บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

TTB: บมจ. ธนาคารทหารไทยธนชาต พร้อมสู่การเติบโต

เริ่มต้นบทวิเคราะห์ TTB ด้วยคำแนะนำ “ซื้อ” และมูลค่าพื้นฐานที่ 1.60 บาท อิงวิธี Gordon Growth Model (ROE 6.5%, อัตราการเติบโต 2%) สะท้อน 0.7x PBV’22E หรือ -0.75SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี (2016-2020)

ประเด็นสำคัญ:

  • โตอย่างมั่นคงมากข้ึนจากสินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์ที่สูงขึ้น และกิจกรรมทางเศรษฐกิจท่ีปรับดีขึ้น
  • กลับสู่เส้นทางการเติบโตหลังบูรณาการเสร็จสมบูรณ์
  • ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญอาจลดลงหลังผ่อนปรนกฎเกณฑ์
  • ปัจจุบันหุ้นซื้อขายที่ 0.6x PBV’22 หรือ -1.0SD ต่อค่าเฉลี่ยในอดีตช
  • หน้ีสินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ที่สูงขึ้นอาจนำไปสู่การตั้งสำรองมากข้ึน
  • การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธ์ุใหม่ อาจฉุดการเติบโตของสินเช่ือลง
  • สภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงจะกดดันอัตรากำไรให้อยู่ในระดับต่ำ

กลับมาโตในปี 2022

การบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นจากการคลายมาตรการคุมเข้ม บวกกับมาตรการกระตุ้นภาครัฐ ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือนพ.ย.โตต่อเนื่อง +30.6%MoM หลังจาก +0.5%MoM ในเดือนก.ย. และ +11.3% ในเดือนต.ค.ความเช่ือมั่นผู้บริโภคปรับดีขึ้นจาก 39.6 ในเดือน ส.ค. มายืนเหนือ 41 ในเดือน ก.ย.-พ.ย. ส่วนประเด็นโอมิครอนก็อาจฉุดการบริโภคลง แต่มาตรการกระตุ้นจะเข้ามาช่วยชดเชยผลกระทบเชิงลบได้ จึงคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะอยู่ในเส้นทางของการฟื้นตัวในปี 2022

คาดสินเช่ือรวมของ TTB จะโตขึ้น 3.7%YoY ในปี 2022 และ 3.4%YoY ในปี 2023 จากคาดการณ์ว่าจะลดลงเล็กน้อย 0.1% YoY ในปี 2021 คาดสินเช่ือเช่าซื้อยานยนต์จะฟื้นตัว 3%YoY ในปี 2022 สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ในประเทศ เทียบคาดการณ์ว่าจะปรับลดลง 2% ในปี 2021

คาดกำไรสุทธิโตแข็งแกร่งท่ี 25%YoY ในปี 2022 จากท่ีคาดว่าจะโตเล็กน้อย 0.3%YoY ในปี 2021 คาดอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) จะเพิ่มเป็น 5.9% ในปี 2022 จาก 4.9% ในปี 2021

กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาด GDP ไทยจะฟื้นตัว 0.9% YoY ในปี 2021 (-6.1% ในปี 2020) และโตต่อเนื่อง 3.4% ในปี 2022 และ 4.7% ในปี 2023 หนุนจากการใช้จ่ายภายในประเทศและจำนวนนักท่องเท่ียวต่างชาติที่ค่อยๆปรับดีขึ้น
  • ดัชนีความเช่ือมั่นผู้บริโภคปรับเพิ่มเป็น 44.9 ในเดือน พ.ย. 2021 หลังแตะจุดต่ำสุดท่ี 39.6 ในเดือน ส.ค. ได้ แรงหนุนจากการผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มทั่วประเทศ และการจัดสรรวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ
  • ยอดขายรถยนต์ในประเทศโต 30.6% MoM เป็น 71,716 คันในเดือนพ.ย.สูงสุดในรอบ 8 เดือน ส่วนในช่วง 11M21 ลดลงเล็กน้อย 3% YoY เป็น 6.6 แสนคัน (6.9 แสนคันใน 11M20) แม้คาดว่าตัวเลขจะสูงขึ้นในเดือน ธ.ค. จากอุปสงค์ของงาน Thailand International Motor Expo 2021 ในเดือน ธ.ค. แต่ธนาคารคาดยอดขายรถในประเทศทั้งปีจะลดลง 3.3% YoY เป็น 7.7 แสนคันในปี 2021
  • TTB analytics คาดยอดขายในประเทศจะฟื้นตัว 13.8% เป็น 8.7 แสนคันในปี 2022 จากกิจกรรมทาง เศรษฐกิจท่ีฟื้นตัว

กลับมาเดินหน้ากลยุทธ์การเติบโต

TTB เริ่มบูรณาการ หลังปิดดีลควบรวมธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาตในเดือนธ.ค.2019 โดยในปี 2020-21 ธนาคารมีกลยุทธ์ที่ค่อนข้างรัดกุมด้วยการเน้นคุณภาพงบดุลมากกว่าการเติบโตเชิงรุกในช่วงท่ียังมีความไม่แน่นอนเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 และให้ความสำคัญกับการบูรณาการ

ธนาคารประกาศว่าการโอนกิจการทั้งหมดได้ควบรวมกิจการเป็นธนาคารเดียวตั้งแต่เดือน ก.ค. 2021 ส่งผลให้การเติบโตของสินเช่ือช่วง 9M21 ลดลงเล็กน้อย 2.4% YTD เทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มท่ี 4.6%YTD

คาดว่าธนาคารจะดำเนินกลยุทธ์การเติบโตในเชิงรุกมากขึ้นในปี 2022 ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจท่ีปรับดีขึ้น ล่าสุดธนาคารได้จับมือกับบริษัท แอพเพิล ออโต้ออคชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อให้บริการสินเช่ือกับกลุ่มบริษัทในตลาดรถมือสอง อิงจากประมาณการของธนาคารจะพบว่ามูลค่าโดยรวมของตลาดรถมือสองคิดเป็นราว 50% ของตลาดรถมือหน่ึง เช่ือว่าธนาคารจะได้ประโยชน์จากยอดขายรถมือหนึ่งและมือสองท่ีสูงขึ้นในปี 2022 เพราะเป็นหนึ่งในธนาคารท่ีมีส่วนแบ่งสินเช่ือเช่าซื้อยานยนต์ที่ใหญ่ท่ีสุดในไทย ประเมินสินเช่ือเช่าซื้อยานยนต์ของธนาคารว่าจะฟื้นตัวขึ้น 3%YoY ในปี 2022 หลังคาดว่าจะปรับลดลง 2% ในปี 2021

NPLs ปรับเพิ่มต่อเนื่อง เพราะต้องใช้เวลาสักระยะกว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19

แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นในปี 2022 หลังมีการคลายมาตรการคุมเข้มทั่วประเทศ แต่ยังต้องใช้เวลาสักระยะกว่าเศรษฐกิจจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ขณะท่ีลูกค้าบางรายอาจประสบปัญหาในการชำระหนี้โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs และรายย่อย ท่ีได้รับผลกระทบรุนแรงจากเศรษฐกิจท่ีฟื้นตัวช้า ส่วนธนาคารก็มุ่งเน้นการบริหารจัดการและป้องกันไม่ให้เกิด NPLs ใหม่ ผ่านการปรับโครงสร้างสินเช่ือการขาย NPLs และการตัดบัญชี NPLs โดยคาดว่าอัตราส่วน NPLs ต่อสินเช่ือรวม (NPL ratio) ในเดือน ธ.ค. 2021 จะยังต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคารท่ี 3.6% จึงเช่ือว่า NPL ratio จะปรับเพิ่มเป็น 3.1% ในปี 2021 จาก 3% ใน 3Q21 และแม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเป็นลำดับ แต่ก็คาดว่า NPL ratio จะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 3.3%-3.4% ในปี 2022-23

ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญอาจลดลง

ด้วยเศรษฐกิจท่ีโตดีขึ้นจากการผ่อนปรนมาตรการคุมเข้ม และการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ท่ีมีประสิทธิภาพ จึงคาดว่าค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญของธนาคารจะค่อยๆลดลงในช่วงปี 2021- 23 หลังแตะจุดสูงสุดท่ี 178bp ในปี 2020 คาดค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญจะลดลงเหลือ 160bp/150bp/130bp ในปี 2021-23 ตามลำดับ ซึ่งน่าจะหนุนการเติบดตของกำไรระยะยาวได้

Non-NII ประจำที่แข็งแกร่งสะท้อนถึงการกลับมาเปิดเศรษฐกิจ และ GDP ที่สูงขึ้น

รายได้ค่าธรรมเนียมและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (non-NII) ช่วง 4Q21 มีโอกาสปรับสูงขึ้นจากการคลายมาตรการคุมเข้ม และประสิทธิภาพในการจัดสรรวัคซีน แต่ก็คาดว่า non-NII ในปี 2021 จะลดลง 7% YoY จากรายได้ค่า ธรรมเนียมท่ีลดลง และกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินท่ีลดลง อิงตามมูลค่ายุตธรรมผ่านงบกำไร/ขาดทุน ทั้งนี้ ด้วยการกลับมาเปิดเศรษฐกิจมากขึ้น และโอกาสท่ี GDP จะโตขึ้น ทำให้ธนาคารจะสามารถขยายกิจการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า และมีรายได้ค่าธรรมเนียมมากขึ้น จึงคาดว่า non-NII จะฟื้นตัว 6-8%YoY ในปี 2022-23

คาดว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของธนาคารจะลดลงต่อเนื่อง หลังบูรณาการองค์กรเสร็จสมบูรณ์แล้ว ด้วย non-NII ท่ีสูงขึ้นและค่าใช้จ่ายการดำเนินงานท่ีลดลง จึงคาดว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (CIR) จะลดลงเหลือ 45%-44% ในปี 2022-23 เทียบกับคาดการณ์ที่ 46.8% ในปี 2021 ซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตของกำไรสุทธิระยะยาวและยกระดับ ROE ขึ้นได้

มูลค่าหุ้นยังน่าดึงดูดด้วยคาดการณ์ผลตอบแทนโดยรวมท่ี 21.5%

ราคาหุ้น TTB ฟื้นตัวราว 32% YTD จากในช่วงเดือน ธ.ค. 2020 สูงกว่า SETBANK ท่ีเพิ่มขึ้น 21% ในช่วงเดียวกัน ด้วยภาพรวมกำไรสุทธิท่ีฟื้นตัวแข็งแกร่ง และคาดว่า ROE จะปรับสูงขึ้น ทำให้มูลค่าหุ้นของธนาคารยังน่าดึงดูดด้วยระดับการซื้อขายท่ี 0.6x PBV’22E หรือ -1SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี ปัจจุบันหุ้นมีอัตราผลตอบแทนราคาหุ้นรวมท่ีน่าดึงดูดราว 21.5% หรือประกอบด้วยกำไรจากส่วนต่างราคาท่ี 18% และอัตราผลตอบแทนเงินปันผลท่ี 3.5%

คาดกำไรดตขึ้น YoY และ QoQ ใน 4Q21

  • คาดกำไรสุทธิท่ีแข็งแกร่ง 2.5 พันล้านบาท (+100% YoY, +5% QoQ) ใน 4Q21 การเติบโต YoY มีแรง หนุนจากการตั้งสำรองและค่าโสหุ้ยท่ีลดลง ส่วนในเชิง QoQ คาดว่าจะมีแรงหนุนจากรายได้ค่าธรรมเนียมท่ีสูงขึ้นตามการกลับมาเปิดเศรษฐกิจ
  • คาดการเติบโตของสินเช่ือฟื้นตัว 1% QoQ ใน 4Q21 จาก +0.1% ใน 3Q21 หนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการส่งออกท่ีสูงขึ้น แม้คาดว่าสินเชื่อจะโตขึ้นใน 4Q21 แต่ประเมินการเติบโตของสินเช่ือทั้งปี 2021 ลดลงเล็กน้อย 1.3% YoY จากการชะลอตัวใน 1H21 และผลกระทบจากมาตรการคุมเข้มทั่วประเทศ
  • คาด NPL ratio เพิ่มเป็น 3.1% ใน 4Q21 (3% ใน 3Q21) จากสินเช่ือภายใต้มาตรการช่วยเหลือท่ีปรับชั้น เป็น NPLs และเศรษฐกิจท่ีฟื้นตัวช้า แต่ถือว่าต่ำกว่าแนวทางของผู้บริหารท่ี <3.6% ในเดือน ธ.ค. 2021 อัต ราส่วนการตั้งสำรองเผื่อหนี้สูญคาดว่าจะลดลงเหลือ 118% (131% ในปี 2020) จาก NPLs ท่ีสูงขึ้น

ผลประกอบการ 3Q21 มีภาพคละกัน (+46%YoY, -7%QoQ)

TTB รายงานกำไรสุทธิ 3Q21 ท่ี 2.4 พันล้านบาท โต 46%YoY (-7%QoQ) กำไร YoY มีแรงหนุนจากการตั้งสำรองและค่าใช้จ่ายการดำเนินงานท่ีลดลง แต่กำไรท่ีลดลง QoQ เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิท่ีลดลง และกำไรจากการลงทุนท่ีลดลง ขณะท่ีอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ค่อนข้างทรงตัว QoQ ท่ี 3% ใน 3Q21 อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงเหลือ 46.4% (46.6%ใน2Q21) จากค่าโสหุ้ยท่ีลดลง การเติบโตของสินเช่ือค่อนข้างทรงตัว QoQ เพราะสินเช่ือ SME ท่ีสูงขึ้น ถูกหักลบด้วยสินเช่ือรายย่อยท่ีลดลง NPL ratio ปรับเพิ่มเป็น 3% ใน 3Q21 (2.9% ใน 2Q21) อัตราส่วนการตั้งสำรองลดลงเหลือ 121%

Revenue Breakdown

รายได้ปี 2020 มาจาก 3 ธุรกิจหลักดังนี้:

(1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็นสัดส่วนรายได้ก้อนใหญ่สุด หรือราว 73% ของรายได้รวมในปี 2020 ปัจจัยท่ีจะหนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ คือ การเติบโตของสินเช่ือและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM)

(2) รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิคิดเป็น 14% ของรายได้รวมปี 2020 ประกอบด้วยประกันผ่านธนาคารกองทุนรวมและค่าธรรมเนียม้านเครดิต

(3) รายได้การดำเนินงานอื่นคิดเป็น 13% ของรายได้รวมปี 2020 ประกอบด้วยกำไรจากการลงทุนการเทรดและอัตาแลกเปลี่ยนรวมถึงรายได้เงินปันผล

- Advertisement -