บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

BCPG: ช่วง high season ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หนุนกำไร 3Q21 ขึ้น

BCPG รายงานกำไรสุทธิใน 3Q21 ที่ 685 ล้าบาท (+2%YoY, +21%QoQ) สอดคล้องคาดการณ์ ขณะท่ีกำไรสุทธิ 9M21 คิดเป็น 79% ของประมาณการทั้งปีของเรา

  • หากไม่รวมรายการพิเศษ กำไรปกติจะอยู่ท่ี 709 ล้านบาท (+10%YoY, +41%QoQ)
  • ปัจจัยหนุนการเติบโตหลักๆมาจากส่วนแบ่งรายได้ท่ีสูงขึ้นจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำในลาว และโรงไฟฟ้าพลังลมในไทย ซึ่งได้แรงหนุนมาจากช่วง high season ของกิจการ และส่วนแบ่งกำไรท่ีดีขึ้นจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซีย
  • คาดกำไรปกติใน 4Q21 จะลดลง QoQ จากช่วง low season สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ขณะท่ีมองว่าการเติบโต YoY จะมาจากการเร่ิมเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 28MW ใน 4Q21 และส่วนแบ่งจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซียท่ีปรับดีขึ้น

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายที่ 18.0 บาท อิงวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC 5.1% และ TG 1%) มูลค่าหุ้นของเราอิง 20xPE’22E คาด BCPG จะประกาศการขยายกำลังการผลิตเพิ่มใน 4Q21-1H22 เพื่อชดเชยโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (adder) ในไทยที่จะหมดสัญญาลง

สรุปผลประกอบการ

  • BCPG รายงานกำไรสุทธิใน 3Q21 ท่ี 685 ล้านบาท (+2%YoY,+21%QoQ) สอดคล้องคาดการณ์ ขณะที่กำไรสุทธิ 9M21 คิดเป็น 79% ของประมาณการทั้งปีของเรา
  • หากไม่รวมรายการพิเศษกำรปกติจะอยู่ที่ 709 ล้านบาท (+10% YoY, +41% QoQ)
  • ปัจจัยหนุนการเติบโตมาจาก 1) ส่วนแบ่งรายได้ที่สูงขึ้นจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำในลาว (ปริมาณน้ำฝนมากขึ้น) และโรงไฟฟ้าพลังลมในไทย (ความเร็วลมดีขึ้น) และ 2) ส่วนแบ่งกำไรที่ดีขึ้นจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซีย และโรงไฟฟ้าพลังลมในฟิลิปปินส์
  • รายได้ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ 1.3 พัน ล้านบาท (+5%YoY, +20% QoQ) หนุนจากช่วง high season ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Nam San 3A และ 3B)
  • ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมอยู่ที่ 150 ล้านบาท (+49%YoY, -4% QoQ) การเติบโต YoY มาจากส่วนแบ่ง กำไรที่ดีขึ้นจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซีย (ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นและต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ)
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ใน 3Q21 อยู่ที่ 70% ที่โตขึ้น QoQ เป็นผลจากอัตรากำไรของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (ลาว) และโรงไฟฟ้าพลังลม (ไทย) ที่ปรับดีขึ้น

Revenue Breakdown

ธุรกิจหลักของบริษัทคือการผลิตพลังงานจากพลังงานทดแทน รวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์ ลม พลังน้ำ และความร้อนใต้พิภพ บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 162.5MW ในประเทศไทย โดยจำหน่ายไฟฟ้าให้กับ กฟภ. และ กฟผ. ซึ่งรายได้ 72% ของบริษัทนั้นมาจากการขายไฟฟ้าในประเทศ

และบริษัทย่อยของบริษัทเป็นเจ้าของและดำเนินงานธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 5 แห่ง ในญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตรวม 14.7MW ซึ่งคิดเป็น 4.5% ของรายได้รวม อีกทั้งบริษัทได้ขยายการดำเนินงานไปยังประเทศลาวในปี 2019 มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 114MW ซึ่งรายได้ส่วนนี้คิดเป็น 22% ของรายได้รวม

บริษัทยังได้ร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานลม 36MW ใน ฟิลิปปินส์ (สัดส่วนการถือหุ้น 40%) และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซียขนาด 955MW (สัดส่วนการถือหุ้น 17-20%) โดยในปี 2020 บริษัทรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม และกิจการร่วมค้าคิดเป็นสัดส่วนที่ 26% ของกำไรรวมของบริษัท

- Advertisement -