บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 26/03/68
ภาพตลาดและแนวโน้ม : Market wrap & Outlook
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
.
Trump Effect…เขย่าโครงสร้างเศรษฐกิจไทย
Highlights :
. 🔹 ไทยมีทางเลือกอะไรรับมือมาตรการภาษี Trump 2.0
. 🔹 กลุ่มสินค้าส่งออกใดเสี่ยงถูกเก็บ Reciprocal Tariff
. 🔹 กลุ่มสินค้าความเสี่ยงสูง หากถูกเก็บภาษี จะยังแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้หรือไม่
. 🔹 หากไทยจำเป็นต้องเพิ่มการนำเข้าสินค้าเพื่อใช้ในการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ สินค้าใดมีความเป็นไปได้สูงสุด
. 🔹 ผลกระทบต่อการส่งออกและ GDP ไทยจะเป็นอย่างไร
💡 ทางเลือกของไทยจากมาตรการขึ้นภาษีในยุค Trump 2.0 มีอะไรบ้าง
. เราประเมินว่า มาตรการการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ ในยุค Trump 2.0 โดยเฉพาะการเรียกเก็บภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariff) กับสินค้าไทยเพิ่มเติมเป็นบางรายการ จะเปิดทางให้ไทยสามารถพิจารณาทางเลือกเชิงกลยุทธ์ได้ 2 แนวทางหลัก นั่นคือ
. แนวทางที่ 1 : เกิดการเจรจาทางการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ โดยไทยจำเป็นต้องมีการนำเข้าสินค้าอื่นๆ ที่สำคัญของสหรัฐฯ เพิ่มเติม เพื่อลดการเกินดุลทางการค้ากับสหรัฐฯ และลดทอนความเสี่ยงจากการโดนเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มเติม
. แนวทางที่ 2 : ไทยอาจจำเป็นต้องเจรจาลดภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เป็นบางรายการ ซึ่งอาจต้องทำควบคู่กับแนวทางที่ 1
💡 กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมใดของไทยที่มี“ความเสี่ยงสูง”จะถูกสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariff) เพิ่มเติม
. ยางล้อรถยนต์
. ชิ้นส่วนยานยนต์
. เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ
💡 หากกลุ่มสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงถูกสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษี Reciprocal tariff จะยังสามารถแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้หรือไม่
. เราคาดว่ายางล้อรถยนต์จะยังพอแข่งขันได้ในตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากมีส่วนต่างของภาษีนำเข้ากับสหรัฐฯ ที่ 10% น้อยกว่าคู่แข่งในภูมิภาคเดียวกัน อย่างเช่น เวียดนาม (21.3%) อินโดนีเซีย (15%) และกัมพูชา (15%) ส่วนการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (อาทิ เครื่องปรับอากาศ ทีวี ตู้เย็น) ไปยังตลาดสหรัฐฯ จะมีความท้าท้ายมากขึ้น เนื่องจากส่วนต่างของภาษีนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้ากับสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง ขณะที่เครื่องซักผ้าไทย น่าจะยังพอมีโอกาสเข้าไปทดแทนสินค้านำเข้าจากจีนและเม็กซิโกในตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากมีส่วนต่างของภาษีกับสหรัฐฯ ที่ 10% นับว่าต่ำกว่าจีนและเม็กซิโกที่จะโดนเรียกเก็บขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเพิ่มเติมอีก 20% และ 25% ตามลำดับ
💡 หากรัฐบาลจะเจรจาทางการค้า ด้วยการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น สินค้าใดที่มีความเป็นไปได้สูงสุด เพราะเหตุใด
. สินค้าความเป็นไปได้ระดับสูง ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ทั้งนี้ รัฐบาลอาจต้องลดภาษีนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ เพิ่มเติมด้วย (ปัจจุบัน ไทยเก็บภาษีนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ ที่ 80%) เนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งจากสหรัฐฯ จะแพงกว่าบราซิลซึ่งเป็นคู่ค้าถั่วเหลืองรายใหญ่ของไทยกว่า 30%
. ส่วนสาเหตุสำคัญที่จำเป็นต้องเลือกนำเข้าถั่วเหลืองและข้าวโพด คือ เป็นที่ต้องการสูงในไทย ขณะที่ไทยจำเป็นต้องพึ่งพิงสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากผลิตในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยปัจจุบัน ไทยสามารถถั่วเลืองได้เพียง 0.6% ขณะเดียวกัน ก็สามารถผลิตข้าวโพดได้ราว 60% จากปริมาณความต้องการใช้ในประเทศทั้งหมด
💡 ผลกระทบต่อภาคการส่งออกไทยและ GDP ไทยจะเป็นอย่างไร
. หากภาครัฐไทยสามารถเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ ได้ตามกลยุทธ์ในแนวทางที่ 1 และ 2 ตามที่กล่าวมาข้างต้น และไทยไม่โดนเรียกเก็บภาษีตอบโต้ทางการค้าแบบ Reciprocal tariff เพิ่มเติม โดยไทยโดนเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเฉพาะบางรายการเหมือนเช่นประเทศอื่นๆ ตามที่สหรัฐฯ ได้ประกาศขึ้นภาษีไว้ก่อนหน้านี้ (อาทิ เหล็ก อะลูมิเนียม เซมิคอนดักเตอร์ ยา รถยนต์ รวมถึงแผงโซลาร์เซลล์) ก็น่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยราว 0.2% และทำให้การส่งออกไทย ในปี 2025 ขยายตัวที่ 1.8%
. อย่างไรก็ดี หากไทยโดนเรียกเก็บภาษีตอบโต้ทางการค้าแบบ Reciprocal tariff เพิ่มเติม โดยเฉพาะในกลุ่มรายการที่เราประเมินไว้ว่าเป็นความเสี่ยงสูง (ได้แก่ ชิ้นส่วนยางยนต์ ยางล้อรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ) ควบคู่กับการโดนเรียกเก็บภาษีในบางรายการสินค้าที่สหรัฐฯ ได้ประกาศไว้ข้างต้น ก็น่าจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อการส่งออกไทยราว 0.6% และทำให้การส่งออกไทยปี 2025 โตชะลอลงอยู่ที่ราว 1.2% และท้ายที่สุดอาจส่งผลให้ GDP ไทยปี 2025 โตชะลอลงเหลือราว 2.0%
สรุปภาพตลาดวานนี้
. หุ้นไทยยังเทรดแบบเนือยๆ ด้วยปริมาณการซื้อขายที่ยังน้อยกว่าเฉลี่ย โดย SCC SCGP กลับมากดดันตลาดร่วมกับกลุ่มคอมเมิร์ช CPALL CRC CPN HMPRO ขณะที่เม็ดเงินไหลไปพักที่ธนาคาร TRUE และหมู-ไก่
แนวโน้มตลาดวันนี้
กังวลวิกฤตโกเร็งมากเกินไป
. ผิดคาดหุ้นไทยไม่สามารถรีบาวด์ได้ต่อเนื่อง เมื่อวานพยายามกลับลงมาหาฐานโซน 1170 (อีกแล้ว) ตามที่เราคาดไว้ในกรอบระยะสัปดาห์ จากปัจจัยใหม่เรื่องความกังวล กิจการที่มีการลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย เช่น กลุ่ม ปตท. ปูนซีเมนต์ไทย แบงก์พาณิชย์ไทย ฯลฯ อาจกระทบหางเลขจากภาวะความกังวล เศรษฐกิจอินโดนีเซียกระทบจากค่าเงินอ่อนยวบ, การประท้วง กม.ทหาร, การเมือง และเรื่องการจัดตั้งกองทุนดานันทารา เพื่อบริหารทรัพย์สินรัฐวิสาหกิจฯกว่า 9แสนล้านเหรียญ (แต่จากที่เราศึกษาข้อมูลรีเสริชโบรกเกอร์ ต่างประเทศ บางแห่งยังชอบตลาดหุ้นอินโดฯ และมองพื้นฐานเศรษฐกิจยังไม่เป็นปัญหาวิกฤต)
. หากเป็นตามมุมมองโบรกต่างชาติ เราคาดว่าราคาหุ้นไทยหลายตัวที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจอินโดฯ ไม่น่าจะลงไปมากกว่านี้ (แต่ยังวางใจไม่ได้ ต้องติดตามกันต่อไป) และอาจจะมีรีบาวด์ เร็วๆ นี้
. โดยไม่นับรวมเรื่อง อินโดฯ เราคาดว่าเรื่องอื่นๆ ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น การเก็บภาษีตอบโต้ของอเมริกา จะมีความชัดเจน 2 เมย. ตามกำหนดเดิม แม้ล่าสุด นลท.หุ้นโลกอาจจะมองว่ามีแนวโน้มผ่อนคลายขึ้น, ภัยสงครามตะวันออกกลาง, รัสเซียยูเครน ที่ยังไม่จบ, ตัวเลขเศรษฐกิจอเมริกาหดตัวเช่น PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นของ S&P หดตัว
. เรามองว่าเป็นเรื่องเดิมที่ยังเป็นปัจจัยลบกดดันบรรยากาศลงทุน แต่เชื่อว่า ระยะสั้นน่าจะไม่กดหุ้นไทยให้ปรับลงรุนแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมา ด้วยหลายประเด็นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ต้องติดตามผลลัพธ์ที่จะเกิดกับเศรษฐกิจไทยหลังจากนี้ ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นถ่วง Upside หุ้นไทย แต่ไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพร์สที่ จะกดหุ้นไทยให้ร่วงรุนแรง
. ดังนั้นกลยุทธ์หลักเรายังเน้นไปที่การเลือกหุ้นลงทุนเป็นรายตัว ท่ามกลางความเสี่ยงด้านล่างของภาพรวมการลงทุนหุ้นไทยที่เรามองว่ายังมีจำกัดในระยะนี้ โดยกรอบดัชนีฯสัปดาห์นี้ คาดขึ้นสลับย่อ กรอบ 1,170-1,200 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เลือกสะสมหุ้นรายตัว (Hold ระยะยาวหน่อย) จากเกณฑ์
. 1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought
. 2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands
. 3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง
. 4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว เช่น มาตรการ ช้อปช่วยชาติ แจกเงินหมื่น ในช่วงไตรมาสแรก หนุนกำไรโตต่อเนื่อง 4Q24-1Q25
. 5) มีปันผลระหว่างกาล
วิเคราะห์ทางเทคนิค
. SET Index ปรับลง…อยู่ในโหมดสร้างฐานใหม่ ภายหลังผ่านการ drawdown ลงมาทั้งสิ้น 22% (วัดจาก 1,500 จุด) แนวโน้มระยะสั้นมีขึ้นสลับลง กลับมายืนเกาะเส้น EMA 10 วันที่ 1,180 จุด…สำเร็จ เริ่มทำค่าเฉลี่ยขึ้น จับตาจุดผลิกผันอาจต้องรอสัญญาณกลับตัว รอทะลุ > 1,200 จุด (EMA 25 วัน) ขึ้นไปให้ได้เสียก่อน! ส่วนภาพใหญ่นับคลื่น “Corrective wave” คลื่นขาลง คาดว่าฟอร์มตัวอยู่ใน Wave 5 ยังพอมีความหวังมีโอกาสฟื้นตัว แต่มีเงื่อนไขต้องยืนสู้ที่ low ห้ามลงต่ำกว่า 1,157 จุด
. Note : สแกนหุ้นใหญ่โครงสร้างแกร่ง เช่น กลุ่มน้ำมัน (PTT ,PTTEP) สื่อสาร (ADVANC, TRUE) ธนาคาร (KTB, SCB) และเกษตร (CPF) เด่นที่สุด!
What to watch
. คกก. ตลาดทุนตุรกี ประกาศห้าม ชอร์ตเซล, อนุญาตให้ บจ.ซื้อหุ้นคืนได้ในราคาสูงกว่าราคาปิดวานก่อน, ลดสัดส่วนหลักประกัน จาก 35% เหลือ 20% มีผลถึง 25 เม.ย. นี้
. สว. เรียก กลต. ตลท. ชี้แจง และทบทวนมาตรการ เพื่อเร่งสร้างความเชื่อมั่นหุ้นไทย
. ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ เตรียมประกาศใช้ภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ตามที่วางแผนไว้ในวันที่ 2 เม.ย. อย่างไรก็ดี สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า ภาษีศุลกากรซึ่งจะเรียกเก็บเป็นรายภาคอุตสาหกรรม เช่น ภาษีนำเข้ารถยนต์และเซมิคอนดักเตอร์นั้น มีแนวโน้มว่าจะไม่ประกาศใช้ในเวลาเดียวกัน
. ปธน.ทรัมป์กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ (21 มี.ค.) ว่าจะมีการใช้ความยืดหยุ่นต่อแผนการเรียกเก็บภาษีตอบโต้ซึ่งสหรัฐฯ มีกำหนดบังคับใช้ในวันที่ 2 เม.ย. พร้อมกับกล่าวว่าเขามีแผนที่จะพูดคุยกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน หลังจากที่จีนประกาศเรียกเก็บภาษีสินค้าเกษตรนำเข้าจากสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ที่เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน
. วันพุธ : อเมริการายงาน GDP 4Q (3rd) คาด +2.4% q-q จาก 2.3% q-q
. วันศุกร์ : รายงานเงินเฟ้ออเมริกา PCE คาด +0.3% m-m
หุ้นแนะนำวันนี้
. TOP : เรื่องโครงการโรงกลั่น CFP สะท้อนไปในราคาหุ้นหมดแล้ว เหลือแต่การเดินหน้าโครงการและกลับมามี Upside ในอนาคต แนวรับ 25.5 แนวต้าน 28 ตัดขาดทุน 24