บล.กรุงศรีฯ:

KSS Research Update : ประเด็นข่าวทีวีดิจิทัลชงต่อใบอนุญาต 5 ปี ขดเชยช่วงขาดทุน (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 29 ส.ค. 24)

• วานนี้ (28 ส.ค.) กสทช. สมาคมทีวีดิจิทัล และทีวีสาธารณะทุกช่องจัดงาน “1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล” หาทางออกทีวีดิจิทัลเหลือสัญญาสัมปทานอีกแค่ 4 ปี (สิ้นสุดปี 2029)

• ผู้ประกอบการเห็นพ้องไม่ควรมีการประมูลอีกแล้ว แต่ใช้วิธีต่อใบอนุญาต​หรือการประกวดคุณสมบัติแทน (บิวตี้ คอนเทสต์)​ 

• ผู้ประกอบการเสนอต่อใบอนุญาตอัตโนมัติ 5 ปี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม (ต้องแก้ พ.ร.บ.คลื่นความถี่ฯ) เพื่อชดเชยความเสียหายหรือผลขาดทุนของการดำเนินธุรกิจทีวีดิจิทัลช่วง 5 ปีแรก 

• ประวิทย์ มาลีนนท์ อดีตผู้บริหารช่อง 3 เผย กสทช.ยังมีวงเงินจากการประมูลทีวีดิจิทัลครั้งก่อน 3 หมื่นลบ. ซึ่งนำมาสนับสนุนอุตสาหกรรมทีวีให้เดินหน้าต่อได้

• นายสิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระ เผยก่อนสิ้นสุดสัมปทานปี 2029 มีหลายแนวทางจากต่างประเทศที่นำมาปรับใช้ได้ เช่น ที่ US ผู้ประกอบการทีวีขยายไปทำทีวีระบบสตรีมมิ่ง, UK มีการรวมกลุ่มจากภาครัฐและเอกชนทำแพล็ตฟอร์มสตรีมมิ่งและได้งบสนับสนุนจากภาครัฐ และเกาหลีใต้ภาครัฐสนับสนุนงบผลิตคอนเทนต์ 2,500 ล้านดอลลาร์ เป็นต้น

ความเห็น

• เรามอง Positive ต่อการจัดเสวนาข้างต้นนับเป็นจุดเริ่มต้นในการจัดการความไม่แน่นอนของอุตฯ สื่อทีวีที่ทีวีดิจิทัลที่กำลังจะสิ้นสุดสัมปทานในอีก 4-5 ปีข้างหน้า

• เรามองมีความเป็นไปได้ที่ภาครัฐจะสนับสนุนทีวีดิจิทัลให้เดินหน้าต่อได้เนื่องจากยังเป็นสื่อหลักที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงประชากรทั่วประเทศ ภาครัฐสามารถใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับประชากร

• เบื้องต้น หากต่อใบอนุญาต​อัตโนมัติโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 50-150 ลบ.ต่อปี (ขึ้นอยู่กับประเภทช่อง โดย 50 ลบ.สำหรับช่อง SD วาไรตี้ เช่น Workpoint TV, ช่อง 8 และ GMM25 เป็นต้น และ 150 ลบ. สำหรับช่อง HD วาไรตี้ เช่น One31 และช่อง 3 Original เป็นต้น) เป็น Upside ต่อประมาณการ (ปัจจุบันเราประเมินภายใต้สมมติฐานมีการต่ออายุใบอนุญาตโดยมีค่าใช้จ่ายตัดจำหน่ายใบอนุญาต​คงที่เท่าปีปัจจุบัน และเชื่อว่าตลาดก็ใช้สมติฐานเดียวกัน)​ โดยเรามอง ONEE จะได้ประโยชน์มากที่สุดเนื่องจากมีทีวีดิจิทัล 2 ช่อง รองลงมาเป็น BEC เนื่องจากออกอากาศในรูปแบบวาไรตี้ HD และตามมาด้วย WORK และ RS ที่ออกอากาศในรูปแบบวาไรตี้ SD

• เรามองว่านอกจากความไม่แน่นอนในการต่ออายุสัมปทานทีวีดิจิทัล อุตฯ สื่อทีวียังมีความไม่แน่นอนจากการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อ ที่สื่อทีวีกำลังถูกแข่งขันจากสื่อออนไลน์และ OTT platform ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเราจึงยังให้น้ำหนัก NEUTRAL สำหรับหุ้นกลุ่มสื่อทีวี และเลือก ONEE (Buy, TP 5.55) เป็นหุ้นเด่นของกลุ่มสื่อทีวี 

• ขณะที่ภาพรวมหุ้นกลุ่ม Media เรายังมองสื่อนอกบ้านน่าสนใจกว่าสื่อทีวีจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อน้อยกว่า และยังมีโอกาสเติบโตจากการให้บริการที่มีมูลค่าเพิ่มแก่ลูกค้ามากขึ้น (เช่น การใช้ AI + กล้อง CCTV ในการประเมินผลหรือรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมายของป้ายโฆษณาในทำเลต่างๆ เป็นต้น)​ โดยเลือก PLANB (Buy, TP 10.6) เป็นหุ้น Top pick ของกลุ่มฯ

 

- Advertisement -