บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

CHG: หันไปเน้นการเติบโตของธุรกิจหลักในปี 2022

เพิ่มคำแนะนำเป็น “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 3.9 บาท อิง 30xPE22E หรือคิดเป็นระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิค-19 ราคาหุ้นที่ลดลง 27% จากยอดสูงในเดือน ก.ค. 2021 สะท้อนความกังวลเกี่ยวกับกำไรที่พ้นจุดสูงใน 3Q21 มาแล้ว สืบเนื่องจากรายได้เคสโควิดที่ลดลง แต่คาดว่าโรงพยาบาล 2 แห่งที่ทำกำไรได้ และจํานวนผู้ป่วยที่กลับสู่ระดับปกติหลังคลายล็อกดาวน์จะช่วยหนุนการเติบโตของธุรกิจหลักได้ในปีนี้

  • คาดกำไร 4Q21 ที่ 854 ล้านบาท (+234%YoY -45%QoQ) ลดลงจากรายได้ที่โต และอัตรากำไรที่แคบ เล็งเห็นโมเมนตั้มใน 1Q22 จากปัจจัยด้านโอมิครอน ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นราว 7 พันถึง 1.3 หมื่นเคสต่อวัน บวกกับการจัดสรรวัคซีนที่คาดว่าจะรับรู้รายได้ส่วนนี้ตั้งแต่ 1Q22 เป็นต้นไป
  • คาดจำนวนผู้ป่วยต่างชาติในช่วง 2Q-3Q22 จะโตขึ้นจากการคลายล็อกดาวน์ จึงน่าจะเห็นจำนวนผู้ป่วยจาก UAE และ CLMV ที่ไหลเข้ามามากขึ้น

กำไร 4Q21 จะโตช้าลง

  • คาดกำไร 4Q21 ที่ 854 ล้านบาท (+234%YoY, -45%QoQ) ลดลงจากรายได้ที่โตและอัตรากำไรที่แคบ ประเมินรายได้ที่ 3.1 พันล้านบาท (+102%YoY, -31%QoQ) ที่ลดลง QoQ เป็นผลจากบริการผู้ป่วยเงินสด และผู้ป่วยโครงการ สปสช. ที่ลดลง (-46%QoQ)
  • ส่วนรายได้ที่โต YoY มีแรงหนุนจากผู้ป่วยประกันสังคมที่สูงขึ้น เป็นผลจากอุปสงค์การรักษาทางการแพทย์ที่อั้นมา จาก 2Q-3Q21 บวกกับการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น
  • คาดอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) จะลดลง 6.2ppt QoQ หลังจากรายได้เคสโควิดลดลง

โมเมนตั้มดีในระยะสั้น

  • เล็งเห็นโมเมนตั้มที่ดีในช่วง 1Q22 จากปัจจัยด้านโอมิครอน ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นราว 7 พันถึง 1.3 หมุนเคสต่อวัน บวกกับรายได้เพิ่มเติมจากการจัดสรรวัคซีน Moderna 3 แสนโดสที่คาดว่าจะรับรู้รายได้ส่วนนี้ ตั้งแต่ 1Q22 เป็นต้นไป
  • โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 304 และโรงพยาบาลรวมแพทย์ ฉะเชิงเทราจะทํากำไรได้ สอดคล้องกับจํานวนผู้ป่วยที่ กลับสู่ระดับปกติหลังคลายล็อกดาวน์ จึงน่าจะช่วยหนุนการเติบโตของธุรกิจหลักในปีนี้ได้

Revenue Breakdown

CHG มีแหล่งรายได้หลัก 2 ทางคือ 1) คนไข้ทั่วไป และ 2) คนไข้ประกันสุขภาพที่คุ้มครองโดยรัฐบาล กลุ่มคนไข้ทั่วไปแบ่งออกเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD) ปัจจุบัน CHG มีกำลังรองรับกลุ่ม OPD มากกว่า 6,000 เคส/วัน และคิดเป็น 31% ของรายได้ทั้งหมด

ส่วนกลุ่ม IPD คือบริการทางการแพทย์สำหรับคนไข้ที่ต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งคิดเป็น 28% ของรายได้ทั้งหมด ปัจจุบันมีกำลังรองรับ 749 เตียง ด้วยห้องประเภทต่าง ๆ เช่น VIP ดีลักซ์ ห้องเตียง เดี่ยว ห้องเตียงคู่ ห้องเตียงพิเศษ ห้อง ICU ห้อง CCU และห้องทารกภาวะวิกฤต (NICU)

ทั้งยังให้บริการทางการแพทย์กับคนไข้ที่ลงทะเบียนในโครงการประกันสุขภาพของรัฐบาล เช่น ประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งคิดเป็น 33% และ 8% ของรายได้ทั้งหมด ตามลำดับ

- Advertisement -