Daily Focus: SET อาจหลุด 1,100+- จุด ก่อนลุ้นดีดกลับระยะสั้น

2025 SET Target: 1390

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวลงอย่างรุนแรง ปิดลบถึง 36.60 จุด ที่ระดับ 1,125.21 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นขึ้นเป็น 4.8 หมื่นลบ. โดยมีดัชนีไหลลงเร็วหลังจากหลุด Low เดิม 1,155 จุด ในช่วงต้นชั่วโมงการซื้อขาย หุ้นขนาดใหญ่ถูกเทขายอย่างหนัก นำโดยกลุ่มพลังงาน ปีโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ ขนส่ง วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น สถาบันในประเทศและนักลงทุน ต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นสูงถึง 2.7 พันลบ.และ 6.4 พันลบ. ตามลำดับ (ต่างชาติยัง Short Index Futures อีกถึง 3.3 หมื่นสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะลงทดสอบ 1,100 จุด โดยอาจหลุดต่ำกว่าก่อน ลุ้นดีดตัวสลับ ชดเชยวานนี้ที่ปิดทำการ อย่างไรก็ตาม คาดดัชนีจะปรับลงไม่แรงเท่าภูมิภาควานนี้ เนื่องจากเริ่มเห็นการรีบาวด์ของตลาดเอเชียเช้านี้ รวมถึง Futures สหรัฐฯ ที่พลิกมาเป็นบวก ปัจจัยที่ยังกดดันสินทรัพย์เสี่ยงและสร้างความไม่แน่นอนยังคงอยู่ที่ผลกระทบจากมาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวหรืออาจถึงขั้นเข้าสู่ภาวะถดถอย ล่าสุดตลาดประเมินโอกาสที่ FED จะลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปเดือนพ.ค. ที่ 40-50% และมองว่าอาจปรับลดปีนี้ 5 ครั้งจากระดับปัจจุบันที่ 4.25-4.50% ส่งผลให้ Bond Yield แม้เมื่อคืนจะดีดตัวขึ้นระยะสั้น แต่คาดระยะกลาง-ยาวจะทยอยปรับตัวลงต่อเนื่อง ด้านราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงแรงโดยล่าสุด Brent อยู่ที่ราว US$65 ต่อบาร์เรล ด้านปัจจัยในประเทศต้องติดตามพัฒนาการข่าวการว่าจะมีการเจรจาพูดคุยกับสหรัฐฯว่าจะสามารถปรับลดอัตราภาษีสินค้าลงจาก 37% ได้มากน้อยเพียงใด ส่วนสัปดาห์นี้พ.ร.บ. Entertainment Complex จะเข้าพิจารณาในสภาฯ ด้านนโยบายการเงินเราคาดว่ามีโอกาสค่อนข้างสู่ที่กนง.จะปรับลดดอกเบี้ย 25 bps จากระดับ 2% ในการประชุมปลายเดือนนี้เพื่อพยุงเศรษฐกิจและลดผลกระทบเชิงลบจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและไทยที่ชะลอตัว เรายังแนะนำเลี่ยงลงทุนกลุ่มวัฏจักร ส่งออก และภาคการผลิต เช่น พลังงาน ปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ อาหารสัตว์เลี้ยง ยาง เป็นต้น ส่วนกลุ่มที่คาดว่าจะปรับตัวได้แข็งแรงกว่าคือ Defensive / Consumer Staple / ภาคบริการ รวมถึงกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง ได้แก่ สื่อสาร การแพทย์โรงไฟฟ้า IPP ค้าปลีก ไฟแนนซ์

กลยุทธ์ : ยังเน้น Selective Buy หุ้น Domestic ที่มีแนวโน้มกำไร 1Q25-2025 แข็งแกร่งและกระทบจำกัดต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัว

หุ้นเด่นเดือน เม.ย. : BA, BBL, CPF, HMPRO, OSP

FSSIA Portfolio: BA, BBL, BTG, CPALL, MTC, NSL, PR9, SEAFCO, SHR

หุ้นเด่น Finansia 8 เม.ย. 25 : ADVANC

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายเฉลี่ยจาก IAA Consensus ที่ 306.40 บาท 
  • แนวโน้มปี 2025 คาดโตต่อ 10% y-y จาก ARPU สูงขึ้นจากการแข่งขันลดลง, การนำคลื่นความถี่ถึง 6 ย่านความถี่มาประมูลพร้อมกันใน 2Q25 ควรทำให้ราคาประมูลไม่แพงนัก และการเริ่มรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก Data center
  • ระยะสั้นคาดกำไร 1Q25 ราว 9.5 พันลบ. โตทั้ง q-q และ y-y ส่วนระยะยาวคาดทยอยเห็น Synergy ร่วมกับ GULF ในด้านการต่อยอดธุรกิจด้านเทคโนโลยี ปัจจุบัน IAA Consensus คาดกำไรปี 2025 เฉลี่ยที่ 3.77 หมื่นลบ. +10% y-y และคาดให้ Dividend Yield ราว 4.3% ต่อปี
  • แนวรับ 275//265 บาท แนวต้าน 280 บาท 

Fund Flow : ช่วงวันศุกร์และวันจันทร์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกจากภูมิภาค สุทธิหนาแน่น US$1,906 ล้าน นำโดยเกาหลีใต้ US$2,835 ล้าน แต่พลิกมาไหลเข้าไต้หวัน US$1,291 ล้าน ขณะที่อาเซียนเม็ดเงินไหลออกทุกประเทศนำโดยไทย US$185 ล้าน ตามด้วยเวียดนาม US$107 ล้าน ขณะที่อินโดนีเซียยังปิดทำการ แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่ายังอยู่ในทิศทางไหลออกจากความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัวหรือถดถอยจากผลของมาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ของสหรัฐฯที่ยังคงอยู่และสร้างความไม่แน่นอน

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) CPF คาดกำไรสุทธิ 1Q25 ที่ 6.5 พันลบ. +57% q-q, +5.7% y-y ดีกว่าที่เคยคาดก่อนหน้านี้ แนวโน้มกำไร 2Q25 ยังดูดีต่อ เพราะราคาเนื้อสัตว์ไทยและเวียดนามทรงตัวสูงต่อเนื่อง หักล้างหมูจีนที่อ่อนลงได้หมด และต้นทุนวัตถุดิบยังอยู่ในระดับต่ำ ผลกระทบทางตรงของ Trump’s tariff จำกัด CPF มีส่งออกไป US เพียง 0.3% เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2025 เป็น 22 ลบ. +11.7% y-y ได้ราคาเป้าหมายใหม่ 30 บาท แนวโน้มราคาเนื้อสัตว์ และกำไรยังดีราคาหุ้นปัจจุบันเทรด PE เพียง 9.5x ถูกเกินไป ยังแนะนำ “ซื้อ”

(-) SPALI มองเป็นกลางต่อยอด Presales 1Q25 ที่ 6.7 พันลบ. ทรงตัว q-q, -4% y-y แม้เปิดโครงการไม่มาก แต่ยังประคองตัวได้จากผลตอบรับดีของโครงการแนวราบใหม่ที่ภูเก็ต ทำให้ยอดขาย 1Q25 คิดเป็น 21% ของเป้าทั้งปี เบื้องต้นเราคาดกำไร 1Q25 ขยายตัว y-y จากฐาน ต่ำปีก่อน แต่ลดลง q-q จากปัจจัยฤดูกาลและโครงการเปิดใหม่น้อยลง ระยะสั้นขาด Catalyst ส่วนประมาณการกำไรสุทธิปี 2025 -6% y-y มีโอกาสมี Downside จากแผ่นดินไหวซึ่งยังต้อง ติดตามผลกระทบต่อยอดขาย ยังแนะนำ “ถือ”

(-) TU คาดกำไรสุทธิ 1Q25 ที่ 642 ลบ. -47% q-q, -44% y-y ต่ำสุดในรอบ 23 ไตรมาส จากยอดขายที่ -13% q-q, -8% y-y อ่อนแอในทุกธุรกิจ เนื่องจาก demand ทั้งสหรัฐและยุโรป อ่อนแออย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายดำเนินการที่สูงขึ้นและจ่ายภาษี GMT เพิ่มขึ้น ผู้บริหารยังคาด 1Q25 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปี และจะเริ่มฟื้นตัว 2Q25 จากราคาทูน่าที่เริ่มปรับเพิ่มขึ้นจาก 1Q25 ส่วนผลกระทบจาก US tariff เราประเมินว่ารายได้ 30% ที่มาจากสหรัฐจะได้รับผลกระทบจาก demand ที่จะอ่อนแอ ดังนั้นจึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2025 ลง 26% เป็น 3.8 พันลบ. -24% y-y ได้ราคาเป้าหมายใหม่ 11 บาท และลดคำแนะนำเป็น “ถือ”

(0) กลุ่มนิคมฯ ราคาหุ้นยังปรับลงหนัก โดยเฉพาะ AMATA ขณะที่ WHA -3.8% ซึ่งน่าจะเป็นเพราะการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารว่า Backlog ที่มีสิ้นปีที่แล้ว 1,500 ไร่ + ขายใหม่ปีนี้หลายร้อยไร่ น่าจะทำให้เป้าทั้งปีที่ตั้งไว้ 2,350 ไร่ ถ้าไม่ถึงก็ใกล้มาก ส่วน AMATA บริษัทได้พูดคุยกับลูกค้า ยังไม่พบความผิดปกติ ไม่มีใครยกเลิกการจอง ส่วนที่เป็น Backlog อยู่ระหว่างเตรียม ส่งมอบ AMATA มี backlog สิ้นปี 2024 อยู่ 2.1 หมื่นลบ. สูงเป็นประวัติการณ์ คาดราว 50% จะรับรู้เป็นรายได้ในปีนี้ เทียบกับ 2 ปีก่อนที่มีรายได้จากนิคมฯปีละ 9 พันลบ. ถือว่ารายได้ปีนี้เสี่ยงต่ำที่จะพลาดเป้า ทั้งนี้ทั้ง 2 บริษัทยังต้อง revisit ลูกค้าเป็นระยะ AMATA กำลังรวบรวมข้อมูลและอีกสักพักจะสื่อสารให้ public ได้มั่นใจ

(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 349.26 จุด หรือ -0.91%, ปิดที่ 37,965.60 จุด ปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันจันทร์ (7 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่ามาตรการภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ จะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงและทำให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น โดยล่าสุด ปธน. ทรัมป์ขู่ว่าจะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มอีก 50% หากจีนไม่ยกเลิกการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ

(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดร่วงลงอย่างหนักในวันจันทร์ (7 เม.ย.) ท่ามกลางความผันผวน โดยดัชนี STOXX 600 ปิดที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2567 หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ยังไม่มีท่าที่ผ่อนปรนต่อสงครามการค้า

(+) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดบวกหลังปรับตัวลงแรงในวันก่อนหน้า ในขณะเดียวกันโดนัลด์ ทรัมป์ได้มีการขมขู่จะขึ้นภาษีประเทศจีนเพิ่มเติมอีก 50%

(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่าอยู่ที่บริเวณ 34.69 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 0.78%

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 1.29 ดอลลาร์ หรือ 2.08% ปิดที่ 60.70 ดอลลาร์/บาร์เรล ปิดร่วงลงกว่า 2% ในวันจันทร์ (7 เม.ย.) แตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 ปี เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่ามาตรการภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ จะส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยและทำให้ความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกปรับตัวลดลง ในขณะที่เช้านี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 61.22 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ 0.86%

(-) ราคาทองคำ COMEX ร่วงลง 61.80 ดอลลาร์ หรือ 2.04% ปิดที่ 2,973.6 ดอลลาร์/ออนซ์ ปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันจันทร์ (7 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทองคำและหันไปถือครองสกุลเงินที่ปลอดภัยซึ่งรวมถึงสกุลเงินดอลลาร์ ท่ามกลางความวิตกกังวลว่ามาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ จะส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย ในขณะที่เช้านี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 2,995.80 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ 0.75%

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 926.78/ -1.01%

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

9 เม.ย.ญี่ปุ่น: Consumer Confidence (มี.ค.)
10 เม.ย.สหรัฐ: เงินเฟ้อ (มี.ค.), FOMC Minutes

จีน: เงินเฟ้อ (มี.ค.).

11 เม.ย.สหรัฐ: Core PPI (มี.ค.).
12 เม.ย.จีน: ส่งออก (มี.ค.)
14 เม.ย.กลุ่มโอเปก: OPEC Monthly Report
- Advertisement -