณภาพสินเชื่อทรงตัว NPL ratio อยู่ที่ 3.2% และอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ต่อหนี้เสีย (Coverage ratio) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 151.9%
- Advertisement -