บล.ฟิลลิป:
กระทรวงพาณิชย์เผยเงินเฟ้อไทยเดือนม.ค.68
- Core CPI ขยายตัว 0.83% y-y เท่ากับตลาดคาด และเร่งตัวขึ้นจาก 0.79% y-y ในเดือนธ.ค.67
- Headline CPI ขยายตัว 1.32% y-y เร่งตัวขึ้นจาก 1.23% y-y ในเดือนธ.ค.67 และมากกว่าตลาดคาดที่ 1.3% y-y
- ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นผลจากฐานราคาต่ำในปีที่ผ่านมา ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้นจากราคาผลไม้สด เครื่องประกอบอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นสำคัญ
- แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ.68 คาดว่าจะอยู่ระดับใกล้เคียงกับเดือนม.ค.68 โดยปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ได้แก่
1) ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศที่กำหนดเพดานไม่เกิน 33 บาท/ลิตร ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
2) การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าโดยสารเครื่องบิน
3) สินค้าเกษตรบางชนิดราคายังอยู่ในระดับสูง เนื่องจากปริมาณผลผลิตยังไม่เข้าสู่ระดับปกติ หลังจากได้รับผลกระทบของภัยแล้วอย่างยาวนาน โดยเฉพาะพืชสวน เช่น มะพร้าว
- ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อชะลอลง ได้แก่
1) ภาครัฐมีแนวโน้มดำเนินมาตรการช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการปรับลดค่าไฟฟ้าครัวเรือนและการตรึงราคาก๊าซ LPG
2) ฐานราคาผักสดในปีก่อนหน้าอยู่ในระดับสูง เนื่องจากได้รับผลกระทยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ขณะที่ในปี 68 สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกมาขึ้น ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ระบบมากขึ้น
3) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
ที่มา : Bloomberg, TPSO (6 ก.พ.68)
Strategist Comment: ทางฝ่ายมีมุมมองเชิงลบต่อการเผยตัวเลขข้างต้น หลังเงินเฟ้อไทยอยู่ในกรอบเป้าหมายของธปท.เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งจะเป็นหนึ่งในปัจจัยในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง. ส่งผลให้ทางฝ่ายมองเป็น Sentiment เชิงลบ ท่ามกลางแรงกดดันทางด้านกำลังซื้อและต้นทุนของภาคธุรกิจที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง ในทางกลับกัน ทางฝ่ายมองเป็น Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มธนาคาร ซึ่งจะได้ประโยชน์ในแง่อัตราผลตอบแทนสินเชื่อจะไม่ปรับลดลง
Strategist Pick: BBL, SCB, KBANK, KTB