Daily Focus Earnings and Value Play
ตลาดหุ้นวานนี้:
SET Index ปรับตัวขึ้นหลังทะลุแนวต้าน 1,683 จุด และปิดบวกได้ ถึง 18.93 จุด ยืนเหนือ 1,700 จุดได้ครั้งแรกในรอบ 2 ปี หนุนจากแรงซื้อหุ้นขนาดใหญ่ของนักลงทุนต่างชาติมูลค่าสูงถึง 1.7 หมื่นลบ. ขณะที่สถาบันในประเทศและรายย่อยขายสุทธิ 4.3 พันลบ.และ 1.3 หมื่นลบ. ตามลำดับ (แต่ต่างชาติเริ่มพลิกมา Short SET50 Index Futures 1.6 หมื่นสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้:
เราคาด SET Index มีแนวโน้มแกว่ง Sideways Up จากบรรยากาศการลงทุนที่ยังผ่อนคลาย อย่าไรก็ตาม เราประเมินจะลดความร้อนแรงลงบ้าง หลังปรับขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการรวม 86 จุด จากจุดต่ำสุดของรอบ หรือราว 5.3% ขณะที่ปัจจัยสําคัญที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ม.ค. ของสหรัฐฯ (ตลาด คาด +0.5% M-M, +7.3% Y-Y) ซึ่งหากเร่งตัวมากกว่าที่คลาดคาดอาจเกิดความผันผวน โดยเฉพาะแรงขายหุ้น Tech และ Growth อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในประเทศคาดยังหนุนระยะยาวจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลัง COVID-19 เช่นเดียวกับมุมมองของกนง. เราจึงคาดว่ากลุ่ม Domestic และ Value Play ที่ยังมี Valuation เทียบกับช่วงก่อน COVID-19 โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารจะยังสามารถ Outperform ได้ ขณะที่กระแสเงินทุนคาดยังไหลเข้า ระยะกลาง-ยาว กลยุทธ์ยังเน้นลงทุนในหุ้นที่คาดมีกำไร 4Q21 แข็งแกร่ง และ PER/PBV ไม่สูง
กลยุทธ์ : เลือกลงทุนในหุ้น Value และมีแนวโน้มกำไร 4Q21 แข็งแกร่ง
หุ้นเด่นเดือน ก.พ. : GFPT, HMPRO, PJW, SC, TKS
หุ้นเด่นวันนี้ : HMPRO
- แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายจาก FSSIA 18.30 บาท
- เราคาดกำไร 4Q21 ฟื้นตัวแข็งแกร่ง +79% Q-Q, +1% Y-Y หลังคลาย Lockdown ทำให้ SSSG ฟื้นแรง หนุนทั้งปี 2021 คาด +2% Y-Y
- ปี 2022 คาดฟื้นตัวต่อเนื่องและได้อานิสงส์บางส่วนจากช้อปดีมีคืน นอกจากนี้ยังเน้นเพิ่มสินค้า House Brand เพื่อเพิ่ม Margin และเปิดสาขาใหม่เชิงรุกมากขึ้น เราคาดกําไรปี 2022 +22% Y-Y
- แนวรับ 14.30//14-13.80 บาท แนวต้าน 14.80-15//15.40 บาท
Fund Flow:
วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคหนาแน่นสุดของปี US$1,180 ล้าน นำโดยไทย US$530 ล้าน และเข้าทุกตลาดทั้งอาเซียน รวมถึงเกาหลีใต้และไต้หวัน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดยังอยู่ในทิศทางไหลเข้า อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้คือตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯซึ่งอาจทำให้ตลาดผันผวนอีกครั้ง
ประเด็นสําคัญวันนี้
(+) กนง.คงดอกเบี้ย ตามคาด 0.5% และมองยังไม่จําเป็นต้องรีบขึ้นดอกเบี้ย โดยให้น้ำหนักกับเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ทยอยฟื้นตัว โดยการระบาดของโอมิครอนกระทบไม่มาก ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2021 ดีกว่าคาดเล็กน้อย และฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2022 ส่วนแรงกดดันเงินเฟ้อจะสูงกว่ากรอบเป้าหมายใน 1H22 ก่อนผ่อนคลายลงใน 2H22 ภาพรวมสอดคล้องกับที่เราประเมินและมองเป็นปัจจัยหนุนกลุ่ม Domestic และ Value Play โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร ค้าปลีก อสังหาฯ รับเหมาฯ
(-) KCE ระยะสั้นถูกกดดันจากปัญหาการ Run เครื่องจักรใหม่ ทำให้กำลังการผลิตส่วนเพิ่มล่าช้ากว่าแผนออกไป 1-2 ไตรมาส จึงคาดกำไร 1Q22 อาจอ่อนตัว Q-Q และกลับมาฟื้นตัวใน 2Q22 เป็นต้นไป ภายใต้คำสั่งซื้อที่ยังแข็งแกร่ง ทั้งนี้การขยายโรงงานใหม่ที่โรจนะได้ถูกเลื่อนออกไปอย่างน้อย 1 ไตรมาส คาดจะเริ่ม Operate ได้อย่างเร็วใน 2Q23 แม้ผู้บริหารยังตั้งเป้ารายได้ในปี 2022 +20% Y-Y แต่เรามองว่ามีความเป็นไปได้ที่จะทำได้ต่ำกว่า จากปัญหาการ Run เครื่องจักรใหม่ ขณะที่กำลังการผลิตเดิมยังถูกใช้เต็ม จึงปรับลดกำไรปี 2022-23 ลงเหลือ +16% Y-Y และ +16% Y-Y เราปรับลดราคาเป้าหมายเป็น 72 บาท ระยะกลาง-ยาวยังมองบวกตามการเติบโตของ EVs ในอนาคต จึงคงคำแนะนำ “ซื้อลงทุน”
(+) SYNEX คาดกําไร 4Q21 +25% Q-Q, +57% Y-Y จาก High Season และสินค้า Apple เปิดตัวเร็วกว่าปีก่อนเกือบ 2 เดือน รวมถึงยอดขายกลุ่มชิ้นส่วนประกอบคอมยังโตดีต่อเนื่อง ทำให้ปี 2021 คาดกำไร +38% Y-Y ทำจุดสูงสุดใหม่ ส่วนปี 2022 คาดเติบโตอีก +26% Y-Y ทำ New High ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จากการเติบโตที่คาดผ่านพีคไปแล้ว เราจึง Re-rate Target PER ลงเหลือ 28 เท่า และไม่มีปัจจัยหนุนพิเศษจาก COVID-19 เหมือนปี 2020-2021 ราคาเป้าหมายถึงลดลงเล็กน้อยเป็น 32 บาท อย่างไรก็ตาม ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ”
(-) NOBLE คาด 4Q21 พลิกขาดทุน -30 ลบ.เนื่องจากไม่มีคอนโดสร้างเสร็จใหม่ ทำให้หลักๆมาจากการระบายสต็อกซึ่งกดดัน Margin เราปรับลดประมาณการกำไร โดยคาดปี 2021 -52% Y-Y ก่อนฟื้นตัว +20% Y-Y ในปี 2022 แต่ยังไม่กลับไปดีเท่าปี 2019-2020 เราคาดแนวโน้มกำไร 1H22 ยังอ่อนแอจนกว่าจะมีคอนโดสร้างเสร็จใหม่ตั้งแต่ 3Q22 เราปรับราคาเป้าหมายลงเหลือ 6 บาท ลดคำแนะนำเป็น “ขาย”
(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 305.28 จุด หรือ 0.86% ปิดที่ 35,768.06 จุด จากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีชะลอลง รวมถึงรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน
(+) ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มรถยนต์ และหนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนในยุโรป
(+) ตลาดหุ้นเอเชียปรับขึ้น ตามทิศทางตลาดดาวโจนส์ ท่ามกลางติดตามธนาคารกลางอินเดียแถลงมติอัตราดอกเบี้ยวันนี้
(0) ค่าเงินบาททรงตัว ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 32.70 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้น 30 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 89.66 ดอลลาร์/บาร์เรล หลัง EIA เปิดเผยว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 4.8 ล้าน บาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา สวนทางนักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 100,000 บาร์เรล
(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 8.70 ดอลลาร์ หรือ 0.5% ปิดที่ 1,836.60 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และการ ชะลอลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1,015.96 / +-