Daily Focus Selective and Earnings Play
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index แกว่งตัว Sideways โดยระหว่างวันมีจังหวะฟื้นตัวในแดนบวก ก่อนจะย่อลงมาปิดทรงตัว เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.60 จุด ที่ระดับ 1,246.21 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 4.8 หมื่นจบ. กลุ่มที่ปรับตัวดีกว่าตลาด ได้แก่ ท่องเที่ยว พลังงาน สื่อสารฯ ค้าปลีก ไฟแนนซ์ เป็นต้น ส่วนกลุ่มที่ถ่วง คือ ปิโตรฯ อิเล็กทรอนิกส์ ธนาคาร เป็นต้น สถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติพลิกมาขายสุทธิในตลาดหุ้น 493 ลบ.และ 689 ลบ. ตามลำดับ (แต่ต่างชาติพลิกมา Long Index Futures สุทธิสูงถึงกว่า 2 หมื่นสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่ง Sideways to Sideways Down โดยถูก Sentiment ลบ กดดันจากฝั่งสหรัฐฯ หลังตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดูน่ากังวล ทั้ง PMI ภาคบริการ และดัชนีความเชื่อมันผู้บริโภคมิชิแกนเดือน ก.พ. ที่ออกมาต่ำกว่าคาด ซึ่งตอกย้ำภาพความกังวล หลังตัวเลขยอดค้าปลีกและ Outlook ของ Walmart ที่ออกมาก่อนหน้า ขณะที่เงินเฟ้อคาดการณ์ยังอยู่ในระดับสูงจากความเสี่ยงของนโยบายภาษีการค้าของทรัมป์ ส่งผลให้มีแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่าง หุ้น น้ำมัน และไหลเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงต่ำอย่างพันธบัตร สะท้อนผ่าน Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงราว 6 bps จากวันก่อนหน้าสู่ระดับ 4.43% ขณะที่ราคาทองคำยังทรงตัวสูงใกล้ระดับ Record High ส่วนปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้ ได้แก่ การประกาศกำไร 4Q24 โค้งสุดท้ายของบจ. โดยเท่าที่ประกาศออกมาแล้วโดยรวมต่ำกว่าคาดเล็กน้อย และให้จับตาการประชุมกนง.วันพุธนี้ว่าจะลดดอกเบี้ยจากระดับ 2.25% ในปัจจุบันหรือไม่ (คาดการณ์ของตลาดเสียงแตก) ระยะสั้นคาดหุ้นที่มีกำไรแข็งแกร่งและมีแนวโน้มดีต่อในปี 2025 คาดว่าจะปรับตัวได้แข็งแกร่งกว่าตลาด ขณะที่ Valuation ปัจจุบันของ SET ที่ค่อนข้างถูก โดยเทรด PER ราว 13 เท่า และมี Earnings Yield Gap กว่า 5% ยังเน้นหุ้น Domestic Play เป็นหลักเพื่อลดความเสียงจากปัจจัยสงครามการค้าโลก
กลยุทธ์ : เน้น Domestic Play ที่มีแนวโน้มกำไร 4Q24-2025 แข็งแกร่ง // ส่วนที่สะสมหุ้นเพิ่มแล้วโซน 1,300+- หรือต่ำกว่า แนะนำถือลงทุนระยะกลาง-ยาว
หุ้นเด่นเดือน ก.พ. : BBL, CHG, CPALL, ERW, NSL
FSSIA Portfolio: BA, BBL, CHG, CPALL, MTC, NSL, RBF, SEAFCO, SHR, WHA
หุ้นเด่น Finansia 24 ก.พ. 25 : MTC
- แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 56 บาท
- เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2025 แม้การประหยัด Funding Cost จะน้อยกว่าที่เคยประเมิน แต่การเติบโตของสินเชื่อและคุณภาพสินทรัพย์ยังสามารถจัดการได้ดีต่อเนื่อง เราคาดกำไรปกติปี 2025 ที่ 7.1 พันลบ. +21% y-y
- ระยะสั้นได้ Sentiment หนุนจาก Bond Yield สหรัฐฯที่ปรับตัวลดลง นอกจากนี้หางกนง.ปรับลดดอกเบี้ยลงจาก 2.25% เหลือ 2% ในการประชุมวันพุธนี้จะเป็น Catalyst บวกและหนุนราคาหุ้นได้ต่อเนื่อง
- แนวรับ 46.25-46 บาท แนวต้าน 48.80-49//50-51 บาท
Fund Flow : เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนต่างชาติสุทธิไหลเข้าภูมิภาค US$473 ล้าน แต่กระจุกตัวที่ไต้หวันประเทศเดียว US$615 ล้าน แต่ไหลออกจากเกาหลีใต้ US$63 ล้าน ส่วนฝั่งอาเซียนเม็ดเงินไหลออกจากทุกประเทศ สูงสุดที่อินโดนีเซีย US$43 ล้าน ตามด้วยไทย US$21 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนคาดว่ายังอยู่ในทิศทางไหลออกโดยตลาดเริ่มกังวลกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มอ่อนแอกว่าคาด ทั้ง PMI ภาคบริการและความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขณะที่เงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นจากนโยบายภาษีของทรัมป์
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+) CBG กำไรสุทธิ 4Q24 ที่ 783 ลบ. +5.6% q-q, +21% y-y ใกล้เคียงคาด สูงสุดในรอบ 14 ไตรมาส จบปี 2024 มีกำไรสุทธิ +48% y-y 1Q25 เข้าสู่ฤดูกาลของการขายในตลาด CLMV และยังต้องติดตามภาวะการแข่งขันหลังจากคู่แข่งปรับกลยุทธ์ออกสินค้าใหม่ 10 บาท ขณะที่แนวโน้มต้นทุนอลูมิเนียมปรับขึ้นรวมถึงการปรับขึ้นภาษีน้ำตาลครั้งที่ 4 ในเดือน เม.ย. นี้ ล่าสุดบอร์ดบริษัทอนุมัติให้ลงทุนโรงงานผลิตขวดแก้วเตา 3 ด้วยเงินลงทุน 1.74 พันลบ. และออกเสนอขายหุ้นกู้ไม่เกิน 5 พันลบ. ราคาเป้าหมาย 88 บาท แนะนำ “ซื้อ”
(+) SNNP ตั้งเป้ารายได้เติบโต 15% y-y จากการออกสินค้าใหม่ อย่าง Magic X เป็นต้น และตั้งเป้ารายได้จากเวียดนามจะกลับมาเท่ากับปี 2023 หรือ +50% y-y สูงกว่าที่เราคาดไว้เพียง 10% y-y เรามีมุมมองเชิงบวกต่อ SNNP เพิ่มขึ้นจากการปรับเป้ารายได้จากเวียดนามที่ดีขึ้นและคาดเห็นรายได้รายไตรมาสที่สม่ำเสมอ รวมถึงการออกสินค้าใหม่จะช่วยให้กำลังผลิตเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น และทำให้อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้น เรายังคงคาดกำไรสุทธิปี 2025 +12% Y-Y และราคาเป้าหมาย 15 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ”
(+) WHA กำไรปกติ 4Q24 ที่ 1.4 พันลบ. +87% q-q, -41% Y-Y ทำ record high ตามคาด จากรายได้จากการขายที่ดินเพิ่มขึ้นตามยอดโอนที่ดิน อัตรากำไรขั้นตันดีขึ้น รวมถึงและมีกำไรจากการขายสินทรัพย์เข้า WHAIR จบปี 2024 มีกำไรปกติ +2.4% y-y สิ้นปีมี Backlog 1,535 ไร่ บริษัทตั้งเป้ายอดขายปีนี้ 2,350 ไร่ ตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่เช่าของโรงงาน-คลังอีก 6% เราคงประมาณการกำไรปี 2025 +18% เป็น 5.3 พันลบ. คงราคาเป้าหมาย 6.40 บาท แนะนำ “ซื้อ”
(0) WHAUP กำไรปกติ 4Q24 ที่ 204 ลบ. -64% q-q, -56% y-y ตามคาด หากรวมกำไรจาก FX จะมีกำไรสุทธิ 236 ลบ. สาเหตุหลักมจากรายได้จากธุรกิจสาธารณูปโภคลดลง เนื่องจากลูกค้า IU รายหนึ่งหยุดซ่อมบำรุงชั่วคราว ร่วมถึงส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดลง โดยเฉพาะ GHECO-One ที่ยังเผชิญต้นทุนถ่านหินสูง และรับรู้รายได้ค่า AP เต็มในปีก่อน คงคาดกำไรสุทธิปี 2025 +23% y-y ราคาเป้าหมาย 4.50 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ”
(0) TFG กำไรปกติ 4Q24 ที่ 1.2 พันลบ. ทรงตัว q-q และพลิกจากขาดทุนปีก่อน ใกล้เคียงคาด คาดกำไร 1Q25 จะฟื้นตัว q-q และโตแรง y-y จากราคาเนื้อสัตว์ที่ปรับขึ้นดีทั้งในไทยและเวียดนาม ขณะที่ภาพรวมต้นทุนวัตถุดิบยังทรงตัว อย่างไรก็ตาม TFG จะเริ่มถูกกระทบจาก GMT ของไทยตั้งแต่ 1Q25 เป็นต้นไป โดยบริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาผลกระทบดังกล่าว จ่ายปันผลงวด 2H24 หุ้นละ 0.225 บาท คิดเป็น yield สูงถึง 6.4%
(0) SEAFCO 4Q24 ขาดทุนสุทธิ -27 ลบ.ใกล้เคียงคาด แต่ยังสามารถจ่ายเงินปันผลงวดปี 2024 ที่ 0.03 บ./หุ้น Yield 1.5% รถไฟฟ้าสายสีส้มจะเริ่มงานได้ในเดือนมี.ค. ส่งผลให้โมเมนตัมจะฟื้นกลับเป็นกำไร 2025 และเด่นขึ้นใน 2H25 ระยะสั้นมี Catalyst รออยู่จากการประกาศรับงานใหม่ คาดชัดเจนในเดือนมี.ค. โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีส้มในสถานีเพิ่มเติม ประกอบกับภาพปี 2025 กำไรคาดฟื้นเด่น จึงคงแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 3 บาท
(-) STA/STGT แนวโน้มธุรกิจยางธรรมชาติดูสดใสน้อยกว่าที่เคยคาด STA ตั้งเป้าปริมาณขายปี 2025 ทรงตัวจากคำสั่งซื้อในช่วง 1H25 ที่ดูทรงตัว ส่วนปริมาณขายยาง EUDR ใน 1H25 จะปรับลงจาก 4Q24 และราคาขายยาง EUDR ถูกต่อรองปรับลงสอดคล้องกับสมมติฐานราคาขายของเรา สำหรับถุงมีอยาง มองเป็นกลาง STGT ตั้งเป้าปริมาณขายปี 2025 +10% y-y ขณะที่แนวโน้มราคาขายดูทรง ตัวจากปี 2024 และการบริหารอัตรากำไรขั้นต้นยังเป็นเรื่องท้าทายจาก Supply ที่ดึงตัว เราจึงปรับลดอัตรากำไรขั้นต้นปี 2025 ลงเล็กน้อยและ STA จะถูกกระทบ GMT เราปรับลดกำไรปี 2025 ลง 22%เป็น 1.95 พันลบ. +17% y-y ได้ราคาเป้าหมายใหม่ 20 บาท แนะนำซื้อเก็งกำไรตามราคายาง
(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 748.63 จุด หรือ -1.69%, ปิดที่ 43,428.02 จุด ในวันศุกร์ (21 ก.พ.) โดยตลาดถูกกดดันจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจและอุปสงค์ที่อ่อนแอของผู้บริโภค และนักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับการกำหนดภาษีศุลกากรครั้งใหม่ของสหรัฐฯด้วย
(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันศุกร์ (21 ก.พ.) และทำสถิติปรับตัวขึ้นรายสัปดาห์ยาวนานที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี แต่ดัชนี DAX ของเยอรมนีลดลงเล็กน้อย ขณะที่ผู้ลงทุนมุ่งความสนใจไปที่การเลือกตั้งในเยอรมนีในวันอาทิตย์ที่ 23 ก.พ.
(-) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดลบตามทิศทางตลาดสหรัฐฯ หลังสหรัฐฯรายงานตัวเลข Service PMI ที่ต่ำกว่าตลาดคาดสร้างความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย
(+) ค่าเงินบาท แข็งค่าอยู่ที่บริเวณ 33.54 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หรือ -0.02%
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ร่วงลง 2.08 ดอลลาร์ หรือ 2.87% ปิดที่ 70.40 ดอลลาร์/บาร์เรล ในวันศุกร์ (21 ก.พ.) และปิดตลาดสัปดาห์นี้ติดลบ หลังจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงจากสถานการณ์ในตะวันออกกลาง และยังคงไม่แน่ใจเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของข้อตกลงสันติภาพในยูเครน ในขณะที่เช้านี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 70.18 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ -0.31%
(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 2.90 ดอลลาร์ หรือ 0.10% ปิดที่ 2,953.20 ดอลลาร์/ออนซ์ ในวันศุกร์ (21 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากราคาทองคำแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันพฤหัสบดี อย่างไรก็ตาม ราคาสัญญาทองคำยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 8 โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแผนการขึ้นภาษีนำเข้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในขณะที่เช้านี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 2,943.10 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ -0.34%
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 904.38/ 2.34%
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
24 ก.พ. | ยุโรโซน: เงินเฟ้อ (ม.ค.) |
25 ก.พ. | ไทย: ส่งออก (ม.ค.) |
26 ก.พ. | ไทย: ประชุมกนง. สหรัฐ: New Home Sale (ม.ค.) |
27 ก.พ. | สหรัฐ: Durable Goods Orders (ธ.ค.), 4Q24 GDP growth rate 2nd Est. |
28 ก.พ. | สหรัฐ: Core PCE Price Index (ม.ค.) ฝรั่งเศส: เงินเฟ้อ (ก.พ.) |