บล.กรุงศรีฯ:
Global Macro Strategist: สรุปมุมมองจาก Global Research ต่างประเทศที่น่าสนใจ:
Fed Expectation Adjustment: เราเริ่มเห็นสำนักวิจัยต่างประเทศเริ่มปรับลดมุมมองการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ลงเหลือเพียง 1 ครั้ง จากเดิม 2 – 3 ครั้ง เนื่องจากเริ่มมีความชัดเจนว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลงช้ากว่าคาดเดิมจากการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าผ่านกำแพงภาษี (Tariff) ของสหรัฐฯ ส่งผลให้ Global Research เริ่มมีมุมมอง Neutral มากขึ้นต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในช่วง 3 – 6 เดือนข้างหน้า(S&P500 แกว่งในกรอบ 6100-5500จุด) และเริ่มมีมุมมองเชิงบวกต่อตราสารหนี้มากขึ้น จากแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อาจจะสูงจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่จำกัดในสภาวะที่พื้นฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง
Impacts of the Reciprocity: Global Research มีมุมมองว่าหากสหรัฐฯ มีการใช้ Reciprocal Tariff กับทุกประเทศ
- ประเทศที่จะได้รับผลกระทบสูงหากพิจารณาจากส่วนต่างภาษีที่ประเทศต่าง ๆ นำเข้าจากสหรัฐฯ และภาษีที่สหรัฐฯ เก็บจากประเทศนั้น ๆ จะได้แก่ อินเดีย, ไทย และเกาหลีใต้ โดยมีส่วนต่างดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 6.1%, 4.7% และ 4.2% ตามลำดับ
- อย่างไรก็ตามในเชิงของผลกระทบหากพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เทียบกับ GDP ของประเทศต่าง ๆ พบว่าประเทศที่ได้รับผลกระทบมากสุดได้แก่ เวียดนาม และ ไต้หวัน อยู่ที่ 25.1% และ 13.9% ตามลำดับ ขณะที่ไทยมีสัดส่วนดังกล่าวเพียง 10.5%
Strategist Comment: จากมุมมองดังกล่าว เราเห็นด้วยกับ Global Research ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed มีแนวโน้มชะลอลงจากเดิม ประกอบกับความไม่แน่นอนเชิงนโยบายของสหรัฐฯ โดยเฉพาะนโยบายด้านภาษีการค้า อาจจะส่งผลเชิงลบต่อผลตอบแทนการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ในช่วง 3 – 6 เดือนข้างหน้า ในขณะที่มีแนวโน้มเชิงบวกต่อการลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น สำหรับมุมมองเรื่องภาษีตอบโต้ทางการค้า (Reciprocal Tariff) เรามองว่ายังต้องติดตามรายละเอียดของนโยบายอย่างใกล้ชิด โดยนโยบายดังกล่าวจะมีผลต่อกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในระดับที่แตกต่างกัน และเราคาดว่าหากมีการบังคับใช้จริง สหรัฐฯ จะเปิดโอกาสให้มีการเจรจาต่อรองได้เช่นกัน สำหรับกลยุทธ์การลงทุนยังเน้นการลงทุนกลุ่ม Domestic Play เป็นหลักจากปัจจัยภายนอกยังคงมีความไม่แน่นอนสูง Top Pick วันนี้ ได้แก่ AMATA CPAXT ADVANC