คาดกรอบ SET Index สัปดาห์นี้จะแกว่ง sideway ในกรอบ 1,360 +/- 15 จุด และ มีแนวรับ/แนวต้านสำคัญที่ 1,350 และ 1,385 จุด

สรุปภาพรวมตลาด : ตลาดหุ้นสหรัฐฯ สัปดาห์ที่แล้ว (30 ส.ค.) ปิดในแดนบวก (ดัชนี DJIA +0.55% ในขณะที่ S&P500 และ Nasdaq ปิดสูงกว่า 1%) ตอบรับแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในเดือนก.ย. ที่ชัดเจนขึ้น หลังตัวเลข Headline PCE เดือนก.ค. ปรับตัวขึ้น 2.5% yoy ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 2.6% yoy และ Core PCE เดือนก.ค. ปรับตัวขึ้น 2.6% yoy ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 2.7% yoy

  • ภาพดังกล่าว ทำให้ตลาด, CME FedWatch Tool คาดว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 100% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนก.ย. โดย 70% ให้น้ำหนักว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงที่ระดับ 5.25%
  • สำหรับสัปดาห์นี้ ติดตาม รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ ในวันอังคาร (3 ก.ย.) และ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนส.ค. ในวันศุกร์ (6 ก.ย.)
SET Index : เราคาดกรอบ SET Index สัปดาห์นี้จะแกว่ง sideway ในกรอบ 1,360 +/- 15 จุด และ มีแนวรับ/แนวต้านสำคัญที่ 1,350 และ 1,385 จุด
สำหรับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจรายงานดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนก.ค. ของไทย เกินดุล 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่ำกว่าที่ตลาดคาดว่าจะเกินดุล 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ (+13.1% yoy)
  • นอกจากนี้ ธปท. ระบุว่า รายงานเศรษฐกิจไทยเดือนก.ค. โดยรวมปรับตัวดีขึ้น จากปัจจัยสนับสนุนด้านการส่งออก และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและบริการขยายตัวขึ้น
  • แนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า จะยังได้รับแรงบวกจากภาคการท่องเที่ยวและบริการ
  • เราคงคาดการณ์การเติบโตของ GDP ที่ 2.7% สำหรับปี 2024F และ 3% สำหรับปี 2025F โดยปัจจัยขับเคลื่อนใน 2H24F ได้แก่ การส่งออก การเบิกจ่ายงบประมาณ การท่องเที่ยว และโครงการดิจิทัลวอลเล็ต
  • ตลาดยังคงติดตามการประกาศ ครม. ชุดใหม่ ที่คาดว่าจะเสร็จสิ้นในสัปดาห์นี้ และคาดว่าจะมีแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะเดินหน้าต่อ

หุ้นแนะนำ

  • KBANK : เราคาดว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.50% ในปี 2024F โดยการปรับลดน่าจะเกิดขึ้นในช่วง 1H25F เรายังแนะนำ KBANK เป็น Top pick ในกลุ่มแบงก์ เนื่องจากการขาย NPL และกลยุทธ์การจัดการในเชิงรุกมากที่สุดในกลุ่มธนาคารไทยที่เราทำการศึกษา ซึ่งน่าจะทำให้ KBANK มีอัตราการสำรองหนี้สูญลดลงในปี FY25-26 และส่งผลให้ EPS เติบโตแข็งแกร่งในอัตรา 9.5-12.2% (Take profit : 145.20 / Stop loss : 142.00)
  • ADVANC : AIS มีกำไรสุทธิ และ EBITDA เติบโตสูงใน 2Q24 เพราะผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นสุทธิแข็งแกร่ง การแข่งขันที่ลดลง ส่งผลให้ ARPU เติบโตเป็นบวกใน 2Q24 เราจึงประบประมาณการ EPS ในปี FY24-26 ขึ้น 3.4-6.9% (Take profit : 249.67 / Stop loss : 246.00)

Daily Global Market

In News:

  • ตลาดหุ้นสหรัฐ ดัชนี Dow Jones ปิดบวก และแตะที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด ซึ่งหนุนคาดที่ว่า FED จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเดือนกันยายน
  • การใช้จ่ายส่วนบุคคลผู้บริโภคสหรัฐประจำเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 0.5% สอดคล้องคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 0.3% เดือนก่อน ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.3% MoM ในเดือนกรกฎาคม หลังจากเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนมิถุนายน
  • ดัชนี PCE ทั่วไปสหรัฐประจำเดือนกรกฎาคมปรับขึ้น 0.2% MoM สอดคล้องคาดการณ์นักวิเคราะห์ และขยับขึ้น 2.5% YoY ต่ำกว่าระดับ 2.6% ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ส่วนดัชนี Core PCE ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงานขยับบวก 0.2% MoM สอดคล้องคาดการณ์นักวิเคราะห์ และปรับตัวขึ้น 2.6% YoY ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 2.7%
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐประจำเดือนสิงหาคมขยับขึ้นสู่ระดับ 67.9 เป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกหลังจากร่วงลง 4 เดือนติดต่อกัน และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 67.8 ของนักวิเคราะห์ ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคคาดว่า เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น 2.8% ในช่วง 1 ปีข้างหน้า ลดลงจากตัวเลข 2.9% ที่คาดการณ์เดือนก่อนหน้า และจะเพิ่มขึ้น 3.0% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขคาดการณ์ในเดือนที่แล้ว
  • สำนักงานสถิติของยุโรป (Eurostat) ชี้ว่า เงินเฟ้อยูโรโซนประจำเดือนสิงหาคมลดลงสู่ระดับ 2.2% อัตราต่ำสุดนับแต่กรกฎาคม 2021 และอยู่ใกล้เป้าหมายเงินเฟ้อของ ECB ที่ระดับ 2% จากข้อมูลดังกล่าวยืนยันว่า ECB น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมเดือนกันยายน
  • ราคาบ้านในอังกฤษลดลงอย่างกะทันหันในเดือนสิงหาคม เป็นการลดลงรายเดือนครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเมษายน แต่แนวโน้มของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มที่จะแข็งแกร่งขึ้น ราคาบ้านในเดือนนี้ลดลง 0.2% ขณะที่ Reuters คาดว่า ราคาจะเพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนกรกฎาคม
  • อัตราเงินเฟ้อฝรั่งเศสเดือนสิงหาคมต่ำกว่าปีที่แล้วจากราคาน้ำมันและไฟฟ้าที่ถูกลง อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.2% ลดลงจาก 2.7% ในปีที่แล้ว สูงกว่าคาดเล็กน้อย ราคาค่าไฟฟ้าลดลง แต่ราคาบริการ เช่น ที่พักและค่าขนส่งกลับเพิ่มขึ้น ราคาอาหาร สินค้าอุตสาหกรรม และยาสูบทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน โดยรวมแล้ว อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1.9% จากปีที่ผ่านมา ลดลงจาก 2.3% ในเดือนกรกฎาคม
  • การว่างงานของเยอรมนีอยู่ที่ 6.0% ในเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่ 3 แสดงให้เห็นตลาดงานที่มั่นคง แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวก่อนหน้านี้ก็ตาม การขอรับสวัสดิการว่างงานใหม่น้อยกว่าที่คาดไว้ และตำแหน่งงานว่างลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แม้ว่าเศรษฐกิจจะหดตัว ตลาดงานยังคงมีจุดแข็ง แต่แนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมยังคงไม่แน่นอน
  • ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นประจำเดือนกรกฎาคมปรับตัวขึ้น 2.6% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งปรับลดลงจากระดับ 3.7% ของเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่าระดับคาดการณ์ที่ 2.9%
  • อัตราการว่างงานญี่ปุ่นประจำเดือนกรกฎาคมแตะที่ 2.7% หลังปรับขึ้นจาก 2.5% เดือนมิถุนายน ขณะที่สัดส่วนการว่างงานต่อผู้สมัครงานอยู่ที่ 1.24 ปรับขึ้นจาก 1.23
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเดือนกรกฎาคมปรับขึ้น 2.8% MoM จากการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ขยับขึ้น
  • อัตราเงินเฟ้อกรุงโตเกียวกรกฎาคมเพิ่มขึ้นสู่ 2.6% จาก 2.2% เดือนมิถุนายน สูงสุดนับแต่เดือนมีนาคม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดเพิ่มขึ้น 2.4% สูงกว่า Reuters คาด 2.2%
  • Reuters เผย ราคาบ้านจีนจะลดลงเร็วกว่าคาดก่อนหน้าในปีนี้และปีหน้า ขณะที่นโยบายสนับสนุนจากปักกิ่งพยายามดิ้นรนเพื่อช่วยหนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ การสำรวจพบว่า ราคาบ้านจะลดลง 8.5% ในปี 2024 เทียบกับการลดลง 5.0% ขณะที่ในปี 2025 คาดว่า ราคามีแนวโน้มที่จะลดลง 3.9%
  • กิจกรรมโรงงานของจีนมีแนวโน้มหดตัวเป็นเดือนที่ 4 ในเดือนสิงหาคม ตอกย้ำความจำเป็นที่ทางการจะต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อภาคครัวเรือนมากขึ้น และน้อยลงต่อโครงการก่อสร้าง ดัชนี PMI คาดว่าจะอยู่ที่ 49.5 เพิ่มขึ้นจากการอ่านเดือนกรกฎาคมที่ 49.4
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ร่วงลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนกรกฎาคมจากการผลิตที่ซบเซาในภาคเซมิคอนดักเตอร์และยานยนต์ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมประจำเดือนกรกฎาคมลดลง 0.4% MoM แต่หากพิจารณารายปี ตัวเลขขยับขึ้น 0.7% YoY
  • ยอดค้าปลีกออสเตรเลียทรงตัวเดือนกรกฎาคม หลังผยออกมาในเชิงบวกช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ได้แรงหนุนจากกิจกรรมลดราคาต่างๆ การใช้จ่ายด้านเสื้อผ้าและห้างสรรพสินค้าได้รับความนิยม เนื่องจากนักช้อปประหยัดเงินมากขึ้น สำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย (ABS) เผย ยอดค้าปลีกในเดือนกรกฎาคมไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้น 0.5% นักวิเคราะห์มองว่าจะบวก 0.3%

Stock Movement:

  • หุ้น Dell Technologies Inc. (DELL NYSE) เพิ่มขึ้น 4.33% หลังจากยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีรายงานผลประกอบการ 2Q สูงเกินคาด เพิ่มการคาดการณ์กำไรประจำปี ซึ่งขับเคลื่อนโดยรายได้ที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในธุรกิจโซลูชันโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากความต้องการเซิร์ฟเวอร์ที่ปรับให้เหมาะกับ AI ที่แข็งแกร่ง\
  • หุ้น Ulta Beauty Inc. (ULTA ND) ลดลง 4.01% หลังจากบริษัทเครื่องสำอางตัดลดคาดการณ์ยอดขายและกำไรประจำปี จากความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและน้ำหอมราคาสูงลดลง
  • หุ้น Lululemon Athletica Inc. (LULU ND) ปรับบวก 0.18% หลังจากร้านค้าปลีกเสื้อผ้ากีฬารายงานผลประกอบการที่ดีกว่าคาด แม้ว่าจะตัดการคาดการณ์ยอดขายและกำไรประจำปี เนื่องจากความต้องการลดลงในอเมริกาเหนือท่ามกลางการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เลือกจับจ่ายมากขึ้น
  • หุ้น Intel Corp. (INTC ND) พุ่งขึ้น 9.49% หลังจาก Bloomberg รายงานว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีกำลังพิจารณาแยกธุรกิจโรงหล่อและยกเลิกแผนสำหรับโรงงานใหม่ เนื่องจากพยายามรับมือการชะลอตัวที่รุนแรง
  • หุ้น Nokia Oyj (NOKIA HEL) ปรับตัวลง 0.050% JPMorgan กล่าวว่า เงินสดสำรองที่แข็งแกร่งของ Nokia และการซื้อหุ้นคืนอย่างรวดเร็วบ่งชี้ว่า บริษัทกำลังอยู่ในเส้นทางการเติบโต พร้อมคาดว่า จะกลับมาเติบโตอีกครั้งในช่วง 2H2024 และดำเนินต่อไปในปี 2025
  • หุ้น ThyssenKrupp AG (TKA ETR) ร่วงลง 0.93% มีรายงานว่า ประธานบริษัทและ CEO แผนกเหล็กตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง
  • หุ้น Xpeng Inc. (9868 HK) ทะยานสูงขึ้น 8.33% Xpeng MONA MO3 บันทึกคำสั่งซื้อจำนวนมากได้มากกว่า 30,000 รายการภายใน 48 ชั่วโมงหลังเปิดตัว
  • หุ้น Meituan (3690 HK) ปิดบวก 2.16% BOCOM International ปรับราคาเป้าหมาย Meituan ขึ้น 5.4% สู่ระดับ HKD 136 และคงเรตติ้ง Buy ขณะเดียวกัน ก็คาดการณ์อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิอย่างมีนัยสำคัญที่ 70% ในปี 2024 และ 20% ในปี 2025
  • หุ้น Li Auto Inc. (2015 HK) บวก 7.79% BoCom International คงเรตติ้งหุ้นที่ Buy ราคาเป้าหมายที่ HKD 120.34 อ้างถึงความไม่แน่นอนการเติบโตจากปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค สำหรับ 2Q มีรายได้ Rmb 31.68 bn. เกินความคาดหมาย โดยบวก 10.6% YoY
  • หุ้น Ramsay Health Care Ltd. (RHC ASX) ร่วงลง 6.75% หลังผู้ประกอบการโรงพยาบาลกล่าวว่า ผู้ป่วยจะชะลอตัวลงในปีนี้ อัตราเงินเฟ้อของต้นทุนส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของกำไร
  • หุ้น Downer EDI Ltd. (DOW ASX) ทะยานขึ้นอย่างแข็งแกร่ง 16.95% หลังจากบริษัทเผยผลการดำเนินงานที่พลิกกลับสู่กำไรประจำปี
Sources: aastocks, briefing, businesstimes, cnbc, investing, japantoday, nasdaq, ryt9, thestandard
- Advertisement -