บล.พาย:

SCB: SCBX PCL

คุณภาพสินเชื่ออ่อนแอกดดันการเติบโต

เราปรับคำแนะนำเป็น “ถือ” และปรับลดมูลค่าพื้นฐานเหลือ 106 บาท แม้ SCB ชี้แจงว่าได้กันสำรองหนีพิเศษ 800 ล้านบาท และครอบคลุมสินเชื่อที่ให้ บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ (EA) รวม 20 พันล้านบาท (สินเชื่อมีหลักประกัน 11.5 พันลบ. และไม่มีหลักประกัน 500 ลบ.) แต่เรามองว่า EA ยังมีความท้าทายในการชำระคืนเงินกู้รวมราว 62 พันลบ. (หุ้นกู้ 31 พันลบ. และเงินกู้สถาบันการเงิน 31 พันลบ.) สิ้น 1Q24 ดังนั้น SCB มีความเสี่ยงที่อาจต้องกันสำรองหนี้ฯ เพิ่มในอนาคต หาก EA ผิดนัดชำระหุ้นกู้ในอนาคต และยังไม่มีความชัดเจนในแผนการฟื้นฟูธุรกิจนอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเปาะบาง ทำให้เราเชื่อว่า SCB จะเพิ่มความระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งจะกระทบรายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม เราปรับลดคาดการณ์กำไรลดลง 11-14% ในปี 2024-25 และคาดว่ากำไรสุทธิจะลดลง 8.4% ในปี 2024 โดยคาดอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่ 9.3% ในปี 2024

การประชุมนักวิเคราะห์

  • SCBX มองว่าเป้าหมายการเงินในปี 2024 ด้าน Credit cost และรายได้ค่าธรรมเนียมมีความท้าทาย ส่วน NIM และ Cost to income ratio เป็นไปตามเป้าหมาย ภาวะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเปาะบาง และความเสียงคุณภาพลูกหนี้รายย่อยขยายตัวจากกลุ่มรายได้ 3 หมื่นบาท เพิ่มเป็นกลุ่มรายได้ 5-6 หมื่นบาท ทำให้การขยายสินเชื่อใน 2H24 เพิ่มความระมัดระวังเพื่อดูแลเงินกองทุนที่เหมาะสม และยืนยันสามารถรักษาการจ่ายเงินปันผลที่ 80% ของกำไรได้
  • SCB ปล่อยสินเชื่อให้ EA รวม 12 พันล้านบาท แบ่งเป็น (1) สินเชื่อโครงการ (Project finance) รวม 11.5 พันลบ. และ (2) สินเชื่อไม่มีหลักประกัน 500 ลบ. ซึ่ง SCB ชี้แจงว่าได้กันสำรองหนี้ฯ พิเศษครั้งเดียว และครอบคลุมแล้วรวม 800 ลบ. ใน 2Q24 โดยมองว่าโครงการด้านพลังงานของ EA มีกระแสเงินสด และหลักประกันครอบคลุมหนี้ในส่วนสินเชื่อโครงการ โดย SCB ปรับชื้นลูกหนี้ EA เป็น Underperforming loans ใน 2Q24
  • กลุ่มธุรกิจ Gen 2 แบ่งเป็น (1) SCB มองว่า CARD X จะกลับมีกำไรใน 2H และแนวโน้มสำรองหนี้ฯ จะลดลง และ (2) AUTO X มีการเติบโตสูง คุณภาพสินเชื่อตามเป้าหมาย และมีแผนกระจายการเติบโตไปสินเชื่อจำนำประเภทอื่น (ที่ดิน และที่อยู่อาศัย) นอกเหนือจากสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์
  • กรณี Robinhood ที่มีดำเนินงานขาดทุน 2 พันลบ. ในปี 2022-23 SCB มีค่าใช้จ่ายพิเศษ 800 ลบ. ใน 2Q และมีสินทรัพย์เหลือ 1 พันลบ. ในบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส โดย SCB คาดว่า Worst case จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มไม่เกิน 1 พันลบ. และมีแนวทางการจัดการพร้อม ทำให้คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จำกัดใน 3Q และจะไม่มีผลขาดทุนเพิ่มใน 4Q24 และในปี 2025

ปรับลดคาดการณ์กำไรลดลงจากความเสี่ยงคุณภาพสินเชื่อ

  • เราปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิลดลง 11-14% ในปี 2024-25 จากการปรับเพิ่ม Credit cost เป็น 180 bps ในปี 2024-25 (เดิม 165 bps) โดยคาดว่ากำไรสุทธิจะปรับลดลง 8.4% ในปี 2024 และกลับมาขยายตัว 4.4% ในปี 2025

ลดคำแนะนำเป็น “ถือ” และลดมูลค่าพื้นฐานเหลือ 106 บาท

ปรับลดคำแนะนำเป็น “ถือ”จาก “ซื้อ”จากมุมมองเชิงลบต่อความสามารถการทำกำไรลดลง และความไม่แน่นอนจากสินเชื่อที่ปล่อยให้ EA อาจสร้างภาระสำรองหนี้ฯ สูงขึ้น ปรับลดมูลค่าพื้นฐานเหลือ 106 บาท จาก 118 บาท คำนวณด้วยวิธี GGM (ROE 8.4%, TG 2%) อิงจาก 0.73x PBV’24E หรือ -1.0SD ต่อค่าเฉลี่ย 10 ปี

สรุปผลการดำเนินงานใน 2Q24

  • กำไรสุทธิออกมาที่ 10.0 พันลบ. (+15.6% YoY, -11.2% QoQ) ต่ำกว่าคาด 16% เนื่องจากสำรองหนี้ฯ สูงกว่าคาด แม้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิจะเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยกดดันให้กำไรสุทธิลดลง YoY และ QoQ เนื่องจาก (1) รายได้ค่าธรรมเนียมลดลงจากจากการขายประกันรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมทางการเงิน และรายได้ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการให้สินเชื่อ (2) สำรองหนี้ฯ ระดับสูงจากกรณีของ EA และกลุ่มธุรกิจ Gen 2 (3) กำไรสุทธิจากมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน (FVTPL) ลดลง และ (4) ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
  • กำไรสุทธิใน 1H24 อยู่ที่ 21.3 พันลบ. (-6.9% YoY) กดดันจาก (1) รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง (2) กำไรสุทธิจากมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน (FVTPL) ลดลง และ (3) ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
  • ส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) เพิ่มขึ้นที่ 4.1% (+30 bps YoY, +10 bps QoQ) เพราะอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น และการควบคุมต้นทุนการเงิน ด้าน Cost to income ratio (CIR) เพิ่มขึ้น YoY และ QoQ ที่ 42.9% เพราะรายได้จากการดำเนินงานอ่อนแอ และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายครั้งเดียว รวม 800 ลบ. จากการยุติการให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood รวมถึงการจ่ายเงินชดเชยในค่าใช้จ่ายพนักงานและค่าใช้จ่ายด้านอาคาร สถานที่และอุปกรณ์
  • สินเชื่อลดลง 0.4% QoQ (+0.6% YoY) ส่วนใหญ่จากจากการชำระคืนหนี้ของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อจาก Card X ลดลงแต่สินเชื่อใน 1H24 ยังเพิ่มขึ้น 0.5% YTD จากสิ้นปี 2023
  • คุณภาพสินเชื่อทรงตัว โดยมี NPL ratio ลดลงที่ 3.3% และอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ต่อหนี้เสีย (Coverage ratio) อยู่ที่ 161.7% อย่างไรก็ดี Underperforming loans เพิ่มขึ้น 5.9% จากการปรับขึ้นลูกหนี้บริษัทขนาดใหญ่ และได้ตั้งสำรองหนี้ฯ พิเศษ 800 ลบ.ครอบคลุมเฉพาะสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน 500 ลบ. แต่ยังไม่ครอบคลุมสินเชื่อเพื่อโครงการที่มีรวม 11.5 พันลบ.

หาก Credit cost เพิ่มขึ้น 10 bps จากสมมติฐาน 180 bps ในปี 2024 จะส่งผลลบต่อกำไรปี 2024 ลดลง 4.8%

ด้วยปัจจัยความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ และคุณภาพสินเชื่อของลูกค้าที่อาจอ่อนแอลงในอนาคต หาก SCB ต้องกันสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้น ในปี 2024 จากการประเมินในเบื่องต้น เราตังสมมติฐาน Credit cost ที่ 180 bps ในปี 2024 และประเมินว่าทุกๆ 10 bps ของ Credit cost ที่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นราว 2.5 พันล้านบาท จะส่งผลกระทบต่อการประมาณการกำไรสุทธิในปี 2024 ของเราที่ 39.9 พันลบ. ลดลง 4.8%และ ROE ปรับลดลง 0.3% จากคาดการณ์ที่ 8.3% ในปี 2024

- Advertisement -