Daily Focus: หุ้นสหรัฐฯถูกเทขายทำกำไรอีกครั้ง // จับตาแนวรับ SET บริเวณ 1,350+- จุด
2024 SET Target: 1470
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวขึ้นได้แข็งแรงกว่าที่คาด โดยระหว่างวันปรับตัวขึ้นโดดเด่นสูงถึงราว 16 จุด ก่อนจะชะลอลงเหลือปิดบวก 10.96 จุด ที่ระดับ 1,364.60 จุด มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นขึ้นเป็น 4.2 หมื่นลบ. สถาบันในประเทศเป็นฝ่ายซื้อสุทธิในตลาดหุ้นหนาแน่น 1.7 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่อง แต่บางลงเหลือ 700 ลบ. (และ Short Index Futures บางๆ 1.6 พันสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะปรับตัวลงตามบรรยากาศการลงทุนจากต่างประเทศ ที่เป็นลบ โดยแนวรับหลักระยะสันยังอยู่ที่บริเวณ 1,350+- จุด ภาพรวมถูกกดดันหลังตลาดตอบรับเชิงลบกับตัวเลข PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯเดือน ส.ค. ที่แม้จะฟื้นตัวเล็กน้อยเป็น 47.2 จากเดือนก่อนที่ 46.8 แต่ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 47.5 ทำให้เกิดแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยงค่อนข้างหนัก โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี นำโดย Nvidia ขณะที่กลุ่มพลังงานปรับตัวลงตามราคานำมันที่ร่วงแรงและทำระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน โดยเม็ดเงินไหลเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงต่ำอย่างพันธบัตร โดย Bond Yield 2 และ 10 ปีของสหรัฐฯปรับลง 7-8 bps สู่ระดับ 3.86% และ 3.83% ตามลำดับ จากความกังวลว่า FED จะต้องลดดอกเบี้ยเร็วขึ้น และเริ่มเพิ่มความน่าจะเป็นที่จะเห็นการลดดอกเบี้ย 50 bps ในการประชุมเดือนนี้ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามคือตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ส.ค. ที่จะประกาศวันศุกร์ หากออกมาใกล้เคียงคาดบริเวณ 1.6-1.7 แสนตำแหน่ง คาดว่าจะทำให้ตลาดผ่อนคลายมากขึ้น แต่หากออกมาต่ำกว่าคาดใกล้เคียงเดือน ก่อนที่ราว 1 แสนตำแหน่ง มีโอกาสจะเพิ่มแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยง ส่วนปัจจัยในประเทศสภาฯยังอยู่ระหว่างการพิจารณางบฯปี 68 วาระ 2-3 ขณะที่ครม.ชุดใหม่คาดกระบวนการแต่งตั้งจะแล้วเสร็จภายในกลางเดือนนี้ โดยความคาดหวังของตลาดยังอยู่ที่มาตรการและนโยบายเศรษฐกิจที่จะทยอยออกมาในอนาคต หนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เรายังคาดว่าหุ้นกลุ่ม Domestic Play จะทยอยฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง รวมถึงมีปัจจัยหนุนจากการกลับมาของกองทุนวายุภักษ์วงเงิน 1-1.5 แสนลบ.ที่คาดเม็ดเงินจะเข้าสู่ตลาดหนุนการฟื้นตัวต่อใน 4Q24
กลยุทธ์ : เลือกหุ้นที่มีแนวโน้มกำไร 2H24 แข็งแกร่งต่อเนื่อง // ส่วนที่สะสมในช่วงก่อนหน้า ยังถือลงทุนต่อเนื่องระยะกลาง-ยาว
หุ้นเด่นเดือน ก.ย.: BDMS, CPALL, ICHI, MTC, NSL
FSSIA Portfolio: AOT, CHG, CPALL, CPN, GPSC, KCG, KTB, MTC, NSL, SHR, TU
หุ้นเด่น Finansia 4 ก.ย. 24 : TASCO
- แนะนำ “เก็งกำไร” ราคาเป้าหมายเฉลี่ยจาก IAA consensus 18.50 บาท
- สถานการณ์น้ำท่วมภาคเหนือ-กลางยังต้องติดตามว่าจะรุนแรงขึ้นหรือไม่ ล่าสุดครม.อนุมัติงบประมาณกว่า 3 พันลบ.ในการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม เป็น Sentiment หนุน TASCO จากการซ่อมแซมถนนหนุนความต้องการยางมะตอยในประเทศ
- ขณะที่ภาพรวมแนวโน้มกำไร 2H24 คาดเร่งตัวขึ้นจาก 1H24 จากการเบิกจ่ายงบฯ67 ที่เร่งตัวใน 3Q24 ขณะที่งบฯปี 68 คาดไม่ล่าช้าอย่างมีนัยยะเหมือนปีก่อน ส่วนราคาน้ำมันดิบที่ปรับลงเป็นบวกต่อต้นทุน
- แนวรับ 16.60-16.40 บาท แนวต้าน 17.40//18 บาท
Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนในภูมิภาคยังผสมผสาน สุทธิแล้วไหลออก US$191 ล้าน เม็ดเงินไหลออกจากเกาหลีใต้ US$258 ล้าน แต่ไหลเข้าไต้หวัน US$79 ล้าน ส่วนอาเซียนเม็ดเงินยังไหลเข้าอินโดนีเซียบางๆ US$8 ล้าน แต่ออกจากไทย US$20 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่าจะอยู่ในทิศทางไหลออก หลังตลาดหุ้นสหรัฐฯเผชิญแรงเทขายหนัก โดยตลาดตอบรับเชิงลบกับตัวเลข ISM ภาคการผลิตที่ออกมาต่ำกว่าคาด แม้จะฟื้นตัวได้จากเดือนก่อน
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+) กลุ่มบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) AMC 3 บริษัทที่เราทำการศึกษารายงานกำไรสุทธิ 2Q24 รวม 900 ลบ. +6% q-q, -16% Y-Y จากผลขาดทุนทางเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่สูงขึ้นของ JMT และ CHAYO เราคาดกำไรสุทธิ 2H24 จะโต h-h นำโดย CHAYO ซึ่งน่าจะรายงานผลประกอบการที่ดีขึ้นโดยไม่มี ECL พิเศษ คาดกำไรสุทธิปี 2024 รวมทั้ง 3 บริษัท -5% y-y ส่วนมากจาก JMT ที่คาด -19% y-y จากการเก็บเงินสดที่น่าผิดหวัง ซึ่งจะทาให้ ECL เพิ่มสูงขึ้นและ CHAYO -26% Y-y จาก ECL พิเศษตลอด 1H24 ในขณะเดียวกันเราคาดว่า BAM จะรายงานกำไรโตโดดเด่นที่สุดที่ +19% y-y โดยได้ปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของทั้งธุรกิจ NPL และ NPA เราเลือก BAM (ราคาเป้าหมาย 9 บาท) เป็น Top Pick จากการเติบโตของกำไรที่มาก ที่สุด และ Dividend Yield ที่ 6-7% ต่อปี
(+) กลุ่มปิโตรเคมี ราคาหุ้นปรับขึ้นแรงกว่านี้ เราเชื่อว่าน่าจะมาจาก 2 เหตุผล คือ 1) แรงซื้อกลับหลังราคาหุ้นปรับลงแรงก่อนหน้านี้ และสะท้อนผลประกอบการที่แย่ไปมากแล้ว โดย IVL ราคาร่วงกว่า 7% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาหลังที่ถูกถอดออกจาก MSCI index ส่วน PTTGC และ IRPC ราคาหุ้นปรับขึ้นมาต่อเนื่องหลังแตะระดับต่ำสุดเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน อาจรับกระแสข่าวปตท. จะมีนโยบายหาพันธมิตรเข้ามาร่วมทุน JV ในบริษัทลูกที่อยู่ในช่วงวงจรขาของธุรกิจปิโตรเคมี 2) เชื่อว่า Downside ของหุ้นกลุ่มนี้จำกัดมากขึ้น แม้ราคาปิโตรเคมียังถูกกดดันจากปัญหา Oversupply แต่ก็เริ่มเห็นการ destock ที่ลดลง ทำให้เชื่อว่าราคาปิโตรเคมีมี downside จำกัดประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับลงจะทำให้ต้นทุนวัตถุดิบปรับลงและ margin กว้างขึ้น เชื่อว่าหากสถานะการณ์นี้ยังอยู่ยังเป็นจังหวะเก็งกำไรระยะสั้นได้
(+) PHG คาดกำไรปกติ 3Q24 โตต่อเนื่อง โดยได้ปัจจัยผลักดันจากรายได้จากผู้ป่วยที่ชำระเงินด้วยตนเองที่อยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ PHG ได้ยื่นคำขอเพิ่มโควต้าผู้ป่วยประกันสังคมเป็น 1.7 แสนคน ในปี 2025 (จาก 1.56 แสนคนในปัจจุบัน) หนุนการเติบโตและให้ Upside แก่ประมาณการกำไรของเรา ส่วนโครงการก่อสร้างอาคารใหม่ 2 แห่ง กำหนดเปิดถูกเลื่อนออกไป 6 เดือนเป็น 4Q25 และ 1Q26 เราปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2024-26 ลง 2-4% เพื่อสะท้อนการปรับลดอัตราการจ่ายเงินของ SSO และ NHSO รวมถึงความล่าช้าของโครงการก่อสร้างอาคาร 2แห่ง แต่คงราคาเป้าหมาย 21 บาท แนะนำ “ซื้อ”
(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 626.15 จุด หรือ -1.51% ปิดที่ 40,936.93 จุด ร่วงลงอย่างหนักในวันอังคาร (3 ก.ย.) หลังจากมีรายงานว่าภาคการผลิตของสหรัฐฯหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ตลาดวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯในวันศุกร์นี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากเท่าใด
(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ โดยลดลงมากที่สุดในรอบ 1 เดือน เนื่องจากข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแอของสหรัฐฯ ทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายก่อนการเปิดเผยข้อมูลการ จ้างงานของสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้
(-) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดลบ นำโดยตลาดนิกเกอิที่ปรับตัวลดลงถึง 3% ด้วยอิทธิพลของรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อ่อนกว่าคาด
(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 34.26 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ +0.21%
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ร่วงลง 3.21 ดอลลาร์ หรือ 4.36% ปิดที่ 70.34 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยปิดที่ระดับต่าสุดในรอบเกือบ 9 เดือน หลังมีสัญญาณบ่งชี้ว่าข้อพิพาทด้านการเมืองในลิเบียมีแนวโน้มคลี่คลายลง หลังจากที่ข้อพิพาท ดังกล่าวได้ส่งผลให้ลิเบียระงับการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบในช่วงที่ผ่านมาในขณะที่เช้านี้ลบอยู่ที่ระดับ 69.99 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ -0.50%
(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 4.60 ดอลลาร์ หรือ 0.18% ปิดที่ 2,523.00 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากเท่าใดในการประชุมเดือนนี้ ในขณะที่เช้านี้ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2,523.70 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ +0.03%
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 862.74/ –
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
4 ก.ย. | แคนนาดา: ประชุมธนาคารกลาง สหรัฐ: JOLT Job Quits |
5 ก.ย. | ไทย: เงินเฟ้อ (ส.ค.) สหรัฐ: ISM Services PMI (ส.ค.) |
6 ก.ย. | สหรัฐ: Non-Farm Payrolls (ส.ค.) |
7 ก.ย. | จีน: ส่งออก (ส.ค.) |