Daily Focus: SET ผ่าน 1,440 จุด เป้าหมายหลักถัดไป 1,480-1,500 จุด

2024 SET Target: 1470

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยมีจังหวะแกว่งทดสอบแนวต้านหลัก 1,440 จุด ในชั่วโมงแรกของการซื้อขาย ก่อนที่จะมีแรงซื้อหนุนตลาดวัน ทำให้ดัชนีปิดบวกได้ถึง 19.07 จุด ที่ระดับ 1,454.84 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นขึ้นเป็น 6.7 หมื่นลบ.ทะลุผ่านแนวต้านได้สำเร็จ ปัจจัยหนุนมาจากการเริ่มลดดอกเบี้ยของ FED สถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้น 104 ลบ.และ 1.04 พันลบ. ตามลำดับ (ต่างชาติ Long Index Futures เร่งขึ้นเป็น 1.05 หมื่นสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่งตัว Sideway to Sideways Up หลังจากผ่านแนวต้าน 1,440 จุด ได้อย่างแข็งแกร่ง และยังคงได้ Sentiment บวกหลังตลาดย่อยประเด็น FED เริ่มลดดอกเบี้ย 50 bps และตอบรับทางบวกจากช่วงแรกที่ทรงตัว โดยเม็ดเงินไหลเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ระยะสั้น Upside ของดัชนีคาดว่ายังจำกัดจาก Indicator ทางเทคนิคที่ยังส่งสัญญาณ Overbought ต่อเนื่อง ทำให้เชื่อว่าอาจเห็นการพักตัวของดัชนีสลับลงมาที่แนวรับ 1,440+- จุดได้อยู่ โดยมีแนวต้านระยะสั้นที่ 1,460 จุด และแต่เป้าหมายหลักหลักถัดไปประเมินบริเวณ 1,480-1,500 จุด เรามองว่าตลาดยังคงรอตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงที่เหลือของปีเพิ่มเติมว่าเศรษฐกิจและการจ้างงานสหรัฐฯยังคงแข็งแรงเพียงพอและไม่เกิด Recession ตามที่คาดหรือไม่ ซึ่งอาจหมายถึงการขยับนโยบายของ FED ที่อาจต่างจากที่ประเมินปัจจุบัน (ตลาดให้โอกาสเกิด Recession ราว 30% อ้างอิงจาก Bloomberg) ส่วน ปัจจัยในประเทศวันนี้ติดตามความชัดเจนของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท โดยบอร์ดค่าจ้างจะประชุมกันอีกครั้งวันนี้ เรายังคงมุมมองเชิงบวกระยะกลางยาวต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยใน 4Q24-2025 ที่เป็นขาขึ้น รวมถึงเม็ดเงินใหม่จากกองทุนวายุภักษ์ 1-1.5 แสนลบ. ที่จะเข้ามาหนุนหรือจำกัด Downside ของ SET Index ใน 4024

กลยุทธ์ : เน้นลงทุนหุ้น Domestic Play ที่มีแนวโน้มกำไร 2H24-2025 แข็งแกร่ง // ส่วนที่สะสมในช่วงก่อนหน้ายังถือลงทุนต่อเนื่องระยะกลาง-ยาว

หุ้นเด่นเดือน ก.ย.: BDMS, CPALL, ICHI, MTC, NSL

FSSIA Portfolio: AOT, CHG, CALL, CPN, GPSC, KCG, KTB, MTC, NSL, SHR, TU

หุ้นเด่น Finansia 20 ก.ย. 24 : MINT

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 44 บาท
  • โมเมนตัมกำไร 3Q24 อาจชะลอ q-q ตามปัจจัยฤดูกาล แต่คาดว่าจะยังเติบโตแกร่ง y-y หนุนจาก RevPar ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. ที่เติบโตแกร่งทั้งในไทยที่ +16% y-y รวมถึงยุโรปที่ +14% y-y
  • เราคาดว่า MINT จะทยอยได้ประโยชน์จาก Trend ดอกเบี้ยขาลงในยุโรปรวมถึงการทยอยชำระคืนหนี้ เราคาดกำไรปกติปี 2024-25 +16% y-y และ +12% y-y ตามลำดับ ด้าน Valuation ปัจจุบันเทรดที่ 2024-25PER ราว 20 และ 18 เท่า ตามลำดับ ต่ำกว่าคู่แข่งที่เทรดราว 22-25 +/- เท่า
  • แนวรับ 28//26 บาท แนวต้าน 30//31-31.50 บาท 

Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนโดยรวมผสมผสาน สุทธิแล้วไหลเข้าภูมิภาค US$449 ล้าน เม็ดเงินไหลเข้าไต้หวัน US$982 ล้าน แต่ไหลออกจากเกาหลีใต้ US$751 ล้าน ส่วนฝั่งอาเซียนเม็ดเงินยังคงไหลเข้าทุกประเทศนำโดยอินโดนีเซีย US$137 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่ายังอยู่ในทิศทางไหลเข้าหลังตลาดย่อยประเด็น FED เริ่มลดดอกเบี้ย 50 bps และตอบรับเป็นบวก

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) BOE คงดอกเบี้ยนโยบาย 5% ตามตลาดคาด และมีนโยบายระมัดระวังในการปรับลดดอกเบี้ยในอนาคต อีกทั้งยังไม่เร่งขายพันธบัตรที่ถือครองออกมา หนุนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนปรับขึ้นทั่วหน้า ส่วนเฟดที่ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรก 0.50% แม้จะดูมากกว่าตลาดคาด และยังมีแนวโน้มที่จะปรับลดอีก 0.5% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ แต่ตลาดส่วนใหญ่มองว่าเป็นการช่วยหนุนให้เกิด soft landing ขณะเดียวกันรายงานตัวเลข Initial Jobless Claim รายสัปดาห์ปรับลงต่ำสุดในรอบ 4 เดือน จึงหนุนให้ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นทำ Fresh High นำโดยหุ้นเทคโนโลยี และน่าจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นในภูมิภาควันนี้ด้วย

(0) TTB คาดกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 5.37พัน ลบ. ทรงตัว q-q แต่ปรับขึ้น 13.3% y-y ภาพรวม ธุรกิจใน 3Q24 ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากในช่วง 1H24 โดยสินเชื่อยังหดตัวต่อเนื่อง ซึ่งก่อให้เกิดแรงกดดันต่อรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจประกันภัยรถยนต์ ทำให้ธนาคารฯ ต้องเน้นไปที่การควบคุมต้นทุนเพื่อรักษากำไร ขณะเดียวกันคุณภาพสินทรัพย์ยังเสื่อมลงต่อเนื่อง ตามสภำวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ต้องตั้งสำรองผลขาดทุนทางเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ในระดับสูง อย่างไรก็ดี TTB ยังมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเหลืออยู่ถึง 12.7 พันล.ณ สิ้น 2Q24 เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2024-26 ขึ้น 11-17% เพื่อสะท้อนผลบวกของสิทธิประโยชน์ทางภาษี ทำให้คาดกำไรสุทธิปี 2024-26 เติบโตเฉลี่ย 11.6% CAGR และปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2025 ที่ 2.53 บาท Div. yield 5-6% ต่อปี ยังแนะนำ “ซื้อ”

(+) หุ้นเป้าหมายกองทุนวายุภักษ์ 1 ระบุให้ผลตอบแทน 3-9% ระยะเวลาลงทุน 10 ปี เราคัดเลือกหุ้นที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายโดยอ้างอิง หุ้นที่มี ESG Rating A ขึ้นไปสำหรับ SET100 และ AA ขึ้นไปสำหรับหุ้นนอก SET100 โดยเน้นหุ้นที่มี Dividend Yield ราว 3% หรือสูงกว่าหรือหุ้นเติบโตดี (Dividend Yield อาจไม่ถึง 3%) ได้แก่ ADVANC AP BAM BBL BCH BDMS BJC CPALL CPN HMPRO ICHI INTUCH KBANK KTB MEGA MINT OSP SC SIRI TISCO WHA WHAUP PR9 DIF 3BBIF TFFIF AIMIRT CPNREIT LHHOTEL LHSC WHAIR

(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 522.09 จุด หรือ +1.26% ปิดที่ 42,025.19 จุด โดยดาวโจนส์ทะยานขึ้นเหนือระดับ 42,000 จุด ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศลด อัตราดอกเบี้ย 0.50% และส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกหลายครั้ง

(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวกแรง หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% และบ่งชี้ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกนั้นจะเป็นไปอย่างระมัดระวัง ซึ่งเพิ่มความหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจจะชะลอตัวลงแบบค่อยเป็นค่อยไป

(+) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดบวก นำโดยตลาดนิกเกอิ โดยมีรายงาน Core CPI เดือนส.ค. ของญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ที่ 2.8% y-y ตามตลาดคาด ขณะที่การประชุมนโยบายทางการเงินของ BoJ จะสิ้นสุดในวันนี้

(+) ค่าเงินบาท แข็งค่า อยู่ที่บริเวณ 33.13 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ -0.70%

(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้น 1.04 ดอลลาร์ หรือ 1.47% ปิดที่ 71.95 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความหวังว่าจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์น้ำมัน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้ปัจจัยหนุนจากการปรับตัวลงของสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ รวมทั้งสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง ในขณะที่เช้านี้ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 72.01 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ +0.08%

(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 16 ดอลลาร์ หรือ 0.62% ปิดที่ 2,614.60 ดอลลาร์/ออนซ์ ขานรับธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงมากถึง 0.50% ในการประชุมล่าสุด ในขณะที่เช้านี้ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2,612.80ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ -0.07%

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 872.23/ –

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

20 ก.ย.ญี่ปุ่น: ประชุม BOJ, เงินเฟ้อ (ส.ค.)

จีน: Loan Prime rate 1Y

อังกฤษ: ค้าปลีก (ส.ค.)

23 ก.ย.ไทย: ยอดขายรถยนต์ในประเทศ (ส.ค.)
24 ก.ย.ออสเตรเลีย: ประชุมธนาคารกลาง RBA
25 ก.ย.ไทย: ส่งออก (ส.ค.)
26 ก.ย.สหรัฐ: 2Q24 GDP growth (Final), Initial Jobless Claims (21

ก.ย.), Fed Chair Powell Speech

- Advertisement -