บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

SPCG: กําไรมีแรงกดดันจากสัญญาแบบ adder ที่หมดอายุลง

คงคําแนะนํา “ถือ” SPCG ด้วยราคาเป้าหมาย 18.80 บาท อิงวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC7%, TG 1%) คําแนะนํานี้สะทอ้นถึงภาพรวมกําไรที่อ่อนแอจากสัญญาประเภทส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (adder) ที่หมดอายุลง

  • กําไรสุทธิของ SPCG ใน 3Q21 แตะจุดต่ำสุดรอบ 3 ไตรมาสท่ี 541 ล้านบาท (-21%YoY, -15% QoQ) จากรายได้ท่ีลดลง (-13% YoY และ -13% QoQ)
  • อัตรากําไรขั้นต้น (GPM) แตะจุดต่ำในรอบ 3 ไตรมาสท่ี 70.1% (-4.5ppts YoY, +1.9ppts QoQ)
  • คาดกําไร 4Q21 ลดลงต่อเนื่องทั้ง YoY และ QoQ จากการขาดหายไปของโครงการรูปแบบ adder 4 โครงการในปีน้ี
  • คาดกําไรปี 2022-2024 จะลดลงต่อเนื่องจากการขาดหายไปของสัญญาประเภท adder ทั้งหมดภายในปี 2024

รายได้เงินปันผลจากโครงการในญี่ปุ่นไม่สามารถชดเชยส่วนแบ่งกําไรจากโครงการเดิมที่ลดลงหลังสัญญาประเภท adder หมดอายุลงในช่วงปี 2022-2024

สรุปผลประกอบการ

  • กําไรสุทธิ 3Q21 อยู่ที่ 541 ล้านบาท (-21%YoY, -15% QoQ)
  • กําไรสุทธิที่ลดลง (ทั้ง YoY และ QoQ) เป็นผลมาจากรายได้ที่ลดลง ยิ่งในเชิง YoY จะถูกกดดันเพิ่มเติมจาก GPM ที่ลดลง
  • รายได้ 3Q21 ลดลงเหลือ 1.03 พันล้านบาท (-13% YoY และ -13% QoQ) จากปริมาณการผลิตในโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ลดลงเหลือ 88.5 ล้านยูนิต (-4% YoY, -6%QoQ) และรายได้จากสัญ ญาประเภท adder 2 โครงการ (8 บาท/ยูนิต) ที่สิ้นสุดลงใน 3Q21
  • GPM อยู่ที่ 70.1% เทียบกับ 74.6% ใน 3Q20 และ 68.2% ใน 2Q21 หลังจากสัญญาประเภท adder สิ้นสุดลง และมีปริมาณการผลิตที่ลดลงจากปัจจัยตามฤดูกาล

การขาดหายไปของสัญญาประเภท adder จะกดดันกำไรในช่วงปี 2022-2024

  • บริษัทมีโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์อยู่ 36 โครงการในไทย กําลังการผลิตรวมที่ 260MW
  • สัญญาประเภท adder จะสิ้นสุดลง 4 โครงการในปี 2021 และอีก 4 โครงการในปี 2022 ด้วย adder ที่ 8 บาท/ยูนิต บริษัทจึงจะขายไฟฟ้าที่ราคาฐาน 3 บาท/ยูนิตสําหรับโครงการที่สัญญาแบบ adder หมดอายุลง
  • โครงการอื่นๆที่มีสัญญาประเภท adder จะทยอยหมดอายุลง ทั้งหมดภายในปี 2024 คาดกําไรจะลดลง 45% จาก 2.7 พันล้านบาทในปี 2020 เป็น 1.5 พันล้านบาทภายในปี 2023

รายได้เงินปันผลจากการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นจะไม่สามารถชดเชยส่วนของ adder ที่หายไปได้

  • โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แห่งแรกในญี่ปุ่นชื่อ Tottori มีกําลังการผลิตติดตั้งแล้ว 30MW เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ไปแล้วตั้งแต่ปี 2018 จะมีการมอบค่าเช่าที่ดินให้กับบริษัท แต่จะไม่ม่นัยสําคัญต่อผลประกอบการรวม
  • บริษัทมีแผนลงทุน 95 ล้านบาท (ถือครอง 10%) ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ Fukuoka Miyako Mega Solar กําลังการผลิตรวมที่ติดตั้งแล้ว 67MW (6.7MWe) ตัวโครงการจะแบ่งเป็นเฟสทางเหนือ (23 MW) และเฟสทางใต้ (44MW) เฟสทางเหนือก่อสร้างเสร็จแล้ว และเชื่อมต่อกับโครงข่ายแล้ว ส่วนเฟสทางใต้อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ และคาดว่าจะเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2023 คาดรายได้เงินปันผลจากโครงการนี้ที่ราว ๆ 6 ล้านบาท
  • บริษัทมีแผนลงทุน 2.6 พันล้านบาท (ถือครอง 17.92%) ในโครงการ Ukujima กำลังการผลิตรวมที่ติดตั้งแล้ว 480 MW(86MWe) กําหนดการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในเดือนก.ค.2023 ผู้บริหารคาดรายได้เงินปันผลที่ 283 ล้านบาท ภายในปี 2025 ปัจจุบันมีการลงทุนไปแล้ว 1.26 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเลื่อนไปลงทุนในปี 2022 เพราะผลกระทบจาก COVID-19

ปรับประมาณการกำไรปี 2021-23E ลง 2% 1% และ 23% ตามลำดับ

สาเหตุของการปรับลดประมาณการกำไรหลักๆ มาจากการปรับลดสมมติฐานของรายได้ลง 6.4% 1.1% และ 12.1% ใน 2021-23 ตามลําดับ เพื่อสะท้อนถึงการนําสมมติฐานเงินอุดหนุนจากสัญญา adder ออก

Revenue Breakdown

SPCG มี 3 ธุรกิจหลัก อย่างแรก คือ โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ 36 โครงการในไทย กำลังการผลิตติดตั้งแล้วทั้งหมด 260MW กระจายอยู่ใน 10 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และในจังหวัดลพบุรีครอบคลุมพื้นที่ราว 2 พันเอเคอร์ และคิดเป็น 86% ของรายได้รวมในปี 2020

ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์บนหลังคาคิดเป็น 13% ของรายได้รวมในปี 2020 มีการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของภาคครัวเรือน อาคารธุรกิจ อาคารสำนักงาน และหลังคาโรงงาน

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างแบบครบวงจร (EPC) คิดเป็น 1% ของรายได้รวม ครอบคลุมงานวิศวะกรการจัดซื้อการก่อสร้าง และการซ่อมบำรุง และการตรวจสอบคุณภาพโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

- Advertisement -