บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

DELTA: การถูกถอนออก SET50 จะก่อให้เกิดแรงขาย

DELTA จะถูกนำออกจากการคำนวน SET50 ตั้งแต่วันที่ 1ม.ค.2022 เป็นต้นไป คาดว่านักลงทุนจำนวนมากจะขายหุ้นออกเพราะสัดส่วนการถือครองหุ้น DELTA โดยกองทุนปรับเพิ่มไปแล้ว 80% หลังจากถูกนำเข้ามาคำนวณใน SET50 เมื่อเดือน ม.ค. 2021

  • ศักยภาพการเติบโตของบริษัทโดยรวมยังคงเดิม ราคาหุ้นที่ 78xPE’22 จึงเป็นผลจากการถูกนำเข้าไปคำนวณใน SET50 มากกว่าการเปลี่ยนแปลงด้านปัจจัยพื้นฐาน จึงคิดว่าหุ้นควรมีมูลค่าที่ลดลงในปีหน้า
  • คาดว่าภาพรวมปี 2022-23 จะได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายในตลาด ICT โลกที่สูงขึ้น ส่วนธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทจะได้อานิสงส์จากกระแสดังกล่าวเช่นกัน เพราะอุปสงค์ต่อกลุ่มศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลจะมีแรงหนุนจาก e-commerce และการเรียนออนไลน์ ธุรกิจศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลของ DELTA ใน 3Q21 โต 150% QoQ จากฐานการจัดจำหน่ายที่ใหญ่ขึ้น

คงมูลค่าพื้นฐานเดิมที่ 227 บาท อิงจาก 42xPE’22E ในช่วงก่อนถูกนำเข้ามาคำนวณใน SET50 ราคาปิดล่าสุดสะท้อน 78xPE’22 ซึ่งค่อนข้างแพง แม้การเติบโตของกำไรจะเร่งตัวขึ้นในปี 2022

ข่าวเชิงลบจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดราคาหุ้นลง

วันที่ 17 ธ.ค. 2021 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ประกาศอย่างเป็นทางการถึงการนำ DELTA ออกจากการคำนวณ SET50 คาดว่ามีสาเหตุมาจาก 1) ปริมาณการถือครองหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (free-float) ที่ต่ำระดับ 22.35% เทียบค่าเฉลี่ยของหุ้นใน SET50 ที่ 30%-40% 2) ราคาหุ้นที่ผันผวนสูงของ DELTA ด้วยจุดสูง รอบ 52 สัปดาห์ที่ 838 บาท และจุดต่ำรอบ 52 สัปดาห์ที่ 286 บาท และ 3) หุ้นขึ้นบัญชีกำกับการซื้อขายเป็นเวลา 7 จาก 12 เดือนในปี 2021 (บริษัทที่อยู่ใน SET50 ต้องไม่ถูกขึ้นบัญชีดังกล่าวมากกว่า 6 เดือน)

การนำ DELTA ออกจาก SET50 จะบีบให้กองทุนดัชนีหรือกองทุนหุ้นมูลค่าสูงทำการขาย DELTA ออกมา สาเหตุที่ราคาหุ้นปรับสูงขึ้นในเดือน พ.ย. 2020 และต้นปี 2021 คือการนำหุ้นเข้าคำนวณใน SET50 และกำไรที่แข็งแกร่งที่ส่งเสริมให้กองทุนจำนวนมากเข้าลงทุน DELTA มากขึ้น ก่อนหน้านั้นหุ้นซื้อขายกันที่ PER 42 เท่า แต่หลังประกาศนำหุ้นเข้าคำนวณใน SET50 มูลค่าซื้อขายก็มีค่าเฉลี่ยที่ PER 81 เท่าในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. 2021

คาดว่าราคาหุ้นจะกลับสู่ค่าเฉลี่ยก่อนถูกนำเข้ามาคำนวณใน SET50 หรือท่ี 42xPE’22E ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 12 เดือนอยู่ 47% และจากการที่ภาพรวมการเติบโตยังคงเดิม ก็หมายความว่า ช่องว่างของราคาหุ้นนั้นเกิดจากประเด็นการถูกรวมเข้ามาคำนวณใน SET50 มากกว่าปัจจัยพื้นฐาน

การใช้จ่ายด้าน ICT ของโลกจะสูงต่อเนื่องจากการเชื่อมต่อผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้น

ยอดการใช้จ่ายด้าน ICT หลังวิกฤติ COVID-19 จะโตสูงกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติอย่างต่อเนื่อง วิกฤติครั้งนี้เป็นแรงหนุนต่ออุตสาหกรรม ICT เพราะช่วยเพิ่มการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล และความพึ่งพาต่อเทคโนโลยีมากขึ้น ยอดการใช้จ่ายด้าน ICT ตั้งแต่ปี 2022 จะไม่สูงอย่างในปี 2021 แต่จะสูงกว่าการเติบโตในช่วงก่อนเกิดวิกฤติอย่างน้อย 6 เท่า อิงข้อมูลจาก Gartner

ตลาด ICT ในเอเชียแปซิฟิกจะโตเร็วกว่าที่อื่น ส่วนตลาด ICT ในเอเชียจะมียอดการใช้จ่ายที่สูงกว่าตลาดโลก ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ 8.9% อิงข้อมูลจาก IDC กลุ่มธุรกิจที่สำคัญในอุตสาหกรรมคือ คลาวด์ (cloud) ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลและบริการโทรคมนาคม

ในปี 2020 DELTA มีสัดส่วนราว 30% ของรายได้รวมที่มาจากตลาดหลักอย่างจีน อินเดีย และสิงคโปร์ กลุ่มตลาดเหล่านี้มีศักยภาพที่จะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนหลักต่อการเติบโตของบริษัท

การใช้จ่ายในกลุ่ม ICT เป็นคุณกับกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานของ DELTA มากท่ีสุด บริษัทมีสัดส่วนราว 34% ของรายได้รวมปี 2020 ที่มาจากกลุ่มนี้  ซึ่งได้ประโยชน์โดยตรงจากการใช้จ่ายด้าน IT ในกลุ่ม cloud และศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลท่ีสูงขึ้น

สรุปผลประกอบการ

  • กำไร 3Q21 ลดลงมาอยู่ที่ 1.2 พันล้านบาท (-52% YoY, -16%QoQ) จากอัตรากำไรที่ลดลง แม้รายได้จะเพิ่มขึ้น และจากค่าใช้จ่ายพิเศษครั้งเดียวจำนวน 393 ล้านบาท สืบเนื่องจากเหตุอุทกภัยที่โรงงานในบางปู (จะได้รับการชดเชยทั้งหมดจากการประกัน)
  • รายได้แตะระดับ 2.13 หมื่นล้านบาท (+3.3%QoQ) ด้วยแรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในกลุ่มพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีแรงขับเคลื่อนจากการเติบโตในกลุ่ม EV
  • ขณะที่ GPM แตะจุดต่ำในรอบ 2 ปีที่ 19.2% (-2.4ppts QoQ) จากต้นทุนชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่ปรับสูงขึ้นจากสภาวะอุปทานตึงตัว
  • เรามองว่าเหตุอุทกภัยจะไม่สร้างผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อกิจการของบริษัท โดยผู้บริหารยังคงมุมมองเชิงบวกและคาดถึงการเติบโตในไตรมาสถัดๆไป

พรีวิวกำไร 4Q21 และช่วงถัดไป

  • เราคาดว่ากำไร 4Q21 จะทรงตัว QoQ โดยยอดขายจากกลุ่ม EV และ data center ที่โตขึ้นจากการปฏิรูประบบดิจิทัลทั่วโลก จะถูกหักลบจากแรงกดดันที่มีต่ออัตรากำไร ซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์อย่างต่อเนื่อง

Revenue Breakdown

ธุรกิจกลุ่มพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นสัดส่วน 63% ของรายได้รวมของบริษัท ซึ่งเกี่ยวข้องกับออกแบบผลิตและจำหน่ายพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้ในคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, อุปกรณ์ระบบอัตโนมัติในสำนักงาน, เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน, และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์ โดยมีผลิตภัณฑ์หลักคือตัวแปลงไฟฟ้า DC/DC เพาเวอร์ซัพพลายสำหรับคอมพิวเตอร์ พัดลม และเซิร์ฟเวอร์ ผลิตภัณฑ์ระบบความร้อนโซลีนอยด์ และอีเอ็มไอฟิลเตอร์

ธุรกิจระบบโครงสร้างพื้นฐานคิดสัดส่วน 34% ของรายได้รวม โดยธุรกิจนี้เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และระบบของโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ ผลิตภัณฑ์หลักนั้นใช้ในระบบโทรคมนาคมพลังงานทดแทนการจัดเก็บพลังงานและระบบไฟฟ้าแรงสูง

ธุรกิจระบบอัตโนมัติคิดเป็นสัดส่วน 3% ของรายได้รวม โดยบริษัทได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติที่มี ประสิทธิภาพสูง และเชื่อถือได้ประกอบด้วย รวมถึงไดรฟ์ระบบควบคุมการเคลื่อนไหว ระบบควบคุมทางอุตสาหกรรมและการสื่อสาร การปรับปรุงคุณภาพพลังงาน การเชื่อมต่อเครื่องจักรและมนุษย์ ระบบเซ็นเซอร์มิเตอร์ และโซลูชั่นหุ่น ยนต์

- Advertisement -