MARKET OUTLOOK 2022

คาดเศรษฐกิจโลกปี ’65 อยู่ในภาพการฟื้นตัวที่แตกต่างกัน คาดยังมีความอ่อนแอหลังผ่านวิกฤตการณ์ COVID-19 ช่วงปี ’64 ซึ่งได้รับแรงกดดันจากการเร่งตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

โดยเฉพาะต้นทุนที่เพิ่มขึ้น (Cost-Push Inflation) จากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งปัญหา Supply Disruption ที่คาดจะยังคงเห็นภาพดังกล่าวต่อไปใน 1H/65 แต่คาดจะคลี่คลายลงตั้งแต่กลางปี ’65 เป็นต้นไป โดยคาดเศรษฐกิจในแต่ละประเทศมีความสามารถแตกต่างกันในการรองรับความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีแนวโน้มจะกลับมาเป็นระยะๆ โดยเรามองว่าประเทศในกลุ่มผู้ที่สามารถวิจัย/ผลิตวัคซีนได้ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศที่เศรษฐกิจไม่สามารถจัดหา/กระจายวัคซีนได้ดีจะรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ยากกว่า ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดการณ์เศรษฐกิจโลกสหรัฐจีนยูโรโซนและเอเชียแปซิฟิกในปี ’65 ชะลอตัวลงเหลือขยายตัวที่ระดับ 4.4%, 3.9%, 5.3%, 4.2%, 2.8% และ 5.0% ตามลำดับ

แรงกดดันจากการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินของ FED อาจส่งผลให้ตลาดปรับฐานเป็นช่วงๆ โดยเราคาดว่าในปี 65 ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) เริ่มปรับนโยบายทางการเงินให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อกดอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงให้เริ่มอ่อนตัวลงไปตั้งแต่ช่วงกลางปี ’65 ทั้งการเร่งลดวงเงินในมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 2 ครั้งในปีนี้ ซึ่งจะเป็นการดึงเม็ดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเรา เชื่อว่านายเจอโรม พาวเวล ประธาน FED จะพยายามส่งสัญญาณในลักษณะที่ไม่รุนแรง เพื่อให้ตลาดทยอยรับรู้ข้อมูล (Price-In) คาดช่วยลดความผันผวนของตลาดลงได้บ้าง อย่างไรก็ตาม เรามองว่าตลาดมีแนวโน้มจะแกว่งตัวขึ้นได้ต่อตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่อาจจะมีการปรับฐานเป็นช่วงๆ จากการปรับเปลี่ยนโยบายทางการเงินของ FED

ปี’65 จะเป็นปีแห่งการอ่อนค่าของเงินบาท ในทางกลับกับการที่ธนาคารกลางหลักของโลกอาทิ FED, ECB และ BOE เริ่มทยอยปรับลดการผ่อนคลายนโยบายการเงิน ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินของประเทศในกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แต่เศรษฐกิจไทยที่ยังอยู่ในช่วงของการเริ่มฟื้นตัวที่เป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้คาดธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% ในปี’65 คาดจะเป็นปัจจัยหลักให้กระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสู่ตลาดทุนไทยน้อยลง ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า

ความไม่แน่นอนของสงครามทางการค้าสหรัฐ-จีน อาจเบาบางลงไปบ้าง แต่ยังต้องจับตาอยู่ เราคาดว่าผลกระทบสะสมจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปัญหาหนี้เสียของจีน รวมทั้งนโยบายเลือกใช้เวทีการค้าโลกและพันธมิตรทางการค้าของสหรัฐในการกดดันรัฐบาลจีน จะยังคงเอื้อให้สถานการณ์ของทั้ง 2 ประเทศยังไม่รุนแรงขึ้นอย่างมีนัยยะในช่วงเ H / 65 อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของทั้ง 2 ประเทศยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งเรามองเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านลบที่อาจกดดันทิศทางเศรษฐกิจโลก และทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยงได้บ้าง หากปัจจัยดังกล่าวรุนแรงขึ้นอีกครั้ง

เราคาดตัวเลขนักท่องเที่ยวจะเป็นปัจจัยที่ตลาดให้น้ำหนัก ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้ เศรษฐกิจไทยที่พึ่งพิงการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นสําคัญ แม้ภาพการส่งออกจะยังคงสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่มีแนวโน้มชะลอตัวลงบ้างจากปัจจัยฐานสูงในปี’64 ทำให้เราคาดว่าตลาดจะให้น้ำหนักต่อการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวที่ยังคงเปราะบางภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่อาจกลับมาได้เป็นระยะๆ จากการกลายพันธุ์ของไวรัส คาดจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาได้เพียงบางส่วน และยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ COVID-19 เมื่อปี’62 ที่ 40 ล้านคน โดยตลาดคาดว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี’65 จะอยู่ที่ระดับราว 6 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นเพียง 15% ของระดับก่อน COVID-19 หลังนักท่องเที่ยวจีนซึ่งถือเป็นนักท่องเที่ยวหลักของไทยยังไม่สามารถกลับเข้ามาได้ เนื่องจากรัฐบาลจีนยังคุมเข้มนโยบายเดินทางต่างประเทศ

ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยมากขึ้นในช่วงปลายปี จากการที่นายกรัฐมนตรีจะหมดวาระลงในช่วง มี.ค. 66 คาดส่งผลทําให้นักลงทุนต่างชาติ-สถาบันมีความระมัดระวังการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยได้บ้างตั้งแต่ช่วงปลายปี ’65

SET Index target 2022

ภายใต้ประเด็นดังกล่าวข้างต้น Forward EPS ปี’65 จากการขยายตัวระดับ 12 – 15% อยู่ที่ 96.0 และ 99.0 บาท พร้อมคำนวณโดยใช้ Forward PE Ratio AVG. 5 ปี 15.0 เท่า 1SD 16.5 เท่า และ 2SD ท่ีระดับ 18.0 เท่า ประเมินกรอบเป้าหมายของ SET Index ในปี’65 ที่ระดับ 1,440 – 1,780

Theme การลงทุน

1. Economic Recovery Play: (BANK และ AMC) ได้แก่ KBANK, SCB, TTB, BAM, CHAYO และ JMT ตามเศรษฐกิจไทยที่ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ COVID-19 และคาดผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วตั้งแต่ 3Q’64 และมีแนวโน้มฟื้นตัวตามลำดับ

2.EV Play: ได้แก่ GPSC, EA, HANA, KCE, AH และ SAT ตามแนวโน้มการผลักดันการใช้รถไฟฟ้าของโลก รวมถึงรัฐบาลไทยที่คาดจะมีความชัดเจนมากขึ้นในปีนี้

- Advertisement -