บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

ADVANC: ราคาหุ้นสะท้อนโอกาสทางธุรกิจแล้ว ลดคำแนะนำเป็น “ถือ”

ลดคำแนะนำเป็น “ถือ” จากซื้อ ด้วยมูลค่าพื้นฐาน 227 บาท เนื่องจากมี upside จำกัด ราคาหุ้นพุ่งขึ้น 14% ตั้งแต่ 19 พ.ย.2021 จากภาพเชิงบวกในอุตสาหกรรมหลังดีล DTAC-TRUE แต่ไม่คาดว่าจะมี upside risk เพิ่มเติมในปี 2022 เพราะประเมินว่าดีลนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2023

  • การวิเคราะห์ปัจจัยอ่อนไหวสะท้อน upside 10% ต่อมูลค่าพื้นฐาน เพราะอัตราการเติบโตของรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย (ARPU) อาจเพิ่มขึ้นรวดเร็ว จากทางเลือกที่จำกัดของผู้บริโภคและฟังก์ชั่นด้าน 5G
  • คาดกำไรปกติ 4Q21 ที่ 6.6 พันล้านบาท (-4%YoY ทรงตัว QoQ) เพราะฐานผู้ใช้บริการท่ีสูงข้ึนยังถูกหักลบจาก ARPU ท่ีลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • ราคาหุ้นสะท้อนภาพรวมเชิงบวกในปี 2022 ไปแล้ว โดยภาพเชิงบวกน้ีเป็นผลมาจากฐานผู้ใช้บริการ 5G ท่ีสูงข้ึน และภาคการท่องเที่ยวท่ีค่อยๆ ฟื้นตัวข้ึน
  • คำแนะนำและมูลค่าพื้นฐานสะท้อน 24xPE’23 สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยกลุ่มโทรคมนาคมไทย ซึ่งในช่วงท่ีผ่านมามีราคาท่ีปรับสูงขึ้นมาก จากคาดการณ์ถึงดีลควบบริษัทระหว่าง TRUE และ DTAC

การเติบโตของ ARPU จะสร้าง upside 10% ต่อราคาหุ้น หากดีลควบบริษัทเกิดขึ้นจริง

คาดดีล TRUE-DTAC จะหนุนราคาหุ้นทั้ง ADVANC และบริษัทควบรวมใหม่ ทางเลือกที่จำกัดของผู้บริโภคและบริการ 5G ที่พัฒนาขึ้น น่าจะทำให้ราคาหุ้นกลุ่มโทรคมนาคมปรับสูงขึ้นและหนุนให้มี ARPU ที่แข็งแกร่ง ประเมินว่า ARPU โดยรวมจะโตขึ้น 2.8%YoY ในปี 2023 แต่ถ้าดีลดังกล่าวทำให้ ARPU เพิ่มขึ้นสูงกว่าคาด ก็อาจเห็น upside ที่ 10% หรือมากกว่านั้น โดย ARPU ที่โตมากสุด YoY ในรอบ 5 ปี คือในช่วงปี 2019 ที่ 2.4% แต่มีสาเหตุมาจากการแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างผู้เล่นใหญ่ 3 ราย ฉะนั้นถ้าผู้เล่นลดลงเหลือ 2 ราย กลไกการกำหนดราคาอาจเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ADVANC อาจได้ประโยชน์จากค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ลดลงเช่นกัน คาดว่าค่าใช้จ่ายอื่นๆจะลดลง เช่น ค่าการตลาด ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย โดยค่าการตลาดอาจลดลงจากการที่บริษัทไม่มีความจำเป็นต้องยกสถานะในตลาดเพิ่มเติม  เพราะตลาดจะเหลือบริการให้เลือกใช้เพียง 2 เจ้า ส่วนค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายอาจลดลงจากการมีผู้ประมูลใบอนุญาตน้อยลง ที่อาจนำไปสู่ราคาประมูลที่ต่ำลง และช่วยประหยัดเงินนับพันล้านได้ ปัจจัยเหล่านี้ยังไม่รวมในการวิเคราะห์ปัจจัยอ่อนไหว ซึ่งอาจสร้าง upside ที่สูงยิ่งกว่านี้ได้

พรีวิว 4Q21

  • คาดกำไรปกติ 4Q21 ที่ 6.6 พันล้านบาท (-4%YoY ทรงตัว QoQ) ที่ลดลง QoQ เพราะทุกหน่วยธุรกิจมีอัตรากำไรลดลง
  • คาดรายได้ 4Q21 ที่ 4.8 หมื่นล้านบาท (+3%YoY, +12%QoQ) การเติบโต QoQ เป็นผลจากยอดขายมือถือ iPhone 13 และผู้ใช้บริการรายใหม่ 5.0 แสนราย ผู้ใช้บริการ 5G คิดเป็นเกือบ 5% ของผู้ใช้บริการทั้ง หมดของบริษัท ภายใน FY2021 ที่คาดว่าจะทำให้ ARPU พลิกฟื้นในปี 2022
  • ประเมินอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ที่ลดลงเป็น 32.6% (-0.5 ppts YoY) จากรายได้บริการเครือข่ายมือถือและ ARPU บริการบรอดแบนด์ที่ลดลงต่อเนื่อง

ภาพรวมปี 2022

  • คาดกำไรสุทธิโตซึ่งเป็นลำดับ จากการที่ภาคท่องเที่ยวค่อยๆ ฟื้นขึ้น บวกกับการพลิกฟื้นของ ARPU จากกลุ่มผู้ใช้บริการ 5G
  • แต่เชื่อว่าราคาหุ้นสะท้อนโอกาสทางธุรกิจในปี 2022 ไปแล้ว
  • แม้ดีล DTAC-TRUE จะเป็นบวกต่อ ADVANC แต่ผลประโยชน์จะปรากฏให้เห็นอย่างน้อยในปี 2023

Revenue Breakdown

รายได้ของบริษัทมาจาก 3 ธุรกิจหลัก:

(1) บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือคิดเป็น 68% ของรายได้ปี 2020 บริษัทมีผู้ใช้บริการทั้งหมด 41.4 ล้านรายทั่วประเทศ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดด้านผู้ใช้บริการท่ี 49% ซึ่งถือว่าสูงสุดในประเทศ โดยมีผู้ใช้บริการที่ชำระล่วงหน้า (ระบบเติมเงิน) คิดเป็นสัดส่วน 76% ของผู้ใช้บริการทั้งหมด และส่วนที่เหลือเป็นผู้ใช้บริการแบบชำระภายหลัง (แบบระบบรายเดือน) นอกจากนี้ยังยอดขายของ SIM และอุปกรณ์มือถือ ซึ่งโดยปกติจะรวมอยู่กับบริการหรือเสนอให้กับลูกค้าแยกต่างหากมีสัดส่วน 17% ของรายได้ทั้งหมด

(2) บริการอินเตอร์เน็ตความเร็ว (FBB) สูง คิดเป็น 4% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งบริษัทให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริการส่งสัญญาณอื่นๆ บนเครือข่ายใยแก้วนำแสงของบริษัท ในปัจจุบันบริษัทมีเครือข่ายครอบคลุมมากกว่า 57 จังหวัดทั่วประเทศ และมีผู้ใช้บริการมากกว่าหนึ่งล้านราย

(3) ธุรกิจดิจิตอลเซอร์วิสเป็นส่วนที่เหลือ ซึ่งแบ่งเป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้ แพลตฟอร์มวิดีโอ บริการคลาวด์สำหรับธุรกิจ แพลตฟอร์มการทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ (Mobile Money) บริการอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) และแพลตฟอร์มอื่นๆ

- Advertisement -