Daily Focus: US Yield Curve ไม่ Inverted แล้ว / / SET ยังยืนเหนือ 1,350 จุด คงโมเมนตัมบวก

2024 SET Target: 1470

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวลงในช่วงแรกตามตลาดหุ้นทั่วโลกที่เผชิญแรงเทขาย ก่อนที่จะทยอยแกว่งฟื้นตัวขึ้น และพลิกมาปิดบวกได้เล็กน้อย 0.89 จุด ที่ระดับ 1,365.49 จุด มูลค่าการซื้อขายหนาอยู่ที่ 3.9 หมื่นลบ. โดยได้แรงหนุนจากสถาบันในประเทศและรายย่อยที่ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นฝ่ายละราว 550 ลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่อง 568 ลบ. (และ Short Index Futures อีก 9.9 พันสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่งตัว Sideways สร้างฐานแข็งแกร่งกว่าภูมิภาคและตลาดหุ้นโลก โดยหากยังไม่หลุดต่ำกว่า 1,350+- จุด ภาพรวมจะยังคงเป็นบวก ปัจจัยกดดันหลักยังคงมาจากฝั่งสหรัฐฯหลังล่าสุดตัวเลข Job Openings เดือน ก.ค. ที่ 7.673 ล้านตำแหน่ง ต่ำกว่าที่ตลาดคาดและต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2021 ส่งผลให้ตลาดยังคงกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวในระยะถัดไป ทำให้เม็ดเงินไหลเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงต่ำอย่างพันธบัตรต่อเนื่อง โดยล่าสุด Bond Yield 2 และ 10 ปีของสหรัฐฯปรับลงอีก 7-10 bps สู่ระดับ 3.76% ใกล้เคียงกันและทำให้ Yield Curve พลิกกลับมาไม่ Inverted เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 2022 โฟกัสหลักยังคงอยู่ที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ส.ค. คืนวันศุกร์หากออกมาใกล้เคียงคาดบริเวณ 1.6-1.7 แสนตำแหน่งจะทำให้ตลาดผ่อนคลายมากขึ้น แต่หากออกมาต่ำกว่าคาดใกล้เคียงเดือนก่อนที่ราว 1 แสนตำแหน่ง จะเพิ่มแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงโอกาสที่ FED จะต้องลดดอกเบี้ย 50 bps ในเดือนนี้ ส่วนปัจจัยในประเทศวันนี้จับตาสภาฯลงมติอนุมัติงบฯปี 68 วาระ 2-3 ส่วนครม.ชุดใหม่ คาดเริ่มประชุมนัดแรก 17 ก.ย. โดยตลาดคาดหวังจะเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระยะสั้น และระยะยาวทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง หนุนหุ้นกลุ่ม Domestic Play นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหนุนจากการกลับมาของกองทุนวายุภักษ์วงเงิน 1-1.5 แสนลบ.ที่คาดเม็ดเงินจะเข้าสู่ตลาดหนุนการฟื้นตัวต่อใน 4Q24

กลยุทธ์ : เลือกหุ้นที่มีแนวโน้มกำไร 2H24 แข็งแกร่งต่อเนื่อง // ส่วนที่สะสมในช่วงก่อนหน้า ยังถือลงทุนต่อเนื่องระยะกลาง-ยาว

หุ้นเด่นเดือน ก.ย. BDMS, CPALL, ICHI, MTC, NSL

FSSIA Portfolio: AOT, CHG, CALL, CPN, GPSC, KCG, KTB, MTC, NSL, SHR, TU

หุ้นเด่น Finansia 5 ก.ย. 24 : BJC

  • แนะนำ “เก็งกำไร” ราคาเป้าหมายเฉลี่ยจาก IAA consensus 26.50 บาท
  • โมเมนตัมกำไร 3Q24 คาดชะลอ q-q จาก Low Season ของธุรกิจ แต่คาดเติบโตได้ y-y โดยล่าสุด SSSG ของ BigC เดือน ส.ค. เริ่มพลิกมาเป็นบวกได้ราว 2% ขณะที่ Margin คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากต้นทุนวัตถุดิบ ค่าไฟที่ลง รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพภายใน
  • Consensus คาดกำไรปี 2024-25 ที่ 4.3 พันลบ. -10% y-y และ 5.2 พันลบ. +20% y-y เราคาด BJC เป็นหนึ่งในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการแจกเงิน 1 หมื่นบาทในเดือน ก.ย.- 4Q24 ราคาหุ้นปัจจุบันเทรด 2025PER ต่ำที่สุดในกลุ่ม Consumer Staple ที่ราว 17 เท่า และยังต่ำกว่า Book Value ที่ราว 30 บาท และให้ Dividend Yield ราว 3.5-4% ต่อปี
  • แนวรับ 22.30-22.20 บาท แนวต้าน 23.40//24 บาท 

Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาคสุทธิหนาแน่น US$3,839 ล้าน นำโดยไต้หวัน US$3,088 ล้าน ตามด้วยเกาหลีใต้ US$718 ล้าน ส่วนอาเซียนเม็ดเงินโดยรวมผสมผสานไหลเข้าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์บางๆ แต่ไหลออกจากไทยและเวียดนาม แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่าจะยังอยู่ในทิศทางไหลออกหลังหลังตัวเลข Job Openings ออกมาชะลอและต่ำกว่าคาด ส่งผลให้เม็ดเงินไหลเข้าพันธบัตร ขณะที่โฟกัสหลักอยู่ที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรคืนวันศุกร์

ประเด็นสำคัญวันนี้

(0) จับตาเงินเฟ้อไทยเดือน ส.ค. วันนี้ ตลาดคาดเงินเฟ้อทั่วไป +0.44% y-y ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +0.83% y-y ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานคาด +0.55% y-y เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 0.52% y-y หากตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานต่ำคาด โอกาสลดดอกเบี้ยของกนง.จะเปิดกว้าง ขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องติดตามการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่โดยเฉพาะผลของนโยบายแจกเงิน 1 หมื่นบาท ว่าจะหนุน GDP และเงินเฟ้อมากน้อยเพียงใด โดยเราเชื่อว่าหากกนง.จะลดดอกเบี้ยในปีนี้จะเป็นรอบการประชุมเดือน ธ.ค. มากกว่าเดือน ต.ค.

(+) กลุ่มค้าปลีก ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) กลุ่มค้าปลีกเดือน ก.ค. ส.ค. ยังทรงตัวในแดนลบจากกลุ่ม Home improvement ที่ติดลบสูงขึ้น จากปริมาณน้ำฝนและเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงปลายเดือน ส.ค. ส่งผลให้การเดินทางมาจับจ่ายใช้สอยลำบากมากขึ้น ทำให้ Traffic ของร้านแผ่วลงไป รวมถึงผู้บริโภคยังชะลอการซื้อของในกลุ่มสินค้า Discretionary ในสภาวะกำลังซื้อ ยังแผ่ว ขณะที่กลุ่ม Consumer Staple ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง แนวโน้มกำไรปกติ 3Q24 คาดลดลง q-q ตามปัจจัยฤดูกำล ขณะที่ y-y ยังสามารถเติบโตได้ตาม SSSG และยอดขายของสาขาใหม่ รวมถึงอัตรากำไรขั้นต้นที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น สำหรับผลกระทบของน้ำท่วมในโซนภาคเหนือยังจำกัด เราชอบกลุ่ม Consumer staple จากทิศทางรายได้เติบโตต่อเนื่อง Top pick คือ CPALL ราคาเป้าหมาย 79 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ”

(+) กลุ่มท่องเที่ยว ยอดนักท่องเที่ยวสัปดาห์ที่ 35 (26 ส.ค.-1 ก.ย.) ตัวเลขนักท่องเที่ยวลดลง 13% w-w จากการเริ่มเปิดภาคเรียนในหลายประเทศ และสิ้นสุดวันหยุดต่อเนื่องใน อินเดีย แต่ยังเติบโต 8% Y-y อยู่ที่เฉลี่ย 7.8 หมื่นคน/วัน คิดเป็นการฟื้นตัวประมาณ 70% pre-Covid ภาพรวมเดือน ส.ค. นักท่องเที่ยวรวม 2.96 ล้านคน ฟื้นตัวคิดเป็น 85% pre-Covid โดยนักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัวคิดเป็น 64% pre-Covid และภาพรวม 8M24 นักท่องเที่ยวรวม 23.6 ล้านคน ดีกว่าที่เราคาด 4% ทำให้แนวโน้มรวมปี 2024 คาดว่ามีโอกาสที่นักท่องเที่ยวจะไประดับ 36-37 ล้านคน สูงกว่าที่เราประเมินไว้ที่ 35 ล้านคน Top pick กลุ่มกลุ่มท่องเที่ยว AOT (ราคาเป้าหมาย 65 บาท) BA (ราคาเป้าหมาย 28 บาท) และ MINT (ราคาเป้าหมาย 44 บาท)

(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 38.04 จุด หรือ +0.09% ปิดที่ 40,974.97 จุด หลังสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานเริ่มคลายความร้อนแรง และเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้แสดงความเห็นในเชิงสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ยังคงปิดในแดนลบ ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน

(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ โดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีนำตลาดปรับตัวลง เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐฯ และเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอส่งผลกระทบต่อตลาดทั่วโลก

(+) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดบวก หลัง sell-off ในวันก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ตลาดนิกเกอิยังคงเปิดลบอยู่ราว 1% เนื่องจากมีความกังวลที่ BoJ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากขึ้น หลังรายงาน Real wages ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าตลาดคาด

(+) ค่าเงินบาท แข็งค่า อยู่ที่บริเวณ 34.02 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ -0.69%

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 1.14 ดอลลาร์ หรือ 1.62% ปิดที่ 69.20 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากความกังวลว่าอุปสงค์น้ำมันอาจชะลอตัวลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ขณะที่นักลงทุนจับตาความเคลื่อนไหวของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส หลังจากมีรายงานว่าโอเปกพลัสอาจชะลอแผนการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน ในขณะที่เช้านี้บวกอยู่ที่ระดับ 69.53 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ +0.48%

(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 3.00 ดอลลาร์ หรือ 0.12% ปิดที่ 2,526.00 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลแรงงานที่อ่อนแอ ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมเดือนนี้ นอกจากนี้ ตลาดทองคำยังได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ในขณะที่เช้านี้ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2,526.00 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ +0.01%

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 862.74/ –

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

5 ก.ย.ไทย: เงินเฟ้อ (ส.ค.)

สหรัฐ: ISM Services PMI (ส.ค.)

6 ก.ย.สหรัฐ: Non-Farm Payrolls (ส.ค.)
7 ก.ย.จีน: ส่งออก (ส.ค.)
9 ก.ย.จีน: เงินเฟ้อ (ส.ค.)
10. ก.ย.อังกฤษ: อัตราการว่างงาน (ส.ค.)
- Advertisement -