KS Daily View 16.09.2024 >>> สัปดาห์นี้รอผล ประชุม Fed, BOE, BOJ กรอบ SET 1,410-1,444 แนะนำ GPSC และ MTC

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้ : คาดดัชนี SET index พักตัวกรอบสัปดาห์นี้ โดยประเมินช่วงซื้อขายของดัชนีที่ 1,410-1,444 จุด ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้คือการประชุมของกลุ่มธนาคารกลางหลักของโลกทั้ง Fed, BOE และ BOJ โดยตลาดคาด Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25bps จาก 5.50% เป็น 5.25% ประเด็นหลักอาจต้องติดตามการแถลงของประธาน Fed หลังการประชุมว่าจะมีการให้มุมมองเพิ่มเติมสำหรับทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงต่อเนื่องหรือไม่ ตลาดจะมองเรื่องความเสี่ยงการเกิด recession หาก ปรับ 50bps ขณะที่ด้าน BOE และ BOJ ตลาดคาดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.00% และ 0.25% ตามลำดับ
ด้านปัจจัยในประเทศ แนะนำติดตามความคืบหน้ามาตรการแจกเงิน 10,000 บาท ให้กลุ่มเปราะบาง 14.5 ล้านคนอาจเริ่มแจกได้ในวันที่ 25 ก.ย. นี้ ขณะที่กลุ่มที่เหลือถูกเลื่อนออกไป
แนะนำสำหรับการลงทุนในสัปดาห์นี้เราเลือก GPSC MTC AURA SCC SAV

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศวันนี้: ประเมินดัชนีแกว่งตัวพักฐานในกรอบ SET index ที่ 1,410 – 1,440 จุด เพื่อรอผลการประชุมของ Fed ในช่วงกลางสัปดาห์ที่อาจจะมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยที่ 25bps และสาราสำคัญจากการแถลงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วน ที่จะเริ่มเห็นในเดือนกันยายน นี้

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

  1. สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ภายใต้รัฐบาลไบเดนได้ประกาศนโยบายอัตราภาษีนำเข้าจากจีน เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ เช่น คงอัตราภาษีนำเข้า 100% สำหรับ รถยนต์ไฟฟ้าจากจีน 50% สำหรับชิปโดยเฉพาะ แผ่นซิลิคอนและโพลีซิลิคอน, แผงโซลล่าเซลล์ และ 25% สำหรับ แบตเตอร์รี่ และเหล็กแร่สำคัญ เป็นต้น โดยจะมีผลตั้งแต่ 27 กันยายน นี้เป็นต้นไป.
  2. ไบรอัน เวส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงินของ บริษัท โบอิ้ง กล่าวว่าการประท้วงของแรงงานและสหภาพแรงงานของโบอิ้งจะส่งผลกระทบต่อ supply chain การผลิตเครื่องบิน และส่วนประกอบต่างๆ โดยเฉพาะแผนการผลิตเครื่องบิน 737 Max ซึ่งส่งผลเสียต่อการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินเช่นกัน โดยหลังจากที่แรงงานประท้วงหยุดงานหลังเที่ยงคืนของวันศุกร์ที่ผ่านมา.
  3. ระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคานำเข้าลดลง 0.3% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2566 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 0.2% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนก.ค. การปรับตัวลงของดัชนีราคานำเข้าได้รับผลกระทบจากการร่วงลงของราคาอาหารและพลังงานเมื่อเทียบรายปี ดัชนีราคานำเข้าเพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนส.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือนก.ค.
  4. นายโจน ฟอสต์ ที่ปรึกษาอาวุโสของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ ระบุว่า หาก Fedได้ข้อสรุปว่าพวกเขามีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนพ.ย.หรือธ.ค. พวกเขาก็ควรที่จะดำเนินการดังกล่าวในขณะนี้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอยู่ห่างไกลที่สุดจากจุดหมายปลายทางสุดท้ายของพวกเขา ความเห็นของนายฟอสต์สอดคล้องกับนายบิล ดัดลีย์ อดีตประธานเฟด สาขานิวยอร์ก ซึ่งกล่าวว่า มีโอกาสอย่างมากที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากถึง 0.50% ในการประชุมสัปดาห์หน้า
  5. สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันศุกร์ (13 ก.ย.) เนื่องจากการผลิตน้ำมันดิบในอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐฯ เริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้งหลังจากได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนฟรานซีน และการเปิดเผยข้อมูลบ่งชี้ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ เบเกอร์ ฮิวจ์ ซึ่งเป็นบริษัทบริการด้านพลังงานของสหรัฐฯ รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดในรอบ 1 ปี จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซเพิ่มขึ้น 8 แท่นในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 13 ก.ย. เป็น 590 แท่น ซึ่งกลับสู่ระดับของกลางเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่สัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 2566

หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:

GPSC: ราคาพื้นฐานที่ 55.00 บาท

เรามีมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มโรงไฟฟ้าจาก sentiment ของการเปลี่ยนผ่านจากภาวะดอกเบี้ยสูงมาสู่เศรษฐกิจของการลดดอกเบี้ยในอนาคตโดยเริ่มจาก Fed ซึ่งปกติแล้วกลุ่มโรงไฟฟ้าจะมี negative correlation กับ bond yield ประมาณ -0.5 นอกจากนี้แล้วเรามองว่า GPM ของ GPSC จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นและเสถียรมากขึ้นหลังจากมีการทยอยเปลี่ยนสัญญา เป็น gas-linked มากขึ้นในอนาคต

MTC: ราคาพื้นฐาน 52.00 บาท

คาด MTC จะได้รับประโยชน์เชิงบวกจาก sentiment ของการลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed อย่างต่อเนื่องในช่วงกลางสัปดาห์นี้ อีกทั้ง MTC ยังคงเป็นบริษัทในกลุ่มการเงินที่เรามีมุมมองเชิงบวกต่อคุณภาพสินทรัพย์ที่ผ่านมาจุดสูงสุดของ NPL มาแล้ว และคาดว่าในปี 2025 จะสามารถสร้าง net profit growth ที่สอดคล้องกับ loan growth ได้ และได้ผลเชิงบวกจากต้นทุนทางการเงินที่ถูกลงเช่นกันหลังเศรษฐกิจเข้าสู่ช่วงดอกเบี้ยขาลง

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตาม รายงานดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์ก (Empire State Manufacturing Index) เดือน ก.ย. ตลาดคาดการณ์ที่ -4.0 จุดเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -4.7 จุด
  • วันอังคาร ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ดัชนียอดค้าปลีก (Retail sales) เดือน ส.ค. ตลาดคาดการณ์ที่ -0.2% MoM หดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ +1.0% MoM ต่อด้วย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial production) เดือน ส.ค. ตลาดคาดการณ์ที่ +0.1% MoM เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ -0.6% MoM
  • วันพุธ ติดตามการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของทางยุโรป (EU CPI) ครั้งสุดท้ายเดือน ส.ค. ตลาดคาดการณ์ที่ +2.2% YoY ทรงตัวจากครั้งก่อนหน้า และติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐอย่าง รายงานจำนวนที่อยู่อาศัยเริ่มสร้าง (Housing Starts) ของสหรัฐ เดือน ส.ค. ตลาดคาดการณ์ที่ 1.31 ล้านหลัง เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.238 ล้านหลัง ต่อด้วย รายงานใบอนุญาตก่อสร้างบ้าน (Building Permits) ของสหรัฐ เดือน ส.ค. ตลาดคาดการณ์ที่ 1.41 ล้านหลัง เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.396 ล้านหลัง และปิดท้ายด้วยผลการประชุม FOMC โดยตลาดคาดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับ 5.25%-5.50% ลงมาที่ 5.00%-5.25%
  • วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลขยอดขายบ้านมือสอง (Existing home sale) เดือน ส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.90 ล้านหลังปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 3.95 ล้านหลังและรายงานจำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.30 แสนตำแหน่ง
  • วันศุกร์ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่น (Japan Inflation) เดือน ส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ +3.00% YoY เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ +2.80% YoY และ เงินเฟ้อที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน (Japan Core CPI) ตลาดคาดการณ์ที่ +2.00% YoY เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ +1.90% YoY ต่อด้วยผลการประชุมดอกเบี้ยนโยบายของ BoJ เทียบกับครั้งก่อนหน้าที่ระดับ 0.25%
- Advertisement -