Daily Focus: กนง.คงดอกเบี้ยแต่มีสัญญาณอ่อนลง // FOMC Minutes Dovish ตามคาด

2024 SET Target: 1470

ตลาดหันวานนี้ : SET Index ปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่องอีก 9.71 จุด ที่ระดับ 1,337.83 จุด สามารถทะลุผ่านแนวต้านสำคัญโซน 1,330-1,332 จุดได้ ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 4.1 หมื่นลบ.หนุนโดยหุ้นขนาดใหญ่กระจายตัว นำโดยกลุ่มการแพทย์ ธนาคาร พลังงาน เป็นต้น ยังคงได้แรงส่งจากสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นฝั่งละ 756-793 ลบ. (ต่างชาติ Long Index Futures อีกเกือบ 1.1 หมื่นสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะยังแกว่งตัวในแดนบวกต่อเนื่องสู่กรอบ 1,335-1,350 จุด หนุนจากทั้งภาพเทคนิค หลังทะลุผ่านแนวต้าน 1,330-1,332 จุด รวมถึงบรรยากาศการลงทุนโดยรวมทั่วโลกที่เป็นบวก  หลังวานนี้รายงานการประชุม FED ออกมาโทน Dovish รวมถึงมีการปรับลดตัวเลขการจ้างงานในช่วง เม.ย. 23 – มี.ค. 24 ลง 8.18 แสนตำแหน่ง ตอกย้ำว่าจะเห็นการลดดอกเบี้ยของ FED ในเดือน ก.ย. ค่อนข้างแน่ ส่วนจะปรับลดกี่ครั้งยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจระยะถัดไป โดยเฉพาะการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ส.ค.ที่จะประกาศต้นเดือนหน้า ส่วนปัจจัยในประเทศวานนี้ กนง.คงดอกเบี้ยที่ 2.5% ตามคาด แต่ส่งสัญญาณให้จับตาความเสี่ยงด้านต่ำของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงระบุว่าภาวะการเงินตึงตัวขึ้นบ้าง สะท้อนภาพที่อ่อนลงและเปิดช่องในการลดดอกเบี้ยในอนาคตมากขึ้น ส่วนการจัดตั้งครม.ใหม่ คาดว่าจะทยอยชัดเจนและเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ภายใน ก.ย. เป็นแรงหนุนให้ตลาดฟื้นตัวจากความคาดหวังเชิงบวกต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะออกมาในระยะถัดไป นอกจากนี้การกลับมาของกองทุนวายุภักษ์วงเงิน 1-1.5 แสนลบ.จะเป็นอีกปัจจัยหนุนให้ดัชนีฟื้นตัวได้ใน 4Q24 เราประเมินว่า SET Index ควรกลับไปซื้อขายที่ระดับ 1,360-1,380 จุด ใกล้เคียงเดือน พ.ค. ก่อนที่จะมีความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นอย่างน้อย หุ้นขนาดใหญ่คาดว่ายังนำตลาด จากกระแสเงินทุนที่คาดว่าจะกลับมาอยู่ในทิศทางไหลเข้า

กลยุทธ์ : เลือกุหุ้นที่มีแนวโน้มกำไร 2H24 แข็งแกร่งต่อเนื่อง // ส่วนที่สะสมในช่วงก่อนหน้า ยังถือลงทุนต่อเนื่องระยะกลาง-ยาว

หุ้นเด่นเดือน ส.ค.: BA, CHG, CPALL, ITC, MAGURO

FSSIA Portfolio: AOT, CHG, CPALL, CPN, GPSC, HANA, KCG, KTB, SHR, SJWD, TU

หุ้นเด่น Finansia 22 ส.ค. 24 : KTB

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 19.90 บาท
  • เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อทิศทางสินเชื่อของ KTB ใน 2H24 ล่าสุดเดือน ก.ค.24 สินเชื่อสุทธิอยู่ที่ 2.37 ล้านลบ. +1.6% m-m จากที่ลดลงต่อเนื่อง 3 เดือน และพลิกกลับมาเติบโต +1.9% y-y หนุนด้วยการเบิกใช้สินเชื่อของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงสินเชื่อรายย่อยที่บวกเล็กน้อยจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อส่วนบุคคล ขณะที่สินเชื่อ Corporate และ SME ค่อนข้างทรงตัว 
  • สินเชื่อสุทธิใน 7M24 ปัจจุบัน +1.2% สูงกว่าคาดการณ์ทั้งปีของเราที่ +1% y-y และเริ่มสอดคล้องกับ Guidance ของธนาคารฯที่ 3% y-y หากช่วงที่เหลือของปี 2024 ยังทำได้ดีต่อเนื่องจะเป็น Upside ของประมาณการ โดยทุก 1% ของสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นจะบวกต่อกำไรสุทธิ 1.1% ยังเป็นหนึ่งใน Top Pick กลุ่มธนาคาร
  • แนวรับ 18-17.80 บาท แนวต้าน 18.60//18.90-19 บาท

Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนผสมผสาน สุทธิแล้วพลิกมาไหลออกจากภูมิภาค US$175 ล้าน นำโดยเกาหลีใต้ US$227 ล้าน ตามด้วยไต้หวัน US$88 ล้าน ส่วนอาเซียนเม็ดเงินยังค่อนไปในทางไหลเข้า ยังคงนำโดยอินโดนีเซีย US$116 ล้าน ส่วนไทยไหลเข้า US22 ล้าน มีเพียงเวียดนามที่ไหลออก US$9 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่ามีโอกาสพลิกมาไหลเข้าจากรายงานการประชุม FED ที่ส่งสัญญาณชัดเจนกับการลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. ขณะที่ตลาดยังรอติดตามการแถลงของประธาน FED ในสัมมนาประจำปีที่ Jackson Hole

ประเด็นสำคัญวันนี้

(-) กลุ่มเดินเรือ หลายบริษัทเดินเรือโลกคาดค่าระวางเรือมหาสมุทรจะปรับลดลงในปี 2025 จาก Demand ที่ชะลอตัว และ Supply เรือเติบไตสูงขึ้น โดย Demand ที่ลดลงจะมาจากผู้นำเข้ามี Inventory อยู่ในระดับสูง และมีความเป็นไปได้ที่สงครามการค้าระหว่างจีนสหรัฐจะกลับมาทำให้มีความเสี่ยงด้านอุปสงค์เพิ่มขึ้น รวมถึงความขัดแย้งในทะเลแดงและคลอง Suez จะคลี่คลายลงในปี 2025 และระดับน้ำในคลองป่านามากลับสู่ภาวะปกติ ทำให้เส้นทางการเดินเรือโลกกลับมาเป็นปกติ โดย Clarkson Research คาด supply เรือ Bulk จะเติบโตมากกว่า Demand ที่เพิ่มขึ้นในปี 2025 ส่วนเรือ Container จะเผชิญกับภาวะ Oversupply ในปี 2025 ซึ่งจะส่งผลให้ค่าระวางเรือ Container ปรับลงแรง ส่วนค่าระว่างเรือ Bulk อาจไม่ได้ปรับลงเร็ว เราปรับลดประมาณการกำไรของหุ้นในกลุ่มเรือ bulk จากที่คาดูว่าค่าระวางจะปรับลงในปี 2025 และปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2025 และปรับลดคำแนะนำจาก ซื้อ เป็น ถือ สำหรับ PSI และ TTA

(-) กลุ่มธนาคาร สินเชื่อเดือน ก.ค.24 ยังติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ภาพรวม 7M24 ยังติดลบ -0.6% YTD ต่ำกว่าเป้าหมายสินเชื่อทั้งปี 2024 ที่เราคาด 1.5% y-y ส่วนใหญ่มีการเติบโตของสินเชื่อสุทธิลดลง m-m ยกเว้น KTB และ SCB ที่แสดงการเติบโตของสินเชื่อเพิ่มขึ้นสูงสุด ขณะที่ TISCO ติดลบเล็กน้อย เรายังคงน้ำหนักลงทุนน้อยกว่าตลาด เนื่องจากคาดการณ์กำไรสุทธิรวมปี 2024 ที่เติบโตชะลอตัวมากเพียง 1.5% y-y จากฐานสูงปีก่อน และสอดคล้องกับ guidance ปี 2024 ที่ยังเน้นนโยบายระมัดระวังคุณภาพสินเชื่อ หุ้น Top pick คือ KTB (ราคาเป้าหมาย 19.90 บาท) TTB (ราคาเป้าหมาย 2.22 บาท) และ KBANK (ราคาเป้าหมาย 145 บาท)

(+) SIRI ขายหุ้น 71% ใน The Standard International ให้กลุ่ม Hyatt มูลค่าไม่เกิน 1.2 หมื่นลบ. คาดแล้วเสร็จเดือนก.ย. โดย SIRI ได้รับค่าตอบแทนเริ่มแรก (Upfront) คาด 3.3-3.6 พันลบ.ใน 3Q24 ส่วนค่าตอบแทนเพิ่มเติมสูงสุด 185 ล้านเหรียญฯ จะได้รับเมื่อดำเนินการตามเงินส่วนแรกไปชำระคีนหุ้นกู้ที่ครบใน 4Q24 รวม 4.9 พันลบ. นอกจากนี้ การบันทึกกำไรพิเศษขายเงินลงทุนใน 3Q24 คาดหนุนให้ผลประกอบการโตต่อ q-q ขณะที่ตั้งแต่ 4Q24 ไม่ต้องรับรู้ขาดทุนจาก Standard International ราว -100 ลบ./ไตรมาส ซึ่งเป็น Upside ต่อประมาณการกำไรปี 2025 ราว 6-8% ยังแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 1.90 บาท

(+) CK ภาพธุรกิจรับเหมาฯเป็นบวกจากการรับงานรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.1 แสนลบ. หนุนให้ Backlog ปัจจุบันแตะ 2.2 แสนลบ. เพียงพอต่อการรับรู้รายได้เหนือ 3-4 หมื่นลบ./ปี ไปอีก 4-5 ปีข้างหน้า ทำให้ลดแรงกดดันในการเข้าแข่งขันเพื่อต้องเร่งหางานเข้ามาเติม โดยใน 2H24 คาดรายได้ยื่นมากกว่า 9 พันลบ./ไตรมาส และ GPM 7-8% จากโรงไฟฟ้าหลวงพระบาง, รถไฟทางคู่เด่นชัย, รถไฟฟ้าม่วงใต้ ส่วนรถไฟฟ้าสีสัมทยอยเริ่มงานช่วงแรกตั้งแต่ปลายปีนี้ และรับรู้รายได้มากขึ้นปี 2026 ขณะที่มีงานใหม่ที่สนใจเข้าร่วมประมูล 4.8 แสนลบ.และมีโอกาสรับงานจาก BEM ในทางด่วน Double Deck ทิศทางกำไร 3Q24 โต q-q, y-y คงคำแนะนำซื้อ ราคาเหมาะสม 27 บ. เป็น Top Pick กลุ่มรับเหมาฯ

(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 55.52 จุด หรือ +0.14% ปิดที่ 40,890.49 จุด หลังจากรายงานการประชุมของ เฟด เป็นปัจจัยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. อย่างไรก็ดี ตลาดปรับตัวในกรอบแคบ ๆ เนื่องจากนักลงทุนประเมินรายงานการทบทวนตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ

(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวก นำโดยหุ้นกลุ่มรถยนต์ ขณะที่นักลงทุนรอการเปิดเผยรายงานการประชุมเดือนก.ค.ของเฟด เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินทั่วโลก

(+) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดบวก หลังรายงาน PMI ของออสเตรเลีย และญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้ m-m

(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 34.26 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ +0.54%

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 1.24 ดอลลาร์ หรือ 1.69% ปิดที่ 71.93 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐปรับลดการประเมินตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ ในขณะที่เช้านี้ลบอยู่ที่ระดับ 71.80 ดอลลาร์/บาร์เรลหรือ -0.18%

(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 3.10 จุด 0.12% ปิดที่ 2,547.50 ดอลลาร์/ออนซ์ อย่างไรก็ดี สัญญาทองคำยังคงเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากรายงานการประชุมของเฟดบ่งชี้ว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. ขณะที่นักลงทุนจับตาการกล่าวสุนทรพจน์ของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ในการประชุมที่เมืองแจ็กสัน โฮล เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยเฟด ในขณะที่เช้านี้บวกอยู่ที่ระดับ 2,548.60 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ +0.04%

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 856.70/ -0.07%

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

22 ส.ค.สหรัฐ: Initial Jobless Claims, ยอดขายบ้านมือสอง (ก.ค.)
23 ส.ค.ญี่ปุ่น: เงินเฟ้อ (ก.ค.)

ไทย: ยอดขายรถยนต์ (ก.ค.)

สหรัฐ: Jackson Hold Symposium

26 ส.ค.ไทย: ส่งออก (ก.ค.)
27 ส.ค.จีน: GDP 2Q24 (Final)
29 ส.ค.สหรัฐ: 2Q24 GDP growth rate (2nd), Initial Jobless Claims
- Advertisement -