บล.กรุงศรีฯ:
KSS Global Macro Strategist Comment: ช่วงเช้าวันนี้ MUFG ได้ออกรายงาน Emerging Markets 2025 Outlook: Navigating Choppy Waters สรุปมุมมองการลงทุนในตลาดเกิดใหม่สำหรับปี 2025 มีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้:
- Trump 2.0 is clouding the EM outlook: แนวนโยบาย Trump 2.0 กลายเป็นปัจจัยภายนอกที่มีสำคัญมากที่สุดต่อทิศทางการลงทุนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่นับตั้งแต่พรรครีพับลิกันชนะการเลือกตั้งในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา โดยมองผลกระทบที่เกิดขึ้นหลักๆมาจาก 1) การส่งผ่านแนวโน้มทิศทางเงินเฟ้อและดอกเบี้ยสหรัฐฯ รวมถึงเงินเฟ้อและดอกเบี้ยโลก มีแนวโน้มลงช้ากว่าคาด จากแนวนโยบาย Trump 2.0 นำโดยการใช้กำแพงภาษีการค้า (Tariff), 2) แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะเติบโตแข็งแกร่งขึ้นจากแนวนโยบายลดกฏระเบียบข้อบังคับ (Deregulation) และแนวนโยบาย American First (MAGA: Make American Great Again) ส่งผลให้ค่าเงินสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง
- EM macro dimensions in 2025: มีมุมมองดังนี้
- Growth: การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ EM ขนาดใหญ่มีแนวโน้มชะลอลงเนื่องจากคาดว่านโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจะจำกัดมากขึ้น ขณะที่ประเทศ EM ขนาดรองลงมามีแนวโน้มเร่งขึ้น
- Inflation: มีทิศทางชะลอลงต่อ โดยได้รับแรงหนุนหลักจากแนวนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอลงบวกกับทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มี upside จำกัด
- Interest Rates: คาดจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางประเทศ EM ตลอดทั้งปี 2025 ทั้งนี้ต้องติดตามทิศทาง Trump 2.0 และ DXY Index ที่ส่งผลโดยตรงต่อการกำหนดทิศทางนโยบายการเงิน
- Financial Markets: ความเสี่ยงจากแนวนโยบายภาษีการค้าจะเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางการลงทุนในตลาดเงินประเทศ EM
- EM FX: MUFG มอง Trump 2.0 ที่หนุนให้ค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ ฯ แข็งค่า จะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ค่าเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงในช่วงต้นปี โดยนับจากนี้ไป ปัจจัยหลักที่จะกดดันค่าเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ไดแก่ 1) สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน, 2) อัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ชะลอลงช้ากว่าคาด และ 3) แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งขึ้นจากแรงสนับสนุนเชิงนโยบายจาก Trump 2.0 ทำให้ USD มีแนวโน้มแข็งค่า
- China: MUFG มองจีนมีแนวโน้มตอบสนองต่อสงครามการค้าโดยใช้การอ่อนค่าของค่าเงินหยวนเป็นเครื่องมือหลัก นอกจากนี้ MUFG มีมุมมองเหมือนเราและตลาดว่าจีนจะเดินหน้าใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่ได้วางภาพไว้จากการประชุม NPRC, NPC และ CEWC ในช่วง 4Q24 ที่ผ่านมา โดยมองว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในจะเป็นมาตรการหนึ่งในการประคับประคองเศรษฐกิจจีนที่จะได้รับผลกระทบจากการตั้งกำแพงภาษีการค้าของสหรัฐฯ
- EM Strategy: กลยุทธ์การลงทุนในตลาดเกิดใหม่สำหรับปี 2025 เน้นการปรับตัวรับมือแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก เช่น อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มสูงนานกว่าคาด, ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า และความเสี่ยงด้านภาษีการค้า ซึ่งส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยและค่าเงินของประเทศต่างๆใน EM โดยอัตราดอกเบี้ยของและประเทศจะปรับลงได้อย่างจำกัดมากขึ้นจากแรงปัจจัยดังกล่าว ขณะที่ตลาดหุ้น EM ปี 2025 มีโอกาสเติบโตได้ในระดับกลาง โดยตลาดที่มีพื้นฐานภายในแข็งแกร่ง นำโดย จีน กลุ่มประเทศอาเซียน GCC และชิลี มีแนวโน้มโดดเด่น ส่วนค่าเงิน EM ยังอ่อนไหวต่อความไม่แน่นอนด้านการค้า แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนอาจช่วยสนับสนุนบางส่วน สำหรับตลาดตราสารหนี้ MUFG มองว่าแม้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะแคบ แต่ยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนจากกลยุทธ์การลงทุนแบบ Defensive และการเลือกลงทุนในตราสารที่มีอายุยาวและความผันผวนต่ำ โดยเฉพาะในประเทศ GCC และเม็กซิโก
Strategy: เรามีความเห็นสอดคล้องกับ MUFG ว่าปัจจัยภายนอกหลัก (Major External Backdrop) ที่จะกำหนดทิศทางการลงทุนสำหรับประเทศ EM ในปี 2025 ได้แก่ Trump 2.0 ที่จะส่งผ่านจาก 1) นโยบายการค้าระหว่างประเทศผ่านการตั้งกำแพงภาษี, 2) การแข็งค่าของ USD จากแนวโน้มนโยบาย American First และ 3) ทิศทางดอกเบี้ยสูงและนานกว่าเดิมจากคาดการณ์เงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยเราเห็นด้วยกับ MUFG ว่ามีโอกาสเห็นนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทางมาตรการการเงินและการคลังของจีนเร่งขึ้นภายใน 1Q25 นี้ และมองระดับปัจจุบันเป็นจุดที่น่าสนใจในการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจีน
ในเชิงกลยุทธ์การลงทุนตลาด EMs ต้องพึ่งพา Domestic Demand ซึ่งส่วนใหญ่แข็งแกร่ง/ฟื้นตัวเร่งขึ้น และการเชื่อมโยงเศรษฐกิจในภูมิภาค เป็นแรงลดทอนผลกระทบจาก Trade Wars ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนหุ้นไทย เน้น Domestic Plays KTB, KBANK, ADVANC, TRUE, BTS, MINT, CPALL, BJC และผสานตีม China Play เน้น IVL (TP-Con @ 28.2) PTTGC (TP @ 30.0)
นอกจากนี้ในมุมมอง Asset Allocation เราคงมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีน โดยแนะนำ Overweight ในระยะยาว โดยมีกองทุนที่แนะนำ ผ่านทางกองทุนกรุงศรีและ Krungsri iFund ได้แก่:
• KFCSI300-A (CSI300 ETF)
• KFACHINA-A (Active A-Shares)
• KF-CHINA (H-Shares ETF)
• MEGA10CHINA-A (Active H-Shares)