ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,577.14 จุด ลดลง -5.53 จุด หรือ -0.35% มูลค่าการซื้อขาย 38,770.69 ล้านบาท.
5 หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด
1.BDMS ปิดที่ 23.30 บาท ลดลง -0.40 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,931.27 ลบ.
2.GUNKUL ปิดที่ 4.86 บาท เพิ่มขึ้น 0.16 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,590.16 ลบ.
3.AOT ปิดที่ 61.75 บาท ลดลง -1.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,583.92 ลบ.
4.KBANK ปิดที่ 119.00 บาท ลดลง -1.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,219.12 ลบ.
5.RCL ปิดที่ 50.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,206.24 ลบ.
ตลาดหุ้นไทย ได้รับแรงกดดันจากมาตรการกึ่งล็อกดาวน์หลังโควิดระบาดหนักในประเทศ ทำให้ภาครัฐฯ ต้องออกมาตรการควบคุมกึ่งล็อกดาวน์ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการรอดูความสำเร็จของมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิดจะควบคุมได้แค่ไหน และจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดวันนี้กว่า 5 พันราย ทำให้สถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจ ขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนโควิดก็ลดน้อยลง ที่สำคัญคือ หลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว ต้องรดูว่าจะสู้กับไวรัสกลายพันธุ์ได้หรือไม่ เพราะขณะนี้ไวรัสกลายพันธุ์ได้เข้ามาในไทยแล้ว
ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบหลายตลาดติดลบ แต่ก็มีบางตลาดที่บวก อย่างตลาดหุ้นสิงคโปร์ และตลาดหุ้นไต้หวัน เคลื่อนไหวในแดนบวกได้ แต่อย่างตลาดหุ้นอินเดีย, ตลาดหุ้นมาเลเซีย ติดลบจากที่ยังต้องต่อสู้กับการแพร่ระบาดโควิด นอกจากนี้ ยังต้องติดตามพันฒนาการฉีดวัคซีน และติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 รวมถึงจับตาโครงการของภาครัฐฯจะมีการเลื่อนออกไปหรือไม่ หลังโควิดระบาดหนัก อย่างโครงการคนละครึ่งที่จะเริ่มใช้ 1 ก.ค.นี้ และติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ อย่างตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯที่จะออกมาในวันศุกร์นี้ รวมไปถึงติดตามการประชุมกลุ่มโอเปกที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม นี้
ศบค.พบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 5,406 ราย ในปท.3,757-ตรวจเชิงรุก1,631-ตปท.18,ตาย 22
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5,406 ราย ประกอบด้วย
– ผู้ติดเชื้อในประเทศจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 3,757 ราย
– จากการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 1,622 ราย และจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 9 ราย
– ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 18 ราย โดยยังคงพบการเข้ามาตามช่องทางธรรมชาติ
– มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 22 ราย แยกเป็นเพศชาย 13 ราย เพศหญิง 9 ราย อายุระหว่าง 31-91 ปี
ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ยังมาจาก กทม. โดยยังพบการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงทำให้ต้องมีมาตรการออกมา
สำหรับจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมในประเทศตั้งแต่ต้นปี 63 จนถึงล่าสุดอยู่ที่ 249,853 ราย โดยมีผู้ป่วยรักษาหายแล้ว 202,271ราย เพิ่มขึ้น 3,343 ราย ยอดเสียชีวิตสะสมเพิ่มเป็น 1,934 ราย